Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปรับตัวและบทบาทของมารดา - Coggle Diagram
การปรับตัวและบทบาทของมารดา
ระยะตั้งครรภ์ :
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมในไตรมาสที่ 1 (First trimester)
ความรู้สึกไม่แน่ใจ (Uncertainty)
ระยะคลอด
การปรับตัวด้านจิตสังคมของมารดาในระยะคลอด
การปรับตัวด้านจิตสังคมในระยะที่ 1 ของการคลอด
ระยะ Latent (ปากมดลูกเปิด 1-3 ซม.)
มารดาจะรู้สึกกังวลไม่มาก เนื่องจากมดลูกยังหดตัวไม่ถี่ มีการซักถาม ยิ้มแย้ม เป็นช่วงเวลาที่พยาบาลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคลอด วิธีบรรเทาความปวด โดยการนวดหรือลูบหน้าท้อง
ระยะ Active (ปากมดลูกเปิด 4-6 ซม.)
มารดารู้สึกเจ็บครรภ์มากขึ้น ถี่ขึ้น แรงขึ้น อ่อนเพลีย การทำกิจกรรมลดลง ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมลดลง พูดน้อยลง พึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น
ระยะ Active (ปากมดลูกเปิด 7-10 ซม.)
มารดารู้สึกปวดมากที่สุดจนทนไม่ไหว รู้สึกทรมาน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสามารในการตัดสินใจลดลง มีพฤติกรรมก้าวร้าว เอะอะโวยวาย ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา พยาบาลให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของการคลอดเป็นระยะ และเสริมแรงบวกให้มารดา เช่นการช่วยเบ่ง
การปรับตัวด้านจิตสังคมในระยะที่ 2 ของการคลอด
มารดาจะรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากรับรู้ว่าทารกกำลังจะคลอด ความไม่สุขสบายกำลังจะหายไป ระยะนี้มดลูกจะหดรัดตัวถี่และแรงขึ้นมาก ทารกเคลื่อนต่ำลง ผู้คลอดจะรู้สึกเหมือนมีอะไรมากดบริเวณฝีเย็บ และเจ็บฝีเย็บเหมือนจะขาด มารดาจะร้องส่งเสียงดัง โกรธ ก้าวร้าว ไม่สนใจ สิ่งแวดล้อม สนใจตนเองมากกว่าทารกในครรภ์ รู้สึกร้อน
การปรับตัวด้านจิตสังคมในระยะที่ 3 ของการคลอด
มารดาจะรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากความเครียดลดลง ถ้าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นระยะที่มารดา รู้สึกผ่อนคลาย สนใจและคุยกับผู้อื่นมากขึ้น ตื่นตัวและมีความรับผิดชอบมากขึ้น พยาบาลจึงควรแจ้งเวลาคลอดและเพศให้มารดาทราบ ให้ให้มารดากับทารกได้สัมผัสกัน โดยเฉพาะในช่วง sensitive period 30-60 นาทีแรกหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
การปรับตัวด้านจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
ความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อทารก ซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังคลอด ความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก (attachment) จะมีความรู้สึกพิเศษที่ ค่อยๆ พัฒนาโดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด โดยอารมณ์รักจะมากขึ้นเมื่อมารดาและ ทารกตอบสนองซึ่งกันและกัน ความรักใคร่ความผูกพัน ของมารดาต่อทารกในระยะหลังคลอด คือช่วง 30- 60 นาทีหลังคลอด เป็นช่วงเวลาที่ทารกไวต่อความรู้สึก ของการเกิดความรักใคร่ผูกพัน (sensitive period)
การปรับบทบาทต่อการเป็นมารดาหลังคลอด รูบิน (Rubin)
Taking in phase
เป็นระยะ 1-2 วัน แรกหลังคลอด ร่างกายมีความอ่อน ล้า ไม่สุขสบายจากการปวดมดลูก เจ็บปวดแผลฝีเย็บและคัดตึงเต้านม
Taking-hold phase
ระยะเข้าสวมบทบาทการเป็นมารดาหรือระยะกึ่งพึ่งพา ระยะนี้เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ 3-10 วันหลังคลอด มารดาจะรู้สึกสบาย แข็งแรงขึ้น จึงเริ่มสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทารก สนใจบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวเพิ่มขึ้น
Letting-go phase