Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคปอดเรื้องรัง Bronchopulmonary Dysplasia BPD, 418323, what-are-alveoli…
โรคปอดเรื้องรัง Bronchopulmonary Dysplasia BPD
โรคปอดเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เกิดจากการที่ทารกเคยได้รับการช่วยหายใจโดยใช้ออกซิเจนปริมาณสูงร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจในสัปดาห์แรก ๆ ของชีวิตทำให้ทารกยังต้องการออกซิเจนเมื่ออายุ 28
ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดเรื้อรัง
การขาดสารลดแรงตึงผิว
2.ปอดเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
การได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูง
การช่วยหายใจโดยใช้แรงดันบวก
ภาวะ PDA
พยาธิสภาพของปอด เช่น ปอดอักเสบ ภาวะแรงดันเลือดสูงในปอด
อื่น ๆ เช่น พันธุกรรมภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะการขาดวิตามินเอ เป็นต้น
สาเหตุ
พิษของออกซิเจน (Oxygen toxicity) ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้รับและระยะเวลาที่เยื่อบุทางเดินหายใจสัมผัสกับออกซิเจน
บาดแผลจากแรงดัน (Barotrauma) จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ มีผลต่อปอดโดยเฉพาะปอดที่แข็งหรือไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ปอดขยายตัวมากกว่าปกติ และถุงลมแตก
พยาธิสภาพ
ทารกเกิดก่อนกำหนดระบบการป้องกันของร่างกายยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์เมื่อได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนทำให้เกิดพิษของออกซิเจนต่อเนื้อเยื่อปอด Free Oxygen radicals ทำอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุปอด ทำให้ปอดสูญเสียหน้าที่
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงของ BPD จะค่อยปรากฏช้อนเข้าไปในอาการูแสดงของโดยการดำเนินของโรค RDS จะยาวนานกว่าปกติ (ปกติ RDS จะหายใน 1-2 สัปดาห์หลังเกิด) ทารกที่เป็น BPD ยังคงต้องการออกซิเจนเพิ่มต่อไปอย่างต่อเนื่องเกิน 28วันคือไม่สามารถยกเลิกการใช้เครื่องช่วยหายใจภายหลังที่สาเหตุของภาวะหายใจล้มเหลวเริ่มดีขึ้น
จะมีอาการหายใจเร็ว
หายใจลำบาก
หน้าอกบุ๋ม
พบเสียงวิ๊ด Wheeze
เสียง กรอบแกรบ Crepitation
รายที่มีอาการุนแรงอาจพบอาการเขียว ท้องอืด อาเจียนหลังให้นม หรือมีการขย้อนนม
การวินิจฉัย
ประวัติการเจ็บป่วย อาการและอาการแสดง
การทดสอบสมรรถภาพของปอด (Pulmonary function test) พบความต้านทานในทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นของปอดลดลง และเพิ่ม Function residual capacity
ภาพรังสีปอด พบมีการขยายของปอดเพิ่มขึ้น (hyperexpansion)
การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือด จะพบระดับออกซิเจนในเลือดต่ำคาร์บอนไดออกไซด์สูงและเลือดเป็นกรด
การรักษา
การใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษา BPD จะช่วยให้หลอดลมไม่ตีบตัว การแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมดีขึ้น ทารกจึงใช้พลังงานในการหายใจลดลง แต่การใช้เครื่องช่วยหายใจที่มากเกินไปอาจทำให้อาการของ BPD รุนแรงมากขึ้น
การให้ออกซิเจน เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาจึงต้องให้ความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่จะคงระดับแรงดันออกซิเจนในเลือดแดงไว้ที่ 50-60 มิลลิเมตรปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ปอดมาก
การรักษาด้วยยา เช่น ยาขยายหลอดลม เพื่อเพิ่มความยึดหยุ่นของปอดและลดแรงในการหายใจ ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เพื่อลดอาการอักเสบของปอดที่เกิดจากเครื่องช่วยหายใจหรือพิษของออกซิเจน ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดภาวะน้ำคั่งภายในปอด ทำให้การแลกเปลี่ยนแก๊สในถุงลมปอดดีขึ้น