Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้, ประเภทของกล้องโทรทรรศน์,…
เทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้
'
2)กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นวิทยุและไมโครเวฟที่มีความยาวคลื่นประมาณ 1 เซนติเมตรจนถึงประมาณ 20 เมตรกล้องโทรทรรศน์วิทยุสามารถตรวจจับวัตถุในอวกาศเช่น ซูเปอร์โนวา หลุมดำ และกาแล็กซี นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศเช่น กล้องโทรทรรศนวิทยุฟาสต์
3)กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด สามารถรับสัญญาณที่มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 1 ไมโครเมตรถึง 1 มิลลิเมตรการตรวจจับคลื่นอินฟราเรดจากวัตถุท้องฟ้าสามารถตรวจับได้ทั้งบนพื้นโลกและในอวกาศโดยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกจะตรวจจับคลื่นอินฟราเรดได้ จำกัด เพราะคลื่นอินฟราเรดบางส่วนสามารถดูดกลืนโดยชั้นบรรยากาศจึงต้องมีการติดตั้งกล้องไว้บนภูเขาสูง
1)กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นแสง เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สำหรับตรวจจับและรวบรวมปริมาณของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของช่วงคลื่นแสง ที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400-700 นาโนเมตร ซึ่งในช่วงคลื่นแสงนี้ตาของมนุษย์สามารถสังเกตเห็นเป็นแสงสีต่าง ๆ ได้สามารถใช้ในการถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ โดยกล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นแสงแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ ตามหลักการรวมแสงคือกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง และกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง
4)กล้องโทรทรรศน์อัลตราไวโอเลต ใช้รับสัญญาณที่มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 10 ถึง 320 นาโนเมตร เนื่องจากคลื่นอัลตราไวโอเลตจะถูกดูดกลืนโดยชั้นบรรยากาศจึงต้องมีการส่งกล้องโทรทรรศน์ไปในอวกาศเพื่อตรวจจับคลื่นดังกล่าวโดยสามารถตรวจจับวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงจึงใช้ในการศึกษาสสารระหว่าง ดาวกาแล็กซีและองค์ประกอบของเนบิวลาดาวเคราะห์เช่นกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
5)กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้สามารถตรวจจับวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ใกลมากในช่วงความยาวคลื่นรังสีเอกซ์ซึ่งสามารถรับสัญญาณในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 10 ถึง 0.1 นาโนเมตรมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาดาวนิวตรอนเศษซากของของดาวฤกษ์ที่หลงเหลือจากซูเปอร์โนวาและหลุมดำในใจกลางกาแล็กซีเช่นกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา
'
ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรนี้จะอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 35,780 กิโลเมตรจะใช้ความเร็วในการโคจรรอบโลกเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลกจึงทำให้ดาวเทียมเสมือนลอยอยู่นิ่งกับที่เมื่อเทียบกับพื้นโลกเราจึงเรียกดาวเทียมนี้ว่าดาวเทียมค้างฟ้าและเรียกวงโคจรนี้ว่าวงโคจรค้างฟ้าโดยระนาบของการโคจรของดาวเทียมจะอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรโลกโดยส่วนมากจะเป็นดาวเทียมประเภทดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมวงโคจรระดับกลาง ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรนี้จะมีวงโคจรที่ระดับความสูงจากพื้นโลกมากกว่า 2,000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 35,780 กิโลเมตรใช้ในด้านการบอกตำแหน่งบนโลกเช่นดาวเทียมระบบจีพีเอส ของประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ในระบบนำร่องทั้งเครื่องบินเรือเดินสมุทรรถยนต์และขีปนาวุธโดยดาวเทียมแต่ละดวงจะมีการโคจรรอบโลกในทิศทางต่าง ๆ เป็น 6 ระนาบระนาบละ 4 ดวง ซึ่งทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียมทั้งหมด 24 ดวงโดยสัญญาณที่ได้จากดาวเทียมแต่ละดวงจะถูกนำมาคำนวณเพื่อให้ทราบตำแหน่งครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก
ดาวเทียมที่อยู่วงโคจรใกล้โลก ดาวเทียมในวงโคจรนี้จะอยู่สูงจากผิวโลกระหว่าง 160-2,000 กิโลเมตรใช้ในการสำรวจสภาพแวดล้อมของโลกถ่ายภาพผิวโลกและเมฆดาวเทียมชนิดนี้นิยมโคจรผ่านขั้วโลกในแนวเหนือใต้เพื่อให้เก็บข้อมูลได้ครอบคลุมพื้นที่บนโลกมากขึ้นเช่นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
.
สถานีอวกาศดาวเทียมสถานีอวกาศ เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่โครจรอบโลกสถานีอวกาศที่ใหญ่ที่สุดคือสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่โคจรรอบโลกที่ความสูงประมาณ 400 กิโลเมตรมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการวิจัยทดลองและประดิษฐ์คิดค้นในสภาพไร้น้ำหนัก
ยานอวกาศ เป็นยานพาหนะที่ถูกส่งออกไปในอวกาศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำรวจอวกาศและวัตถุท้องฟ้า ต่าง ๆ อยู่ไกลออกไปอาจมีหรือไม่มีมนุษย์เดินทางไปด้วยก็ได้ยานอวกาศที่สำคัญเช่นยานอวกาศอะพอลโล เป็นยานที่นำมนุษย์ลงไปสำรวจดวงจันทร์
ประเภทของกล้องโทรทรรศน์
ยานอวกาศและสถานีอวกาศ
ประเภทของดาวเทียม