Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรัชญาการศึกษาไทย :pencil2: - Coggle Diagram
ปรัชญาการศึกษาไทย
:pencil2:
1. ปรัชญาการศึกษา สารัตถนิยม (Essentialism)
หลักสูตร :
เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (SUBJECT-MATTER CURRICULUM) และหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (BROAD-FIELD CURRICULUM) โดยเน้นเนื้อหาวิชาและกวดขันความรู้เป็นสำคัญ
โรงเรียน :
เน้นเรื่องมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนจะต้องเคร่งครัดในเรื่องระเบียบวินัย หน้าที่สำคัญของโรงเรียนคือการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง สร้างบรรยากาศทางการศึกษาให้เหมาะสมแก่การพัฒนา สติปัญญา จริยธรรมและ ถ่ายทอดวัฒนธรรม
ผู้สอน :
ครูเป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษา ครูต้องมี ความรู้ทางการศึกษาทั่วไป ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่างๆ มีความลึกซึ้งในจิตวิทยาของเด็กและขบวนการเรียนรู้
กระบวนการเรียนการสอน :
เน้นหลักสำคัญที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ เน้นการเรียนการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก สื่อการสอนจะเป็นการถามตอบเพื่อทบทวน ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (PERENNIALISM)
หลักสูตร :
เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาการศึกษาทั่วไปที่ฝึกฝนให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญา เหตุผล เป็นการให้ความรู้ที่ กว้างขวาง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ทุกสถานการณ์ หลักสูตรศิลปศาสตร์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
ศิลปทางภาษา (LIBERAL ARTS) ซึ่งประกอบด้วยไวยากรณ์ วาทศิลป์ และตรรกศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของการอ่าน การฟัง การ พูด การเขียน (3R’S) และการใช้เหตุ
ศิลปทางคำนวณ (MATHEMATICAL ARTS) ประกอบด้วย เลขคณิต วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ และดนตรี วิชาในกลุ่มนี้มุ่งที่การพัฒนาสติปัญญา (INTELLECTUAL DEVELOPMENT) ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
โรงเรียน :
เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางที่จะนำผู้เรียนไปสู่สัจธรรม ค่านิยม และวัฒนธรรมอันดีงาม
ผู้สอน :
ผู้สอนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนการสอน เป็นบุคคลสำคัญในการตัดสินใจ การเลือกการกำหนดวิธีการที่จะสอนตลอดจนการวัดและประเมินผล เป็นผู้เสนอข้อคิดต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสติปัญญา จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ ทั้งทางด้าน วิชาการและมีคุณสมบัติทางด้านคุณธรรมเป็นอย่างดี
กระบวนการเรียนการสอน :
เน้นที่จะสร้างคนให้เป็น คนที่สมบูรณ์ โดยวิธีการฝึกฝนศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการเรียนการสอนจึงเน้นหนักที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในตัวผู้เรียน โดยการให้อภิปรายใช้เหตุผลและสติปัญญาโต้แย้งกัน ซึ่งการเรียนการสอนจะยึดหลักการสอนตามแนวจิตวิทยา
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
หลักสูตร :
หลักสูตรแบบประสบการณ์ (EXPERIENCE CURRICULUM) เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นหลักสำคัญ เนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ คือ สังคมศึกษาและวิชาสื่อความหมายเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
โรงเรียน :
โรงเรียนคือแบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและสังคม ดังนั้นบทบาทของโรงเรียนจึงต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างเสริม ประสบการณ์ชีวิตจริงให้แก่ผู้เรียนโดยจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และ การดำเนินชีวิตจริงแบบประชาธิปไตยเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก
ผู้สอน :
ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์กว้างขวางเพื่อช่วยให้เด็กก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้มีบุคลิกดี เห็นอกเห็นใจเด็ก ๆ และเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผู้เรียน :
เด็กมีหน้าที่แสวงหาประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตและสังคมได้
กระบวนการเรียนการสอน :
การเรียนการสอนตามแนวปรัชญานี้เน้นการฝึกการกระทำ (LEARNING BY DOING) เพื่อให้เกิดประสบการณ์โดยตรง การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงต้องใช้กระบวนการแก้ปัญหา ดังนั้นการเรียนการสอนจึงใช้การสอน แบบแก้ปัญหาโดยต้องเน้นให้เด็กมีการแก้ปัญหาในห้องเรียน สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่เป็นกันเองโดยอาศัยหลักการแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมอภิปราย เพื่อหาข้อสรุปข้อสำคัญหรือทฤษฎีต่าง ๆ ความรู้จากการยึดการกระทำจริงจะโยงไปสู่หลักการหรือทฤษฎีซึ่งจะติดตัวเด็กไปได้นาน กว่าความรู้ที่ได้จากการท่องจำ
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (RECONSTRUCTIONISM)
หลักสูตร :
เป็นหลักสูตรที่เน้นด้านสังคมเป็นแกนสำคัญ ยึดหลักสูตรแบบแกน (CORE CURRICULUM) คือ เนื้อหาสาระในหลักสูตรจากปัญหาสังคมที่ผู้เรียนประสบอยู่
ผู้สอน :
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมเชื่อว่าครูผู้สอนต้องสามารถทำให้เด็กเห็นว่ามีความ จำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์สังคมใหม่โดยอาศัยกระบวนการแบบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นใน
ผู้เรียน :
ส่งเสริมให้เด็กเข้าใจสภาพของสังคมและศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสังคม เป็นการเตรียมให้เด็กมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างมี คุณภาพ เด็กมีความพร้อมในการคิดหา แนวทางในการแก้ปัญหา และนำผลที่ได้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียน :
โรงเรียนจะต้องสนใจใฝ่หาอนาคต (FUTURE ORIENTED) และนำทางให้เด็กได้พบกับระเบียบของสังคมใหม่โดยการให้
กระบวนการเรียนการสอน :
เป็นการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเองโดยวิธีการต่างๆ เช่น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการแบบโครงการ และวิธีการแก้ปัญหา นอกจากนั้นปรัชญานี้ยังอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ และ วิธีการทางปรัชญา เข้ามาประกอบด้วยเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ รัดกุมและสมบูรณ์ที่สุด ไม่ส่งเสริมการเรียนแบบท่องจำและการสอนแบบบรรยาย
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (EXISTENTIALISM)
หลักสูตร :
เน้นทางสาขามนุษยศาสตร์(HUMANITIES) โดยเน้นเนื้อหาวิชาที่มีความสำคัญในการ ส่งเสริมให้บุคคลเลือกและตัดสินใจ อันได้แก่ วิชาศิลปะ ปรัชญา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การเขียน การละคร จิตรกรรม และศิลปประดิษฐ์
โรงเรียน :
ปรัชญาการศึกษานีมีความเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กพอใจ โรงเรียนจะไม่สร้างและ กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ให้เด็กปฏิบัติตาม แต่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนมี
ผู้สอน :
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมเชื่อว่าผู้สอนมีหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าใจให้เด็ก รู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเน้นให้เด็กเข้าใจตัวเองเป็นสำคัญ ครูผู้สอนกับเด็กมีความสำคัญเท่ากันต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน และครูผู้สอนต้องรู้จริงในวิชาที่สอน
ผู้เรียน :
ผู้เรียนจะเข้าใจตัวเองเป็นสำคัญ ฝึกฝนตนในด้านสุนทรียศาสตร์ อารมณ์ และฝึกฝนศีลธรรม
กระบวนการเรียนการสอน :
ให้ความสำคัญของเด็กเป็นอย่างยิ่ง การเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้เด็กค้นพบและรู้จักตัวเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังเน้น “การมีส่วนร่วม”
6. พุทธปรัชญาการศึกษา (BUDDHISM)
หลักสูตร :
เป็นหลักสูตรที่เน้นการฝึกฝนอบรมทางด้าน จิตใจและ คุณธรรมของเด็กเป็นสำคัญ หลักสูตรที่ประกอบด้วยแผนการศึกษา 4 อย่างคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษา
โรงเรียน :
โรงเรียนนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะ เหนี่ยวโน้มส่งเสริม จูงใจ และปลุกเร้าให้เกิดความศรัทธาที่จะเรียนรู้ มีความเงียบสงบ ความใกล้ชิดกับธรรมชาติ ความแปลกใหม่และเปลี่ยนแปลงไม่จำเจ และความสะดวกมีระเบียบและเรียบง่าย
ผู้สอน :
พุทธปรัชญาการศึกษาเชื่อว่าครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อเด็ก ตั้งใจสอนด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ศิษย์เป็นคนที่มีคุณธรรมของสังคม ครูผู้สอนจะต้องเป็น ผู้มีความรู้ดี ปฏิบัติได้จริง และมีวิธีสอนหลาย ๆ แบบที่สามารถเร้าใจ ให้เด็กสนใจได้เป็นอย่างดี
ผู้เรียน :
เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำหลักธรรมไปแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
กระบวนการเรียนการสอน :
จัดโดยคำนึงถึง สภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้และได้ฝึกฝนวิธีการ คิดโดยแยบคาย นำไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริง เรียกว่า การสอนโดยสร้างศรัทธา โดยมุ่งเน้นให้ครูเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์ และศิษย์ได้มีโอกาสคิดแสดงออกปฏิบัติอย่างถูกวิธีจนสามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
7. ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ