Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
PBL กลุ่มที่ 2 Sec.B - Coggle Diagram
PBL กลุ่มที่ 2 Sec.B
นวัตกรรมสุขภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
การใช้นวัตกรรมสุขภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ปัญหาสุขภาพ
สมมติฐาน : การนำนวัตกรรมสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสามารถแก้ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษานวัตกรรมสุขภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
นวัตกรรม
ความหมาย นวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์แนวคิดหรือกระบวนการที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา
ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมแต่ละขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 2 การค้นหาปัญหา (Problem solving)
2.1 ลดความหลากหลายของความคิดผ่านการตรวจสอบและการประเมินความเป็นไปได้เพื่อให้ได้แนวคิดเพียงจำนวนเล็กน้อย ที่จะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไ
2.2 นําเสนอและทดสอบแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับองค์ก
ขั้นตอนที่3 การนำไปปฏิบัติ (Implementation)
3.1 การนำแนวทางไปปฏิบัติอันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวกและเพิ่มมูลค่าในองค์กร
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างโอกาสและความคิด (Idea generation
1.2 ตรวจสอบความเข้าใจที่ถูกต้องของสมาชิกทีมในปัญหาหรือโอกาสที่ได้จากการค้นหา
1.1 สํารวจปัญหาหรือโอกาส ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
1.3 สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกทีมให้เกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ 4 การควบคุม (Capture)
4.1 ควบคุมผลประโยชน์จากกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม
องค์ประกอบของนวัตกรรม
นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้
มีประโยชน์สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสร้างมูลค่าเพิ่ม
ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนาไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบหรือการทำซ้ำ
ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน เคยทำมาแล้วในอดีตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
นวัตกรรมสุขภาพ
ความหมาย
นวัตกรรมและนวัตกรรมทางด้านสุขภาพจะเห็นได้ว่านวัตกรรมทางด้านสุขภาพเป็นกระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่สามารถพัฒนาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นที่พึงพอใจตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการหรือองค์กรได้ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ใหม่ดังกล่าวอาจได้รับการนำไปใช้แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาจนเกิดผลลัพธ์ใหม่หรือเป็นการคิดค้นสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพการควบคุมและป้องกันโรคการดูแลรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ
ประเภทของนวัตกรรมทางสุขภาพ
นวัตกรรมกระบวนการ (Process innovation)
นวัตกรรมตำแหน่ง (Position innovation)
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation)
ประเภทของนวัตกรรม
การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง
1ในวัตกรรมในลักษณะเฉียบพลัน (Radical Innovation)
2.นวัตกรรมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation)
การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม
1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
2.นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ
1.นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)
นวัตกรรมทางการบริหาร (Administrative Innovation)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความหมาย
ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์
ภูมิปัญญา หมายถึง องค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม
ประเภท
ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ แนวทางแก้ปัญหาแต่ละ เรื่อง แต่ละประสบการณ์แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะแตกต่างกันไป นำมาใช้แก้ไขปัญหาโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่โดยชาวบ้านคิดเองเป็นความรู้ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆเรื่อง
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา เป็นความสามารถและศักยภาพ ในเชิงการแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถทักษะของคนไทยที่เกิดจากการส่งเสริมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการการเลือกสรร เรียนรู้ปรุงแต่งและถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
ลักษณะ
เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม
แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิตเป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
เป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อและพฤติกรรม
มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา
มีวัฒนธรรมเป็นฐาน ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
มีบูรณาการสูง
มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม
ประยุกต์
ภูมิปัญญาเพื่อการดูแลเมื่อเจ็บป่วย เช่น การนำหลักการนวดการประคบสำหรับการแก้ไขปัญหาการปวดหรือรักษาการอักเสบการส่งเสริมการนำของเล่นพื้นบ้านเพื่อฝึกเดินในเด็กพัฒนาการช้า
ภูมิปัญญาเพื่อการฟื้นฟูสภาพ การฟื้นฟูสภาพในหญิงหลังคลอดเช่นการเลือกรับประทานอาหารที่สร้างเสริมเนื้อเยื่อ การทับหม้อเกลือเพื่อสนับสนุนการฟื้นสภาพ การจัดทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
ภูมิปัญญาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การประยุกต์เพลงพื้นบ้านกับการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนานตามวิถีของชุมชนนั้น ๆ
ภูมิปัญญาเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้เป็นแหล่งยา แหล่งอาหาร แหล่งอากาศของชุมชนโดยการมีประเพณีบวชต้นไม้ การจัดประเพณีที่สนับสนุนการเคารพต่อธรรมชาติที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ เช่น การมีพิธีทำขวัญข้าวมีการจัดทำโครงการมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างสุขภาวะที่ชุมชนชะแล้ จังหวัดสงขลา
ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาจิตวิญญาณเป็นจุดเด่นในภูมิปัญญาไทยที่มีการนำศาสนามาสร้างความสุขสงบได้การฝึกสมาธิจะช่วยให้มีความดันโลหิตคอเลสเตอรอลลดลง
การดูแลสุขภาพที่บ้าน
วิธีการดูแลสุขภาพที่บ้าน
สมมติฐาน : การทราบถึงการดูแลสุขภาพที่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพผู้รับบริการแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพที่บ้านและเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
ความหมายการดูแลสุขภาพที่บ้าน
การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home health care) มีความหมายใกล้เคียงกับการดูแลที่บ้าน (Home care) คือ การบริหารให้มีการจัดบริการผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้านอย่างเหมาะสม
องค์ประกอบของสุขภาพ
1.สุขภาพกาย (physical health) คือ ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรคไม่มีความพิการ
2.สุขภาพจิต (mental health) คือ จิตใจของมนุษย์ แสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์ หรือความคิด
3.สุขภาพทางปัญญา (wisdom health) คือ ความรู้เท่าทัน
4.สุขภาพทางสังคม (social health) คือ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วย
1.กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉิน
2.กลุ่มผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน
3.กลุ่มโรคเรื้อรัง
กลุ่มผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต
1.เพื่อให้การรักษาพยาบาลระยะสุดท้ายของโรค
2.เพื่อประกาศการเสียชีวิต
3.ประคับประคองภาวะโศกเศร้าทั้งร่างกายและจิตใจแก่สมาชิกในครอบครัว
กลุ่มผู้ป่วยหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
1.กลุ่มผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน
2.กลุ่มมารดาหลังคลอด
3.กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัว
ขั้นตอนการดูแลสุขภาพที่บ้าน
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
3.การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Plan)
4.การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention)
5.การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
I = Immobility
N = Nutrition
H = Home Environment
O = Other People
M = Medications
E = Examination
S = Spiritual Health
S = Service
S = Safety
1.การประเมินภาวะสุขภาพ (Health Assessment)
เป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล
ประวัติความเป็นมา โครงสร้าง ลักษณะที่ตั้งบ้านเรือน สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และทัศนคติ สภาวะสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ แหล่งประโยชน์หรือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน
การเยี่ยมบ้าน
การจัดลำดับการเยี่ยมบ้าน
สมมติฐาน : การจัดลำดับการเยี่ยมบ้านจะช่วยให้เห็นปัญหาที่สำคัญเป็นลำดับแรก
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษากระบวนการขั้นตอนในการวางแผนและการจัดลำดับการเยี่ยมบ้านของผู้รับบริการ
2.เพื่อจัดลำดับและการวางแผนเยี่ยมบ้านได้อย่างเหมาะสม
กระบวนการพยาบาลเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน
การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Plan)
หลักในการจัดลำดับครอบครัวที่จะเยี่ยม
ความเร่งด่วน
ความต้องการหรือความจำเป็นที่ต้องการใช้ช่วยเหลือโดยเร็ว มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยได้ ได้แก่ กรณีที่ต้องการปฐมพยาบาล เช่น การได้รับอุบัติเหตุรถชนมีบาดแผลเลือดออกมากต้องห้ามเลือดโดยด่วน เพื่อป้องกันอาการตกเลือด กรณี ของโรคหรืออาการบางอย่างที่ต้องให้การพยาบาลเรงด่วน เช่น เด็กมีไข้สูง ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดเจาะคอ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง ต้องให้การดูแลทั้งผู้ที่อยู่ในวัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และผู้ที่กำลังเจ็บป่วย จึงจำเป็นต้องระวังการนำเชื้อโรคจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
ระยะของการเยี่ยมบ้าน
ระยะระหว่างการเยี่ยมบ้าน
ประเมินสัมพันธภาพของ ผู้ป่วยกับสมาชิกในบ้านและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนการ พยาบาล นำกระบวนการพยาบาลมาใช้เป็นเครื่องมือประเมินและให้การ พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน โดยการระบุปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย กำหนดแผนการพยาบาลให้ทีมสุขภาพ ผู้ป่วยและผู้ดูแลนำไปปฎิบัติ ทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้านโดย
2 more items...
ระยะหลังการเยี่ยมบ้าน
สรุปเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมเป็นองค์รวมมากขึ้น เขียนบันทึกในแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้านหรือใน Nurse’s Note ใน OPD Card เพื่อสื่อสารให้บุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการ วางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อไป
การบันทึกทางการพยาบาล เป็นการบันทึก ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมของพยาบาลและบันทึกทางคลินิก โดยเขียน ข้อมูลและกิจกรรมการพยาบาลให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเยี่ยมบ้านแต่ละครั้ง สรุปกิจกรรมการพยาบาลและการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ให้ในแต่ละครั้งของการ เยี่ยมบ้าน ปัญหาที่ต้องติดตามเยี่ยมในครั้งต่อไป จึงเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิ ภาพการปฎิบัติงานของพยาบาลเยี่ยมบ้าน
ระยะก่อนการเยี่ยมบ้าน
เตรียมข้อมูลสุขภาพชุมชน ข้อมูลเฉพาะตัวผู้ป่วยหรือ ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพโดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วยทั้งจากกรณีที่ส่งต่อ จากโรงพยาบาลและข้อมูลจากชุมชน โดยประเมินจากแบบส่งต่อหรือใน Family Folder ของผู้ป่วย พยาบาลค้นหาข้อมูลสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ พร้อมกับการเตรียมความรู้ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเพื่อนำไปใช้ในการพยาบาลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพ
กำหนดแผนการดูแล โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมเพื่อ เป็นแนวทางการกำหนดกิจกรรมปฏิบัติงาน กำหนดประเภทของการเยี่ยมตาม ระดับความรุนแรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนั้น พยาบาลควรดำเนินการช่วย เหลือผู้ป่วยและครอบครัวตามแผนที่กำหนดไว้
1 more item...
อุปกรณ์/เครื่องใช้สำหรับให้การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
2 more items...
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention)
หลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การ ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง พยาบาลต้องให้การดูแลตาม เป้าหมายที่ได้ร่วมกำหนดไว้ดูแลผู้ป่วยตามหลักของมนุษยชนคำนึงถึงความเชื่อมโยงโดยรวมทั้งหมดของบุคคลในทุกมิติ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
ต้องกำหนดภายใต้ข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ที่มีความชัดเจนว่าเป็น สภาพปัญหา การเขียนข้อวินิจฉัยที่ดีจะต้องช่วยชี้นำการปฏิบัติการพยาบาล และจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนทั้งที่เป็นคำบอกเล่า และจากการสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้รับบริการแสดงออกและส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่สามารถแก้ไข/ช่วยเหลือได้โดยใช้หลักการพยาบาล ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จากการรวบรวมเพื่อระบุปัญหา สุขภาพของผู้ป่วยพร้อมทั้งสาเหตุที่สนับสนุนปัญหา
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
เป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลที่เกิดจากการปฏิบัติ กิจกรรมการพยาบาล ว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และผลของการประเมินจะนำไปสู่การทบทวนข้อมูลที่ใช้วางแผนการพยาบาล (Re - Assessment) เพื่อหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมหรือปรับวิธีการปฏิบัติการพยาบาลให้บรรลุจุดมุ่งหมายอีกครั้ง
การประเมินชุมชน (Community assessment)
การอ่านรายงานชุมชนที่มีอยู่ในฐานข้อมูลปัจจุบัน
การเข้าพูดคุยกับประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะการพูดคุยกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (keysInfor
mans) ที่รู้ความเป็นมาและความเป็นไปของชุมชน
การออกสำรวจชุมชน (walk- through and windshield survey)
การสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการสำรวจชุมชนหรือระหว่างการเข้า
ไปดูแลชุมชน
การทำแผนที่ในรูปแบบของแผนที่กายภาพหรือแผนที่เดินดิน ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการ
ประเมินชุมชนทำให้พยาบาลได้เรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน (nature of the community) และกลุ่มเป้าหมายต่างๆ (target populations) ที่อาศัยอยู่ในชุมชน แบบแผนการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชน การมีส่วนร่วมของกลุ่มต่างๆในชุมชน วัฒนธรรมและประเพณีตลอดจนความเชื่อต่างๆ
จากหลักในการจัดลำดับการเยี่ยมบ้านนำมาจัดลำดับการเยี่ยมบ้านในกรณีศึกษา
ครอบครัวที่1 มารดาหลัง
คลอด 7 วัน คลอดปกติ ปากแห้ง คัดตึงเต้านม มีน้ำนมไหลน้อย น้ำคาวปลาสีแดง ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ปวดท้องน้อย สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 37.2 องศาเซลเซียส ชีพจร 94ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 120/80 mmHg ทารกเพศหญิง น้ำหนัก 3,080 กรัม ร้องกวนบ่อย ดูดนมตามปกติ ตัวไม่เหลือง สะดือแห้งแต่ยังไม่หลุด สัญญาณชีพ ดังนี้ อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ชีพจร 142 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 54 ครั้ง/นาที
ปัญหาที่พบ ปากแห้ง คัดตึงเต้านมมีน้ำนมไหลน้อย น้ำคาวปลาสีแดง
เหตุผลที่เลือกเยี่ยมครอบครัวที่1ก่อน เพราะ
มีมารดาหลังคลอด 7 วัน ปากแห้ง คัดตึงเต้านมมีน้ำนมไหลน้อย และมีน้ำคาวปลาสีแดง คุณแม่อาจจะยังขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการบำรุงน้ำนม และครอบครัวนี้ยังมีทารกเพศหญิงที่พึ่งคลอดได้เพียงแค่ 7 วัน ภูมิคุ้มกันร่างกายยังไม่ค่อยดี ร่างกายยังบอบบาง ต้องการความปลอดภัย จึงเลือกเยี่ยมครอบครัวนี้เป็นครอบครัวแรก
ครอบครัวที่3 หญิงไทยอายุ 14 ปี เป็นดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) พัฒนาการเท่ากับเด็กอายุ 5 ปี สื่อสารพอเข้าใจ รับประทานอาหารเองได้ อาบน้ำแต่งตัวไม่ได้ มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองเมื่อถูกขัดใจ สัญญาณชีพ ดังนี้ อุณหภูมิ 37.2 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 90 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที ค่าความดันโลหิต 110/70 mmHg
ปัญหาที่พบ อายุ 14 ปี แต่มีพัฒนาเท่ากับเด็กอายุ 5 ปี อาบน้ำแต่งตัวไม่ได้ มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองเมื่อถูกขัดใจ
เหตุผลที่เยี่ยมเป็นครอบครัวที่2เพราะ ผู้ป่วยเป็นดาวน์ซิน
โดรม(Down Syndrome) เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่เป็นโรคติดต่อ
ครอบครัวที่2 ชายไทยอายุ 80 ปี มีโรคประจำตัว DM และ HT รับการรักษาไม่ต่อเนื่องผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตไม่ได้ มีไข้ทุกคืน ไอมีเสมหะเรื้อรัง เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย สัญญาณชีพ ดังนี้ อุณหภูมิ 37.4 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที ค่าความดันโลหิต 160/90 mmHg.ค่าน้ำตาลในเลือดจากผล DTX หลังอาหาร 2 ชั่วโมง 230 mg/dl
ปัญหาที่พบ มีโรคประจำตัว DM และ HT รับการรักษาไม่ต่อเนื่องผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตไม่ได้ มีไข้ทุกคืน ไอมีเสมหะเรื้อรัง เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย ค่าความดันโลหิต 160/90 mmHg.ค่าน้ำตาลในเลือดจากผล DTX หลังอาหาร 2 ชั่วโมง 230 mg/dl
เหตุผลที่เยี่ยมครอบครัวนี้เป็นลำดับสุดท้ายเพราะ ผู้ป่วยมีไข้ทุกคืน มีอาการไอมีเสมหะเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เป็นโรคติดต่อได้ ถ้าจัดลำดับไว้อันดับแรกอาจจะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากตัวผู้ป่วยมาสู่นักศึกษาได้ และจะทำให้นักศึกษานำเชื้อไปแพร่กระจายให้กับครอบครัวต่อๆไป
บันทึกรายการเยี่ยมบ้าน
วิธีการบันทึกรายงานการเยี่ยมบ้าน
สมมุติฐาน : การบันทึกรายงานการเยี่ยมบ้านที่ถูกต้อง จะช่วยให้มองเห็นปัญหาสุขภาพและวางแผนการเยี่ยมบ้านครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการบันทึกผลรายงานการบ้าน ในการนำไปใช้ดูแลและตรวจเยี่ยมครั้งถัดไป
รูปแบบที่ใช้ในการบันทึก SOAP
S : Subjective
ประวัติที่ผู้ป่วยเล่า ได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วยสำคัญปัจจุบัน
และอดีต ประวัติครอบครัว รวมถึงการทบทวนตามระบบ
O : Objective
สิ่งที่ตรวจพบ ได้แก่ ผลการตรวจร่างกายและ
ผลทางห้องปฏิบัติการจากการเยี่ยมบ้าน
A : Assessment การประเมินปัญหา ได้แก่ การวินิจฉัย ซึ่งอาจได้การวินิจฉัยเดิมหรือพบวินิจฉัยใหม่ ควรวินิจฉัยเป็นปัญหาสุขภาพแทนชื่อโรค เช่น ปวดท้อง (Abdominal pain) กรณีไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่ชัด และควรระบุสภาวะของปัญหาว่า Active หรือ Inactive ถ้าเป็นปัญหาที่ Active คือ ปัญหาที่ยังมีอาการ การตรวจร่างกายพบความผิดปกติ หรือผลทางห้องปฏิบัติการยังคงผิดปกติอยู่ ส่วนปัญหาที่ Inactive คือปัญหานั้นไม่มีอาการ ตรวจร่างกายปกติ รวมถึงผลทางห้องปฏิบัติการที่ปกติ
P : Plan การวางแผนดูแล ได้แก่ การวางแผนการวินิจฉัยโรค คือ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการใช้เครื่องมือหรือแบบประเมิน การวางแผนการรักษา โดยดูจากสภาวะของปัญหา ถ้าปัญหา Active ต้องให้การแก้ไขด่วน ส่วนปัญหาที่ Inactive อาจใช้การสังเกตต่อเนื่องและวางแผนให้ความรู้และคำแนะนำที่เหมาะสม การบันทึกข้อมูลจะทำให้ทีมเยี่ยมบ้านทราบถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นและการวางแผนการเยี่ยมครั้งต่อไป รวมถึงสามารถส่งต่อข้อมูลที่สำคัญจากการเยี่ยมบ้านให้บุคลากรทางการแพทย์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทราบข้อมูลที่ผ่านมา
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
ส่วนที่ 2 การบันทึกระยะเยี่ยม
ส่วนที่ 3 การบันทึกระยะหลังเยี่ยม
Link Title
ส่วนที่ 1 การบันทึกระยะก่อนเยี่ยม
ข้อดีของการบ้านทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้าน
ทำให้สามารถวางแผนการเยี่ยมครั้งต่อไปรวมถึงสามารถให้บุคลากรอื่นที่จะร่วมเยี่ยมทราบข้อมูลที่ผ่านมา
สามารถทราบถึงความต้องการหรือปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกครอบครัวพร้อมทั้งประเมินภาวะสุขภาพความทุกข์ยากภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดจนสามารถว่างนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการพยาบาลหรือการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.สามารถติดตามภาวะสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวที่เจ็บป่วยและติดตามผลการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือสร้างเสริมศักยภาพให้สมาชิกที่ป่วยและครอบครัวสามารถพึ่งตนเองในดูแลสุขภาพที่บ้านได้
ตัวอย่างการบันทึกรายงานการเยี่ยมบ้าน
7.การประเมินผู้ป่วย
บริการที่ได้รับ
(Service)
ความเชื่อ ทัศนคติ
(Spiritual)
ความปลอดภัย
(Safety)
ความคิดต่อการเจ็บป่วย
(Idea)
ยา/การรักษาที่ได้รับ
(Medication)
ความรู้สึกของผู้ป่วย/ครอบครัว
(Feeling)
สัมพันธภาพกับครอบครัว
(Other people)
ความสามารถในอาชีพ/การเรียน
(Function)
สภาพแวดล้อมในบ้าน/รอบบ้าน
(Home environment)
ความคาดหวัง
(Expectations)
ภาวะโภชนาการ (Nutrition)
ความใส่ใจในปัญหา
(Concern)
ความสามารถในการดูแลตนเอง
(Immobility/Impairment)
ศักยภาพผู้ป่วยและครอบครัว
(Potention)
8.การตรวจร่างกาย/ตามระบบ
6.ผังเคลือญาติ
9.สรุปปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว
5.ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
10.วางแผนและการดูแล (Plan management)
ประวัติการเจ็บป่วย
11.การให้คำปรึกษาครอบครัว
3.อาการสำคัญ(Chief complaiont)/สภาพปัญหาที่ต้องเยี่ยม
12.สรุปผลการติดตามผู้ป่วยที่บ้าน
2.ประวัติส่วนตัวและอุปนิสัย
(Personal history and usual habits)
13.สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ข้อมูลทั่วไป
ความหมาย
การเยี่ยมบ้าน (Home Visit) วิธีการที่ใช้ดูแลสุขภาพที่บ้านควรจะมีรูปแบบและวิธีการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและรักษาสุขภาพของสมาชิกที่ป่วยและครอบครัวที่บ้านของผู้รับบริการ
การบันทึกข้อมูล หลังการตรวจเยี่ยม เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลที่เกิดขึ้น และการวางแผนการเยี่ยมครั้งถัดไปรวมถึงบุคลากรอื่นที่ตรวจเยี่ยมทราบข้อมูลที่ผ่านมา
กระเป๋าเยี่ยมบ้าน
วิธีใช้กระเป๋าเยี่ยม
สมมติฐาน : การใช้กระเป๋าเยี่ยมที่ถูกต้องจะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้รับบริการทางสุขภาพได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเทคนิคและวิธีการใช้กระเป๋าเยี่ยมที่ถูกต้อง
ขั้นตอนการใช้กระเป๋าเยี่ยม
จัดเตรียมพื้นที่สำหรับที่จะวางกระเป๋า เราจะไม่วางกระเป๋าลงกับพื้น แต่จะวางลงบนผ้าหรือหนังสือพิมพ์
เมื่อวางกระเป๋าเสร็จแล้วเรียบร้อย ล้างมือให้สะอาดก่อนเปิดกระเป๋าเยี่ยม เตรียมถุงขยะให้เรียบร้อย
การหยิบของใช้ให้หยิบของด้านนอกก่อนเพราะเป็นของที่สะอาดแต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อและห้ามหยิบของด้านใน
โดยเด็ดขาดเนื่องจากของด้านในได้ทำการฆ่าเชื้อแล้ว
หากต้องการหยิบของด้านใน ให้หยิบด้วยความระมัดระวัง และใช้หลักการ Aseptic techque
เมื่อใช้ของเสร็จแล้วเก็บของใช้ที่ฆ่าเชื้อเข้าในถุงผ้าด้านในก่อน จากนั้นค่อยเก็บเครื่องใช้ด้านนอก
อุปกรณ์
ใบสั่งยา
เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย
เครื่องวัดความดันเลือด
หู ฟัง
ชุดเครื่องมือตรวจหูและตา ปรอทวัดไข้ ไม้กดลิ้น
ชุดทำแผล
เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา
แผ่นพับสุขศึกษา
ถุงใส่ขยะ
ถุงมือ
แอลกอฮอล์
สำลี
เทคนิคการใช้กระเป๋าเยี่ยม
หาที่วางให้เหมาะสม
ใช้มือหนึ่งอุ้มกระเป๋าไว้ อีกมือหนึ่งเปิดกระเป้า
ถอดนาฬิกาข้อมือออก
เทน้ำสบู่ใส่อังมือและออกไปล้างมือให้สะอาด
เช็ดมือ ใส่ผ้ากันเปื้อน
เปิดกระเป้าหยิบของใช้ที่ต้องทำการพยาบาล
เครื่องใช้ล้างทำความสะอาดและล้างมือให้สะอาด
เช็ดของใช่ให้แห้งแล้วเก็บเข้ากระเป๋า
เก็บผ้าเช็ดมือที่ใช้แล้วใส่ในถุงพลาสติก
ถอดผ้ากันเปื้อนออกโดยพับด้านสกปรกไว้ด้านใน
ยกกระเป๋าไว้บนตักเก็บสั่งปูรอง
ปิดกระเป๋าให้เรียบร้อย
ถุงกระดาษใส่ของสกปรก ให้ญาตินำไปทำลาย ถ้าเป็นพยาบาลผู้ ป่วยโรคติดต่อต้องทำลายให้ ถูกวิธี
หลังใช้กระเป๋าเยี่ยม
ทำความสะอาดเครื่องใช้ในกระเป๋าเยี่ยม
เติมน้ำยาตรวจสอบเครื่องมือให้พร้อมสำหรับการเยี่ยมครั้งต่อไป