Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 1 Bronchopulmonary Dysplasia (BPD) - Coggle Diagram
Case 1 Bronchopulmonary Dysplasia (BPD)
Innes เกิดเมื่ออายุ 23 สัปดาห์
ข้อมูลสำคัญ
เมื่อเขาอายุ 10 วัน พบว่ามีออกซิเจนต่ำอย่างน่าอันตราย Innes หยุดหายใจและไม่พบสารคัดหลั่ง แพทย์จึงทำการใส่ Tube
เมื่ออายุได้ 38 ชั่วโมง Innes ต้องได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ หลังจากนั้นได้รับการหาเชื้อโดยการ Swab พบว่ามีการติดเชื้อ แต่เมื่อทำการ Blood culture ผลเป็น Negative
ได้รับทำการ Skin to skin contact เพื่อเพิ่มระดับบออกซิเจนให้แก่ Innes
Innes อายุเกือบ 2 สัปดาห์ มีการตรวจ blood culture พบผล positive ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งมากกว่าที่จะเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ ได้รับการใช้ยา Steroids เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของปอด
เมื่อ Innes อายุ 24 วันหลังจากเกิด ตาของเขาเปิดออก การแสกนสมองไม่พบความผิดปกติ ยา Steroids เริ่มช่วยปอดของเขาได้ แต่มีการติดเชื้ออื่นทำให้ทีมต้องหยุดทำการรักษา ระดับออกซิเจนขึ้นๆลงๆ และ BP ไม่คงที่
ได้รับการให้ออกซิเจนแบบ Nasal cannula แทน และได้รับการอาบน้ำครั้งแรกหลังจากคลอด
A1 : ทารกมีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เนื่องจากการหายใจไม่มีประสิทธิภาพจากการขาดสารลดแรงตึงผิวปอด (Surfactant)
ข้อมูลสนับสนุน
คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
จากการสังเกต
ทารกหายใจเหนื่อยหอบ
วัตถุประสงค์ : ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ หายใจอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ผิวหนังเย็น เขียว
O2 = 90-95%
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อัตราการหายใจอยู่ระหว่าง 30-60 ครั้ง/นาที
ชีพจร 100 – 140 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต = 80/45-100/60 mmHg.
อุณหภูมิร่างกายปกติ คือ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
Hct ปกติ = ปกติ 55-68%
Hb ปกติ = 17-19 g/dl
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตและประเมินภาวะพร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้าเขียว กระสับกระส่าย หายใจอกบุ๋ม
2.ประเมินสัญญาณชีพทุก 2 ชั่วโมง
3.ประเมิน O2 saturation ทุก 2 ชั่วโมง
4.จัดท่านอนทารกนอนราบตะแคงหน้าไปด้านด้านหนึ่ง หรือในระยะที่มีการหายใจลำบากให้จัดให้นอนในท่าศีรษะสูง และควรเปลี่ยนท่านอนทุก 2-3 ชั่วโมง
5.ดูแลเครื่องช่วยหายใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ Set parameter mode ตามแผนการรักษา
6.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอโดยดูดเสมหะในปากและลำคอ ถ้าสิบห้าอยู่ไม่ลึกจะใช้ลูกยางแดง (Bulb syringe) สิบห้าอยู่ลึกควรใช้เครื่องดูดเสมหะ (Suction) ดูในปากก่อน โดยควรใช้เวลาไม่นานเกิน 5-10 วินาที
7.ส่งเสริมให้มีการสร้างลดแรงตรึงผิว โดยการกระตุ้นจากภายนอกที่ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนด้วยการควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นเสมอ รบกวนทารกให้น้อยที่สุด ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล และดูแลให้ได้รับสารลดแรงตึงผิวตามแผนการรักษา
8.ให้นมแก่ทารกด้วยความระมัดระวัง
9.ดูแลให้ได้รับ nasal CPAP ตามแผนการรักษาของแพทย์ และระมัดระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ออกซิเจน
10.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ Artrerial blodd gas
11.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hemoglobin และ Hematocrit
A2 : ทารกมีภาวะติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากภูมิต้านทานของทารกยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์
ข้อมูลสนับสนุน
Blood culture Positive
วัตถุประสงค์ : ทารกไม่มีการติดเชื้อในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพปกติ
ความดันโลหิต = 80/45-100/60 mmHg
อัตราการหายใจ 30-60 ครั้ง/นาที
ชีพจร 100 – 140 ครั้ง/นาที
อุณหภูมิร่างกายปกติ คือ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
ไม่พบเชื้อในกระแสเลือด
WBC = 4,000-10,000 cell
Neutrophil = 37-80%
Lymphocyte= 10-50%
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย
2.ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น ซึม ตัวเย็น ดูดนมไม่ดี น้ำหนักลด มีไข้ เป็นต้น
3.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลแก่ทารกทุกครั้ง
4.ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก aseptic technique โดยเฉพาะจุดที่ให้ IV Fluid
5.ให้การพยาบาลแก่ทารกอย่างนุ่มนวลและเบามือ
6.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายทารก อาบน้ำและเช็ดทำความสะอาดสะดือด้วยแอลดอฮอล์ 70-75% วันละ 1-2 ครั้ง เปลี่ยนผ้าอ้อมและทำความสะอาดทันทีหลังขับถ่ายทุกครั้ง
7.เครื่องมือและเครื่องใช้ของทารกต้องดูแลให้สะอาดหรือผ่านวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น เครื่องดูดเสมหะ ผ้าก๊อซ เสื้อ ผ้าอ้อม เป็นต้น ให้การพยาบาลแก่ทารกโดยยึดหลักเทคนิคปลอดเชื้อ
8.แยกของใช้เฉพาะสำหรับทารกแต่ละคน
9.จัดให้อยู่ในตู้ให้ความอบอุ่น หรืออยู่ห่างจากทารกคนอื่น 4-6 ฟุต
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC ,Hemoculture
ดูแลให้ได้รับยา Steroids พร้อมกับการสังเกตผลข้างเคียงของยาตามแผนการรักษา
A3 : ทารกมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ข้อมูลสนับสนุน
จากการสังเกต
ทารกหายใจเหนื่อยหอบ
คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
วัตถุประสงค์ : ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่พบการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ
ไม่มีการดึงรั้งของท่อช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยหายใจสัมพันธ์กับเครื่อง
ไม่มีเสมหะอุดตันในทางเดินหายใจ ไม่เกิดการสำลัก เสียงหายใจปกติ
ตรวจตาไม่พบความผิดปกติของเส้นเลือดในเรตินา
O2 = 90-94%
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจสอบการทำงานของ ventilator setting ที่ตั้งไว้ให้ถูกต้องตรงตามแผน การรักษาของแพทย์ทุก 4 ชม.และทุกครั้งที่มีการปรับตั้งใหม่
2.ทารกที่ได้รับออกซิเจนควรใช้ Pulse Oximeter ติดตาม O2 Saturation ตลอดเวลาดูแลให้ทารกมีระดับ 02 saturation อยู่ระหว่าง 90-94%
3.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอโดยดูดเสมหะในปากและลำคอ และเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันปอดแฟบ
4.ตรวจสอบ circuit ของเครื่องช่วยหายใจไม่ให้มีน้ำขัง ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องช่วยหายใจทำงานไม่ตรงตามที่ตั้งค่าไว้ และอาจเพิ่มปัญหาการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย
5.ตรวจสอบว่าท่อช่วยหายใจอยู่กับที่ไม่เลื่อนไปมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่กดทับบริเวณมุมปากมากเกินไปยึดท่อช่วยหายใจให้อยู่กับที่
6.จัดสายเครื่องช่วยหายใจให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดึงรั้งท่อช่วยหายใจ
7.ประเมินภาวะมีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดและภาวะปอดแฟบ โดยการฟังเสียงหายใจ สังเกตการเคลื่อนไหวทรวงอกและอาการของภาวะพร่องออกซิเจน
8.ดูแลให้ทารกได้รับยาวิตามินอีตามแผนการรักษา
9.เตรียมทารกแรกเกิดที่มีอายุในครรภ์น้อยกว่า 35 สัปดาห์หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1,800 กรัมที่ได้รับการรักษาโดยออกซิเจนให้ได้รับการตรวจหาภาวะ ROP
A4 : เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ (Hypothermia) หรือภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ (Hyperthermia) เนื่องจากระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่
ข้อมูลสนับสนุน
คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
จากการสังเกต
ทารกไม่ได้สวมเสื้้อผ้า
วัตถุประสงค์ : อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในระดับปกติ
เกณฑ์การประเมิน
อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
ไม่มีอาการของภาวะเครียดจากความเย็น เช่น ซึม ดูดนมไม่ดี เขียว หยุดหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอุณหภูมิร่างกายทารกทางรักแร้หรือทางทวารหนักทุก 4 ชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้นตามความจำเป็น
2.สังเกตอาการและอาการแสดงของการมีภาวะ Hypothermia / hyperthermia เช่น มีเขียวตามปลายมือปลายเท้า เมื่อทารกมี Hypothermia หรือสีผิวแดงร้อนหายใจเร็ว เมื่อทารกมีภาวะ Hyperthermia เป็นต้น
3.ควบคุมอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมหรือตู้อบ (Incubator) หรือเครื่องให้รังสีความอบอุ่น (Radiant heat warmer) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้อุณหภูมิร่างกายของทารกอยู่ในช่วงปกติคือ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส (Neutral thermal environment, NTE) ซึ่งจะทำให้ทารกมีการสร้างความร้อนมีการใช้ออกซิเจนและสารอาหารน้อยที่สุด
4.แนะนำให้มีการสัมผัสแบบแกงการู คือมีการให้การสัมผัสโดยการกอดจากบิดามารดา
5.ถ้าการห่อตัวไม่ขัดกับการรักษา ให้ห่อตัวทารกและให้สวมหมวกหรือใช้ผ้าคลุมศีรษะโดยเฉพาะทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยมาก
6.ป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายทารก จากการนำ การพา การระเหยและการแผ่รังสี
A5: ทารกมีภาวะตัวเหลืองจากการคั่งของบิลิรูบินในกระแสเลือดเนื่องจากการทําหน้าที่ของตับยังไม่สมบูรณ์
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
วัตถุประสงค์ : ไม่ได้รับอันตรายจากการมีบิลิรูบินในเลือดสูง
เกณฑ์การประเมินผล
ค่าบิลิรูบินในเลือดลดลงเป็นปกติ 4-6mg%
ผิวหนังและตาไม่เหลือง ผิวหนังชุ่มชื้นเป็นปกติ
ไม่มีอาการแสดงของการมีบิลิรูบินคั่งในสมอง คือ ไม่ซึม ไม่ซักเกร็ง หลังแอ่น ดูดนมได้ตามปกติ เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการตัวเหลือง โดยใช้นิ้วกดบนผิวหนังบริเวณ จมูก หน้าผาก หน้าอก หรือหน้าแข้งถ้า สังเกตเห็นอาการตัวเหลืองอย่างรวดเร็วภายใน 6-24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือทารกมีอาการเหลือง ร่วมกับภาวะอื่น เช่น ซีดมาก บวม ตับม้ามโต เป็นต้น หรือมีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ ได้แก่ ซึม ชัก เป็นต้น ให้รายงานแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อให้ทารกได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ประเมินอาการแสดงของการมีบิลิรูบินคั่งในสมอง คือ ซึม ชักเกร็ง หลังแอ่น ตัวอ่อนปวกเปียก เป็นต้น
ให้การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ ดังนี้
ถอดเสื้อทารกออกแล้วจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย หรือนอนคว่ำบริเวณตรงกลางของแผลหลอดไฟ ในระยะห่างจากหลอดไฟ ประมาณ 45-50 เซนติเมตรและเปลี่ยนท่านอนทุก 2-4 ชั่วโมง
บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง
ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตา (eye patches) ให้มิดชิดเพื่อป้องกันการระคายเคืองของแสงต่อตา เช็ดทำความสะอาดตา และตรวจตาทารกทุกวัน
สังเกตลักษณะอุจจาระ เพราะทารกอาจมีอาการถ่าวเหลวสีเขียวปนเหลืองจากบิลิรูบิน และน้ำดี
ดูแลให้ทารกได้รับการตรวจเลือดหาระดับบิลิรูบินในเลือดอย่างน้อยทุก 12 ชั่วโมง
สังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการส่องไฟรักษาได้แก่ ภาวะขาดน้ำ ถ่ายเหลว มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
ติดตามให้ได้รับการเจาะเลือดเพื่อติดตามระดับบิลิรูบิทุก 12 ชั่วโมง
A6: ทารกมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลูโคสในเลือดต่ำเนื่องจากทารกคลอดก่อนกําหนดมีการสะสมไกลโคเจนน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
วัตถุประสงค์ : ไม่เกิดภาวะกลูโคสในเลือดต่ำ
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับน้ำตาล มากกว่า 40 mg/dl
ไม่มีอาการกระตุก หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหงื่อออก ตัวเย็น ซึม สะดุ้งผวา ร้องเสียงแหลม ชักและหมดสติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการที่แสดงถึงภาวะกลูโคสในเลือดต่ำโดยสังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงได้แก่ ซึมลง สั่นมาก ชักเกร็ง เมื่อพบความผิดปกติต้องรีบรายงานแพทย์
2.ดูแลทารกให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ โดยตรวจสอบความถูกต้องทั้งชนิดและจำนวน
3.ดูแลทารกให้ได้รับความอบอุ่นด้วยตู้อบและปรับอุณหภูมิตู้อบ 32-34 องศาเซลเซียสเพื่อให้ทารกมีการเผาผลาญและใช้ออกซิเจนต่ำที่สุด
ติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดและประเมินอาการของการมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 40 mg/dl ให้รายงานแพทย์ และให้การพยาบาลตามแผนการรักษา
A7: ทารกมีภาวะเสี่ยงต่อการได้รับสารน้ำสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการดูดกลืนและระบบทางเดินอาหารยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
วัตถุประสงค์ : ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
น้ำหนักลดลงไม่เกินร้อยละ 15-20 ในสัปดาห์แรก
น้ำหนักเพิ่มขึ้น 20-30 กรัม/วัน ในสัปดาห์ที่ 2
กระหม่อมแบนราบ ไม่มีตาลึก การยืดหยุ่นของผิวหนังดี
ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 40 mg/dl
ไม่มีอาการรับน้ำไม่ได้ เช่น หายใจลำบาก อาเจียน ท้องอืด จำนวนนมเหลือค้างมาก
ปริมาณปัสสาวะในวันแรกประมาณ 0.5 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง และหลังจากนั้น 1-3 มิลลิลิตร/ กิโลกรัม/ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะขาดสารน้ำ และสารอาหาร เช่น ผิวหนังมีความยืดหยุ่นตึงตัวไม่ดีเหี่ยวย่นกระหม่อมบุ๋ม
ประเมินและบันทึกอาการและอาการแสดงของความไม่สมดุลของสารอาหารสารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ทุก 2-4 ชม. ความสามารถในการรับนมได้ของทารกเช่น จำนวน ลักษณะของ Gastric content อาการท้องอืด สำรอกนม หายใจลำบากหลังให้นม มีเลือดปนในอุจจาระหรือมี Occult blood
3.ทารกได้รับอาหารสายยาง Orogastric tube ก่อนให้นมต้องทดสอบว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร และประเมินการดูดซึมของอาหารโดยการดูดปริมาณ Gastric content ออกมาดูก่อน ถ้าปริมาณนมเหลือร้อยละ 25 ของนมที่ได้รับ ควรรายงานแพทย์
ทารกได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำควรระวังไม่ให้เกิดการรั่วของสารน้ำสารอาหารออกนอกหลอดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดของทารกเปราะบางและแตกง่าย หากหลอดเลือดแตกต้องเปลี่ยนตำแหน่งป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น และป้องกันภาวะขาดสารน้ำ สารอาหาร
ชั่งน้ำหนักทารกทุกวัน ในเวลาเดียวกัน และใช้เครื่องชั่งเดียวกัน
ประเมินและบันทึกการเจริญเติบโตทุกสัปดาห์ เช่น ความยาวลำตัว เส้นรอบศีรษะ และเส้นรอบ อกทุกสัปดาห์
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ำ เข้า-ออก จากร่างกายทุก 8 ชั่วโมง ถ้าไม่สมดุลรายงานแพทย์ทราบ
ส่งเสริมให้ทารกได้รับนมมารดาให้มากที่สุด กรณีที่ไม่สามารถให้นมมารดาได้ ให้นมชนิด premature formula (PE)
A8: ทารกมีภาวะเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้าเนื่องจากการเกิดก่อนกําหนดและระบบประสาทสัมผัสยังเจริญไม่สมบูรณ์
ข้อมูลสนับสนุน
คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 23 สัปดาห์
อายุ 24 วัน เปลือกตาเปิดออก
วัตถุประสงค์ : การเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
แสดงท่าผ่อนคลายสงบเมื่อได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัส
นอนในท่างอแขนขา
พัฒนาการและการเจริญเติบโตเป็นไปตามวัย
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลและให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารก (Developmental care) โดยจัดกิจกรรมการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านต่างๆรวมทั้งแนะนำวิธีการปฏิบัติแก่บิดามารดาโดยใช้หลัก Family centered care
กระตุ้นประสาทที่ผิวหนังและการเคลื่อนไหว เช่น โอบอุ้มลูบสัมผัสทารกอย่างนุ่มนวลด้วยมือที่อุ่น ให้มารดาอุ้มสัมผัสบุตรแบบแคงการู เปลี่ยนท่านอนทารกช้า ๆ และนุ่มนวลทุก 2 ชั่วโมง
การกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นของทารกที่เหมาะสมโดย แขวนโมบายในระยะห่างจากสายตาทารกประมาณ 7-9 นิ้วและติดรูปภาพไว้ที่ผนังห้องหรือผนังตู้อบ ใช้ผ้าคลุมตู้อบหรือเปิดไฟให้มีแสงสลัว และอุ้มทารกในระดับการมองหน้าสบตาตามปกติ
การกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการได้ยินที่เหมาะสมโดย เรียกชื่อทารกและพูดคุยขณะดูแลทารกด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ร้องเพลงเปิดวิทยุหรือเทปเป็นระยะ ๆ ลดเสียงดังรอบ ๆ ตัวทารก เช่น การพูดคุยเสียงดัง ประเมินการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการได้ยินที่มากเกิน ได้แก่ การตอบสนองลดลงหยุด หายใจหัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
A9: บิดามารดากังวลเนื่องจากสภาพความเจ็บป่วยและไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษาของทารก
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาบอกว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับเขาได้อย่างไร
จากการสังเกตบิดามารดามีสีหน้าที่วิตกกังวล
วัตถุประสงค์ : บิดา มารดา คลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของทารก
เกณฑ์การประเมิน
บิดา มารดา มีสีหน้าที่ยิ้มแย้ม
บิดา มารดาให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการวางแผนและการรักษาพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับบิดา มารดา ยิ้มทักทาย กระตุ้นให้บิดา มารดา ได้ระบายความรู้สึก
เปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาข้อข้องใจ พร้อมทั้งแสดงความเห็นใจ และให้กำลังใจ
ให้ความรู้แก่บิดา มารดา เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา และฝึกทักษะในการทํากิจกรรมต่าง ๆ
ให้บิดา มารดา เข้าเยี่ยมบุตร และร่วมทํากิจกรรมในการดูแลทารก เช่น การให้นม การเปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำให้แก่ทารก