Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช - Coggle Diagram
ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช
อากาศ
ซึ่งใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารและหายใจแก๊สทั้งสองชนิดนี้มีอยู่ในดินด้วย
ในการปลูกพืชเราจึงควรทำให้ดินโปร่งร่วนซุยอยู่เสมอ เพื่อให้อาหารที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินมีถ่ายเทได้
ในอากาศมีแก๊สหลายชนิด แต่แก๊สที่พืชต้องการมากคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน
ธาตุ
ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซียม (K) มักเรียกธาตุอาหารหลักหรือปุ๋ย เพราะพืชต้องการใช้มาก และดินมักจะขาดธาตุเหล่านี้ จึงมักใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชในไร่นาทั่วไป
แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) เรียกว่าธาตุรอง เพราะพืชต้องการใช้มากรองจาก N, P, K
คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นส่วนประกอบประมาณ 94-99.5% ของน้ำหนักสดของพืช และพืชได้รับจากอากาศและน้ำ
เหล็ก (Fe) แมงการนีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองดอง (Cu) โบรอน (B) โมลิบดีนัม (Mo) คลอรีน (Cl) พืชต้องการในปริมาณน้อยมากแต่ก็ขาดไม่ได้
แสงแดด
ช่วงแสง (Light duration) ความยาวของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน เช่นเบญจมาศจะพัฒนาตาดอกต่อเมื่อได้รับช่วงแสงไม่เกิน 13 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน หรือถ้าปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในฤดูร้อน ข้าวจะไม่ออกดอกและติดรวง พืชมีค่าความยาวแสงวิกฤต (Critical day length) ตัวอย่างที่ยกไปแล้วเช่นเบญจมาศมีค่าความยาวแสงวิกฤติที่ 13.5 ชั่วโมง หากเบญจมาศได้รับแสงน้อยกว่านี้จะออกดอก
คุณภาพแสง แสงที่มาจากแหล่งกำเนิดต่างกันย่อมทำให้มีคุณภาพต่างกัน โดยมากแล้วพืชมักต้องการแสงสีน้ำเงินและแดงเป็นหลัก แต่สัดส่วนของแสงสีน้ำเงินต่อแดงที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับชนิดพืชเป็นหลัก ตัวอย่างง่ายๆ เช่นการปลูกพืชโดยใช้ตาข่ายพรางแสงสีดำและสีฟ้าก็จะมีอัตราการเจริญเติบโต ต่างกัน
ความเข้มแสง (Light intensity) มีปัจจัยโดยตรงต่อการสังเคราะห์แสงของพืช เช่นในช่วงที่ฟ้าหลัวหรือในฤดูฝนที่มีกลุ่มเมฆหรือไอน้ำในอากาศมาบดบังแสง จากดวงอาทิตย์ พืชอาจแสดงอาการเครียด ชะงักการเจริญเติบโต
น้ำ
มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชมาก น้ำช่วยละลายแร่ธาตุอาหารในดิน
เพื่อให้รากดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้นได้ และยังช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น
พืชสดชื่นและการทำงานของกระบวนการต่างๆ ในพืชเป็นไปอย่างปกติ
ดิน
ความชื้นของดิน
ความชื้นที่ไม่เป็นประโยชน์ (unavailable moisture) หมายถึงความชื้นส่วนที่ดินดูดยึดไว้ด้วยพลังงานที่มากกว่าที่จะให้พืชดูดไปใช้ในอัตราที่ทัดเทียมกับอัตราการระเหยน้ำของพืชได้
ความชื้นเกินจำเป็น (superfluous moisture) หมายถึงความชื้นส่วนที่เกินอำนาจดูดยึดตามปกติของดิน
ความชื้นที่เป็นประโยชน์ (available moisture) หมายถึงความชื้นส่วนที่อยู่ภายใต้อำนาจดูดยึดของดิน ที่พืชดูดไปจากดิน ในอัตราส่วนที่ทัดเทียมกับอัตราการระเหยน้ำของพืช
แรงดูดยึดความชื้นของดิน
การดูดซับ (adsorption) การดูดซับโมเลกุลของน้ำบนผิวอนุภาคดินโดยเฉพาะผิวของอนุภาค ที่มีประจุเกิดจากสมบัติมีขั้วของโมเลกุลของน้ำ การดูดซับนี้มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ดินมีระดับความชื้นค่อนข้างต่ำ และอาจเกิดขึ้นได้ในอีกกรณี คือเมื่ออนุภาคดินมีไอออนบวกถูกดูดซับอยู่
การดูดผ่านช่องเล็กๆ (osmotic suction) น้ำในดินมีสารละลายอยู่หลายชนิด ละลายหรือแขวนลอยอยู่ไอออนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอออนบวกจะถูกดูดซับอยู่ที่ผิวนอกของดินเหนียวที่มีประจุเป็นลบ และทำให้ความเข้มข้นของไอออนในชั้นของไอออนบวกที่ถูกดูดซับสูง
ชนิดของดินที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช
2.ดินอุดม เป็นดินที่อุ้มน้ำไว้ได้ดีพอสมควร พอเหมาะที่จะทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามดี
3.ดินร่วน เป็นดินที่มีลักษณะซุยมีสีต่างๆ กัน บางชนิดมีสีค่อนข้างดำมีน้ำหนักเบาเนื่องจากมีอินทรีย
วัตถุผสมอยู่มาก มีอาหารบริบูรณ์
1.ฮิวมัส คือ ซากพืชซากสัตว์ที่ตายและเน่าเปื่อยแล้ว
4 ดินเหนียว เป็นดินที่มีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดมาก เวลาแห้งจะจับกันเป็ฯก้อนแข็งแตกระแหง
เวลาถูกน้ำจะเป็นโคลนตม ทำให้สมบัติของดินเปลี่ยนไป เวลานตกน้ำซึมลงช้า
5ดินทราย เป็นดินที่มีทรายอยู่เป็นส่วนใหญ่ ดินชนิดนี้มีเนื้อหยาบร่วน ไม่จับกันเป็นก้อน น้ำซึมผ่านไปได้ง่าย