Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Respiratory distress syndrome (RDS) คือภาวะหายใจลำบากของทารกตั้งแต่กำเนิด…
Respiratory distress syndrome (RDS)
คือภาวะหายใจลำบากของทารกตั้งแต่กำเนิด
ความหมาย
คือภาวะหายใจลำบากของทารกตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่ปอดยังสร้างไม่สมบูรณ์ และขาดสาร Surfactant หรือ สารลดแรงตึงผิว อันมีผลทำให้ปอดแฟบ หายใจเข้าออกได้อย่างไม่เป็นปกติ และหากเป็นรุนแรง ทารกก็จะไม่สามารถหายใจเองได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ นั้น เป็นผลมาจากการคลอดก่อนกำหนด แต่ทั้งนี้ เด็กที่อยู่ในครรภ์ครบกำหนดก็สามารถพบภาวะ RDS ได้เช่นกัน แต่จะมีจำนวนน้อยกว่ามาก และถ้าหากมีก็จะเป็นสาเหตุมาจากปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ อาทิ มารดามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลทำให้ปอดของทารกพัฒนาช้ากว่าอายุครรภ์จริงนั่นเอง
ปัจจัย
ปัจจัยที่มารดาตั้งครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด จนทำให้ทารกน้อยที่คลอดออกมามีโอกาสเสี่ยงเป็น RDS มีภาวะหายใจลำบากนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประการหลักๆ ดังต่อไปนี้
1.ปัจจัยด้านมารดา โดยหากมารดามีอายุมาก มีโรคประจำตัวมาก อาทิ เป็นโรคหัวใจ โรคไต หรือระหว่างตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ ก็จะมีโอกาสทำให้เด็กไม่แข็งแรง คลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงเป็นภาวะ RDS ได้
2.ปัจจัยด้านเด็กทารก หากพบว่าตัวเด็กเองมีภาวะผิดปกติ เช่น มีความพิการแต่กำเนิด มีโครโมโซมที่ผิดปกติ ก็สามารถทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ หรือในกรณีของการตั้งครรภ์แฝด ไม่ว่าจะแฝด 2 แฝด 3 หรือมากกว่านั้น ก็สามารถเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด จนเสี่ยงภาวะ RDS ได้เช่นกัน
3.ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น คุณแม่มีการติดเชื้อแอบแฝง หรือ รกมีความผิดปกติ อาทิ รกเกาะต่ำ จนทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย ก็เป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้มารดาเจ็บครรภ์ จนคลอดก่อนกำหนดได้
พยาธิสภาพ
ภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด เกิดจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนคขาดสารลดแรงตึงผิว ในถุงลม ซึ่งทำหน้าที่ให้ถุงลมคงรูปและ ไม่แฟบขณะหายใจออก สารลดแรงตึงผิวสร้างจากเซลล์ Pneumocyte type II ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ และสร้างมากขึ้นจนอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ สารลดแรงตึงผิวเป็นสารที่เกิดจากการผสมกันระหว่างโปรตีนและฟอสโฟ ไลปีด การขาดสารลดแรงตึงผิว ทำให้ความยึดหยุ่นของปอดลดลง ทรกต้องใช้แรงในการหายใจในแต่ละครั้งมากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องใช้ ออกซิเจนมากกว่าที่ได้รับจากการหายใจ ต่อมาทารกจะเหนื่อยล้าพร้อมกับการระบายอากาศในถุงลมลดลง ออกซิเจนจึงไม่สามารถผ่านเข้าสู่กระแสโลหิต ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซค์ไม่สามารถผ่านออกมาได้ ทำให้ทารกมีภาวะเลือดขาดออกซิเจนร่วมกับมีการดั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดภาวะกรด ตามมา จากการที่หลอดเลือดที่ปอดหตัว ดังนั้นการกำซาบของอากาศที่ปอดลคลง จึงมีการหายใจแรงมาก ขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่ถุงลมแตก เลือดไปเลี้ยงถุงลมน้อยลง ถุงลมขาคเลือดและเยื่อบุหลอดเลือดฝอยถูก ทำลาย เมื่อหลอดเลือดฝอยถูกทำลาย โปรตีนและไฟบรินในพลาสมาจะรั่วออกและเข้าไปฉาบอยู่ด้านใน ผนังถุงลม เรียกว่า Hyaline Membrane ซึ่งทำให้การระบายอากาศเข้าถุงลมและการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ลดลงอีก
การวินิจฉัยโรค
หากแพทย์สงสัยว่าทารกมีภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก แพทย์จะตรวจร่างกายและอาจตรวจด้วยวิธีอื่น เพิ่มเติม เช่น
1.การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติ
2.การเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณปอด
3.การทดสอบด้วยเครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry Test) เพื่อตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดของทารกผ่านเซนเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณปลายนิ้ว หู หรือนิ้วเท้า และการเจาะเลือดประเมินระดับออกซิเจนโดยตรง
อาการ
อาการของทารกที่จะต้องดูว่าเป็นภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือไม่และต้องให้การรักษาแบบเร่งด่วนได้แก่ gasping choking, stridor เป็นอาการที่บ่งถึงการมีการอุดตันของทางเดินหายใจ การหยุดหายใจ หรือการ หายใจที่ไม่พอหรือเขียว ทารกจะมีหัวใจเต้นช้าลงและความดันโลหิตลดลงแพทย์ต้องรักษาทันทีโดยการให้ ออกซิเจน ทางการบีบ bagและครอบ mask หรือการใส่เครื่องช่วยหายใจ หลังจากการช่วยเบื้องต้นแล้วควร ได้ประวัติมารดาเกี่ยวกับการคลอด หรือการประเมินทารกในครรภ์ได้แก่ triple screen, ultrasonography, biophysical profileและ fetal monitoring ช่วงการเจ็บท้องและการคลอด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการ ทำคลอดได้แก่birth trauma, meconium stain amniotic fluid (MSAF) และ perinatal depression ซึ่งภาวะ ของมารดาและการคลอดจะช่วยบอกอาการ respiratory distress ในทารก
ภาวะแทรกซ้อนของ RDS
ภาวะ RDS อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จึงอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนหรือความผิดปกติอื่น ๆ ในระยะยาวแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล เช่น
1.เกิดอากาศสะสมบริเวณรอบหัวใจหรือทรวงอก
2.มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดและภาวะปอดแฟบ เป็นต้น
3.ความผิดปกติในด้านพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ความบกพร่องทางสติปัญญา มีปัญหาด้านการมองเห็น เป็นต้น
4.เกิดการแข็งตัวของเลือด ลิ่มเลือด
5.มีเลือดออกในสมองหรือปอด
6.ติดเชื้อในกระแสเลือด
7.ไตวาย
การรักษา
1.การรักษาแบบประคับประคองโดยดูแลให้ทารกได้รับความอบอุ่นได้รับอาหารที่เหมาะสมและป้องกันการติดเชื้อ
2.ให้ออกซิเจนที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับทารกที่มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นอาจจะต้องได้รับ CPAP หรือเครื่องช่วยหายใจการให้ออกซิเจนต้องระมัดระวังและดูแลภาวะแทรกซ้อนเช่นภาวะ ROP เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากการให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงเป็นเวลานานทำให้เกิด fibrous tissue ที่ด้านหลังของตารบกวนการไหลเวียนของโลหิตทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงที่ตาอาจให้ตาบอดได้
3.รักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว (surfactant)