Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะ RDS เกิดจากถุงลมปอดของทารกขาดสารลดแรงตึงผิว ทำให้ถุงลมแฟบหลังจากหายใจออกปริมาตรและความยืดหยุ่นของปอดลดลง ต้องใช้แรงในการหายใจเข้าเพิ่มขึ้น เกิดความไม่สมดุลระหว่างการระบายอากาศ (Ventilation) และการกำซาบ (Perfusion) ทำให้เกิดภาวะเลือดขาดออกซิเจน (Hypoxemia) และมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (Hypercapnia) ในทารกที่มีอาการรุนแรงเลือดอาจลัดวงจรจากซ้ายไปขวาผ่าน PDA ทำให้มีเลือดไปปอดมากเกินไป และเกิดภาวะปอดบวมน้ำ เซลล์บุหลอดเลือดฝอยที่อยู่รอบถุงลมบวมและสูญเสียความซึมซ่านผ่านได้ (Permeability) ทำให้น้ำและโปรตีนซึมออกนอกหลอดเลือดฝอยและเข้าไปฉาบอยู่ด้านในผนังถุงลม ทำให้สารลดแรงตึงผิวสูญเสียคุณสมบัติในการลดแรงตึงผิว
การขาดสารลดแรงตึงผิวที่ถุงลมปอด
1. การซักประวัติการเกิดก่อนกำหนดและปัจจัยส่งเสริมอาการและอาการแสดง 2. การถ่ายภาพรังสีทรวงอก และปอด จะมีลักษณะเฉพาะ คือ ปริมาตรปอดมีน้อยหรือปอดมีลมน้อยกว่าปกติ (Hypoaeration) และพบถุงลมที่แฟบเป็นจุดขาวเล็ก ๆ กระจายทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง ลักษณะคล้ายกระจกฝ้าที่เกิดจากถุงลมที่แฟบแทรกด้วยเงาดำของลมในหลอดลมฝอยเป็นเส้นสีดำกระจายจากขั้วปอด 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการผลการ วิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas) พบมีเลือดขาดออกซิเจน (Hypoxia) มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงและภาวะกรดในร่างกายจากการหายใจและการผาผลาญ (Metabolic หรือ respiratory acidosis) ตามความรุนแรงของโรค
1. ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดหรือก่อนที่ปอดของทารกจะสร้างสารลดแรงตึงผิวได้เพียงพอเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดซึ่งอาจทำโดยมีการฝากครรภ์ที่ดีและตรวจอายุครรภ์ให้แน่นอนทำคลอดเมื่อตรวจพบว่าปอดทารกสมบูรณ์สร้างสารลดแรงตึงผิวได้พอเพียง
2. การให้สเตียรอยด์แก่มารดาที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ที่มีแนวโน้มจะคลอดบุตรก่อนกำหนดเพื่อให้ยาช่วยเร่งการเจริญเติบโตของปอดร่วมกับการให้ยายับยั้งการคลอดล่าช้าออกไปจะสามารถลดความรุนแรงของ RDS ได้
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน ถุงลมปอดรั่วและมีลมในเยื่อหุ้มปอด เลือดออกในช่องสมอง ภาวะลิ่มเลือดกระจายในหลอดเลือด และภาวะติดเชื้อ PDA ถุงลมปอดรั่วและมีลมในเยื่อหุ้มปอด เกิดโรคปอดเรื้อรังและการเกิดพิษของออกซิเจนต่อตา
1.1 ควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอควรจัดเด็กให้นอนในตู้อบหรือเครื่อง Radiant Warmer เพื่อให้มีอุณหภูมิกายคงที่ประมาณ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
1.2 การให้สารน้ำและอาหารมักงตให้ทางปาก 3-4 วันแรกแต่ให้ทางหลอดเลือดดำแทน
1.3 รักษาดุลย์กรดด่างแก้ไขภาวะภาวะกรดในร่างกายจากการหายใจและการเผาผลาญด้วยการให้โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO) เข้าทางหลอดเลือดช้าๆเมื่อ pH ต่ำกว่า 7.20
มีความจำเป็นสำหรับทารกที่เป็น RDS ทุกรายควรให้เพียงเพื่อไม่ให้ทารกเขียวปริมาณที่ให้ค่าความดันของออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 50-60 มิลลิเมตรปรอทและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (Oxygen saturation, SpO2) อยู่ระหว่าง 90-95% หลีกเลี่ยงการให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงเกินเพื่อป้องกันพิษของออกซิเจนต่อปอดและตา
ร้อยละ 10-30 ของทารกที่เป็น RDS ต้องช่วยหายใจโดยใช้ความดันบวกในทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง (Continuous positive airway pressure, CPAP) หรือ Mechanical ventilation CPAP) เป็นการให้ออกซิเจนเข้าไปคาอยู่ในถุงลมปอดจำนวนหนึ่งตลอดช่วงหายใจออกโดยใช้ความดันประมาณ 4-8 เซ็นติเมตรน้ำเพื่อป้องกันถุงลมปอดแฟนขณะหายใจออกช่วยให้ทารกไม่ต้องใช้แรงมากในการหายใจและทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมปอดได้ดีขึ้น
4.2 ชนิดสังเคราะห์ ได้แก่ Exosurf และ Artificial ใน ng expanding Compound (ALEC)
4.1 ชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Natural surfactant extract) ได้แก่ Survanta, Curosurf, Surfacten, Alveofact uas Infasurf bunu