Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่าย - Coggle Diagram
ติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่าย
Ubuntu คืออะไร
สำหรับผู้ที่ไม่รู้จัก Linux Ubuntu ว่าคืออะไรนั้น จริงๆมันคือระบบปฎิบัติการ Linux ชนิดหนึงซึ่ง ลีนุกซ์ (Linux) ก็เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ Dos , Window หรือ Unix โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) และเป็นที่นิยมเอามาทำเป็น server เพื่อทำเป็น webserver หรือ LAMP
Ubuntu Type
ในส่วนนี้มีด้วยกัน 2 แบบคือ desktop และ server ซึ่งโดยหลักการแล้วทั้ง 2 แบบทำงานได้ไม่ต่างกัน แต่ถ้าคุณใช้งานบน PC หรือ notebook ก็ควรเลือกแบบ desktop เพราะเราจะสามารถ console ด้วยหน้า GUI ได้ สำหรับผู้ที่ต้องการ install เพื่อใช้งานเป็น server ที่เปิดใช้งานตลอดเวลา และ console ด้วยผ่าน remote ssh ไม่ต้องอาศัย GUI ก็เลือกแบบ Server ครับ
CPU-Bit
เช่นเดียวกันคือมีด้วยกัน 2 version คือ 32bit และ 64bit ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องที่เรา install ด้วยว่า support 64bit หรือไม่ (ถ้าเป็น Intel คือ Core 2 duo ขึ้นไป) เราแนะนำให้ใช้ 64bit ถ้าเครื่องรองรับครับ
การติดตั้ง
Step 1: ดาวน์โหลดไฟล์ iso เพื่อใช้ในการติดตั้ง เข้าไปที่เว็บไซต์
https://ubuntu.com/
คลิกที่ Download เลือก Ubuntu server
Step 2: ไรท์อิมเมจลงแผ่น DVD หรือ USB เพื่อใช้ติดตั้ง
Step 3: ใส่แผ่น DVD หรือ USB และรีบูทเครื่องเพื่อเริ่มการติดตั้ง
Step 4: เลือกภาษาของคีย์บอร์ดที่ต้องการติดตั้ง
Step 5: ตั้งค่าระบบเครือข่าย กำหนดค่าคอนฟิก IP Address ได้ทั้ง Manual หรือจะใช้งานแบบ DHCP
Step 6: ตั้งค่าพร็อกซี่ ถ้าต้องการใช้งาน Proxy เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์ สามารถกรอกได้ที่ Proxy address แล้วเลือก Done
Step 7: ตั้งค่า Mirror Server (แหล่งอัพเดทซอฟต์แวร์)
Step 8: เลือก Hard disk ที่ต้องการติดตั้ง ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกใช้งาน Hard disk ของระบบ จะมีให้เลือก
Use an entire disk ใช้ Disk ทั้งหมด และสามารถเลือก Set up this disk as an LVM group ใช้ LVM (Logical Volume Manager) เพื่อแบ่งพาร์ติชันดิสก์
Custom storage layout สามารถแบ่ง พาร์ติชันดิสก์ ได้เองตามต้องการ
คลิก Space bar เพื่อเลือกโหมดที่ต้องการ หลังจากนั้นเลือกไปที่ Done
หน้านี้จะแสดงพาร์ติชันดิสก์ ที่จะทำเราได้ทำการเลือก เช็คข้อมูลเรียบร้อยให้คลิก Done
Step 9: ตั้งค่าผู้ใช้งาน
Your name: ชื่อผู้ใช้แสดงในระบบ
Your Server’s name: ชื่อของ Server
Pick a username: username ที่ใช้ login เข้าระบบ
Choose a password: password ที่ใช้ login เข้าระบบ
Confirm your password: ใส่ password อีกครั้งเพื่อ confirm หลังจากนั้นเลือก Done
Step 10: ตัวเลือกการติดตั้ง Open SSH Server
สามารถเลือกติดตั้ง SSH ได้หรือจะติดตั้งที่หลังก็ได้ Open ssh server เป็นเซอร์วิสที่ทำให้เราสามารถรีโมทเข้ามาจัดการกับ Ubuntu Server ของเราได้ผ่านทางโปรโตคอล secure shell
Step 11: ตัวเลือกติดตั้ง Featured Server Snaps ของ Ubuntu
สามารถเลือกแพ็คเกจที่เราต้องการติดตั้งได้จากหน้านี้าเลยหรือจะทำการติดตั้งในภายหลังก็ได้ รอติดตั้งจนเสร็จแล้วทำการ Reboot เป็นอันเสร็จเรียบร้อย