Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พ 5/1 ม.3/5 แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี - Coggle Diagram
พ 5/1 ม.3/5
แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ
การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary Resuscitayion) คือ การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนเลือดกลับคืนสู่สภาพเดิม อีกทั้งยังเป็นการป้องกันเนื้อเยื่อที่ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร
การฟื้นปอด (Pulmonary Resuscitation) เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยทางด้านระบบการหายใจ ให้ผู้ป่วยหายใจได้ตามปกติภายหลังที่หยุดหายใจไปแล้ว เพื่อกำจัดภาวะการขาดออกซิเจนของอวัยวะต่างๆ
การฟื้นหัวใจ (Cardiac Resuscitation) เป็นการช่วยผู้ป่วยที่่หัวใจหยุดเต้น ให้หัวใจของผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ตามปกติภายหลังที่หยุดหายใจไปแล้ว
หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ
1.การกดหน้าอก (Chest compression : C) เป็นการกดเพื่อนวดหัวใจให้มีการไหลเวียนเลือดในรายที่ภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยมีหลักการคือต้องกดให้กระดูกหน้าอกลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง
2.การเปิดทางเดินหายใจ (Airway : A) เป็นการช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะเนื่องจากผู้ป่วยที่หมดสติโคนลิ้นและกล่องเสียงจะมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบน
3.การช่วยหายใจ (Breathing : B) เป็นการช่วยเนื่องจากหยุดหายใจ เพราะถึงแม้ว่าร่างกายร่างกายจะมีออกซิเจนอยู่ภายในปอดและกระแสเลือดก็ตาม แต่ก็ไม่มีสำรองไว้ใช้ เมื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีทางเดินหายใจโล่งแล้ว ให้ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหายใจเองได้หรือไม่ ซึ่งหากยังหยุดหายใจ หรือหายใจมาก หรือหายใจเบามาก ต้องทำการช่วยหายใจทันที
ขั้นตอนปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพ
1.ดูการตอบสนองของผู้ป่วยด้วยการเขย่าตัวผู้ป่วยเบาๆ
Listen ฟังเสียงลมหายใจ ฟังว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูก หรือปากหรือไม่
Feel สัมผัส โดยใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสว่ามีลมหายใจผ่านออกจากปาก หรือจมูกของผู้ป่วยหรือไม่
Look ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้องว่าหายใจหรือไม่
2.ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
3.เริ่มขั้นตอนช่วยเหลือตามหลักการของการช่วยฟืื้นคืนชีพ
ขั้นตอนที่ 2 Breathing : การช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 3 Circulation : การนวดหัวใจ
ขั้นตอนที่ 1 Airway : การเปิดทางเดินหายใจ
4.กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือคนเดียว
ผู้ช่วยเหลือจะต้องนวดหัวใจและช่วยหายใจผู้ป่วยด้วยวิธีปากต่อปากสลับกัน โดยนวดหัวใจด้วยการนับจำนวนครั้งที่กดเป็น 1 และ 2 และ 3 ไปจนครบ 30 ครั้ง แล้วจึงสลับกับการช่วยหายใจด้วยวิธีการปากต่อปาก 2 ครั้ง ซึ่งถือเป็น 1 รอบ ปฏิบัติครบ 4รอบ ให้ตรวจชีพจรและการหายใจอีกครั้ง แต่ถ้าคลำชีพจรไม่พบให้กดหน้าอกต่อไป
5.กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือ 2 คน
ให้ผู้นวดหัวใจกด 5 ครั้ง ติดต่อกันเป็นจังหวะโดยไม่หยุด
ส่วนผู้ช่วยหายใจจะต้องช่วยหายใจให้ได้จังหวะพอเหมาะ
วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพในสถานการณ์ต่างๆ
การจมน้ำ
ตรวจสอบการหายใจและคลำชีพจร ถ้าไม่หายใจให้ปฏิบัติหลักการช่วยฟื้นคืนชีพ
การสำลักควันไป
1.ย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุโดยเร็ว
2.คลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก
3.ตรวจดูบาดแผลที่อาจถูกไฟลวก ซึ่งถ้ามีให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที
4.ถ้าผู้ป่วยหายใจไม่สะดวกให้ช่วยฟื้นคืนชีพ
5.ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของผู้ป่วยอย่างเพียงพอ
6.คอยสังเกตและเฝ้าระวังอาการ
7.รีบนำผู้ป่วยสางสถานพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ไฟฟ้าช็อต
1.รีบตัดวงจรไฟฟ้า แล้วนำผู้ป่วยออกจากกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดโดยพยายามอย่าสัมผัสกับตัวผู้ป่วยโดยตรงด้วยมือเปล่าควรสวมรองเท้าและใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อกล้องดึงผู้ป่วยออกจากกระแสไฟฟ้าเช่นไม้ยาวเชือกสายยางพลาสติกเป็นต้นซึ่งจะต้องกระทำอย่างระมัดระวังและทำการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้องเพราะในขณะนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่มีสติและอาจจะถูกกระทบกระเทือนจนมีอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้
2.เมื่อผู้ป่วยrhoจากกระแสไฟฟ้าให้ผู้ช่วยเหลือตรวจดูชีพจรและการหายใจของผู้ป่วยแล้วรีบผายปอดและนวดหัวใจ
3.ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของผู้ป่วยด้วยการหาเสื้อหนา ๆ หรือผ้าห่มมาคลุมแล้วรีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว
หัวใจวาย
1.ให้ผู้ป่วยนอนในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
2.ปลอบโยนให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
3.ปลอบโยนให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
4.สังเกตอาการของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัว มีอาการเจ็บหน้าอกเล็กน้อยหรือรู้สึกไม่มีแรง ควรช่วยพยุงให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนจนร่างกายปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล แต่ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนไม่รู้สึกตัวจะต้องตรวจสอบการหายใจ ถ้าไม่หายใจให้ทำการช่วยหายใจและนวดหัวใจทันที
5.ขอความช่วยเหลือแล้วโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลโดยให้แจ้งว่าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจวาย
6.รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว
ภาวะทางเดินหายใจอุดตัน
1.กรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในรูจมูกให้ปิดรูจมูกข้างหนึ่งแล้วสั่งน้ำมูกอย่างแรง สิ่งที่ติดอยู่อาจจะออกมาได้อย่าพยายามใช้นิ้วมือหรือของอื่น ๆ แคะออกเอง เพราะจะทำให้สิ่งนั้นถูกดันลึกเข้าไปอีก ซึ่งหากสิ่งแปลกปลอมนั้นยังไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์เพื่อใช้เครื่องมือคีบออก
2.กรณีสิ่งแปลกปลอมติตลึกลงไปภายในลำคอ
ถ้าเป็นเด็กเล็กให้จับเท้าทั้งสองข้างห้อยศีรษะลงแล้วตบกลางหลังอย่างแรงพอสมควรเพื่อให้สำลักและไอออกมา
ถ้าเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ให้ยืนก้มตัวเพื่อให้ศีรษะห้อยลง โดยผู้ช่วยเหลือจะต้องเข้าไปทางต้านหลังของผู้ป่วยใช้แขนข้างหนึ่งสอดรั้งนยุงตัวผู้ป่วยไว้แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งตบกลางหลังแรง ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการกำมือข้างหนึ่งในลักษณะนิ้วหัวแม่มือแนบชิดกับท้องวางลงบนหน้าท้องเหนือสะดือของผู้ป่วย แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งมาวางขัดกันให้แน่นพอประมาณจากนั้นใช้แรงกดลงบนหน้าท้องและดันขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไอและสิ่งแปลกปลอมอาจหลุดออกมาได้
อีกวิธีหนึ่ง คือ ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหรือนอนตะแคงศีรษะต่ำให้ผู้ช่วยเหลือตบหลังผู้ป่วยระหว่างไหล่สองข้างให้แรงพอสมควร ซึ่งถ้าสิ่งแปลกปลอมยังติดอยู่ให้รีบนำส่งแพทย์
ถ้าผู้ป่วยหายใจติดขัดหรือไม่หายใจให้ทำการช่วยหายใจและนวดหัวใจร่วมด้วยแล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว