Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะผิดปกติปัจจัยการคลอด, นางสาวไพลิน อ้วนวิจิตร 61102301104,…
ภาวะผิดปกติปัจจัยการคลอด
Passenger
ความหมาย
ทารกที่มียอดศีรษะ หรือขม่อมหน้าเป็นส่วนนำ และมีท้ายทอยอยู่เฉียงไปด้านหลังของช่องเชิงกราน ถ้าท้ายทอยอยู่ตรงกับด้านหลังของช่องเชิงกรานพอดี เรียกว่าท่าท้ายทอยอยู่หลัง หรือ OP (occiput posterior) ถือว่าเป็นท่าผิดปกติ (malposition) ท่าท้ายทอยอยู่เฉียงหลัง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท้ายทอยเฉียงหลังข้างขวา หรือ ROP (right occiput posterior) และท่าท้ายทอยเฉียงหลังข้างซ้าย หรือ LOP (left occiput posterior)
สาเหตุ
- ศีรษะทารกก้มน้อยเกินไปหรือช้าเกินไปเมื่อเข้าเชิงกราน
- เชิงกรานเป็นชนิด anthropoid ซึ่งแคบในแนวขวาง
- ผนังหน้าท้องของผู้คลอดมีลักษณะหย่อนมาก มดลูกและลำตัวทารกเอนออกมาท้างด้านหน้าและท้ายทอยหมุนไปอยู่ด้านหลัง
- มีสิ่งกีดขวางการหมุนไปด้านหลังของศีรษะทารก เช่น รกเกาะบริเวณด้านหน้าของมดลูก
- มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือแรงเบ่งน้อย ทำให้กลไกการก้มและการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกไม่ดีตามมา ซึ่ง
กลไกทั้งสองนี้ความสำคัญต่อการหมุนภายในของทารก
- กล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน มีลักษณะหย่อน ซึ่งพบได้ในกรณีที่ให้ยาชาทางไขสันหลัง และออกฤทธิ์ในระดับเส้นประสาทซาครัม
ศีรษะทารกหมุนภายในช่องเชิงกรานเป็นระยะทางยาว (long internal rotation of the head) จนท้ายทอยมาอยู่ด้านหน้า
ท้ายทอยหมุนจากทางด้านหลังเป็นระยะทาง 3/8 ของวงกลม หรือเป็นมุม 135 องศา จนท้ายทอยไปอยู่ทางด้านหน้าใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่า แล้วศีรษะคลอดออกมาในท่าปกติ บางรายอาจมีความผิดปกติบางอย่างทำให้ศีรษะทารกหมุนได้เพียง 1/8 ของวงกลม หรือเป็นมุม 45 องศา รอยต่อแสกกลางของศีรษะทารกจะอยู่ในแนวขวางและมีท้ายทอยอยู่ทางด้านข้าง
ศีรษะทารกหมุนภายในช่องเชิงกรานเป็นระยะทางสั้น (short internal of the head) ทำให้ท้ายทอยคงอยู่หลัง (OPP)
มักพบในรายที่ศีรษะทารกก้มไม่เต็มที่ มดลูกหดรัดตัวไม่ดี แรงเบ่งน้อย ทารกตัวเล็ก ช่องหลังเชิงกรานกว้างมาก และที่สำคัญที่สุดคือ มีสิ่งกีดขวางไม่ให้ท้ายทอยหมุนไปทางด้านหน้า เช่น แนวขวางของช่องเชิงกรานแคบ หรือปุ่มอิเชียล ยื่นออกมาขวางมากเกินไป ทำให้การหมุนเป็นไปได้ยาก ทารกอาจคลอดเองในลักษณะท้ายทอยอยู่หลัง หรืออาจต้องช่วยคลอดโดยใช้มือหมุน การให้เครื่องดูดสุญญากาศ คีมหรือการผ่าตัด
-
ความหมาย
ท่าที่มีรอยต่อแสกกลางของศีรษะทารกอยู่แนวขวาง ท้ายทอยอยู่ด้านข้างแล้วคงอยู่เช่นนั้น ไม่มีการหมุนต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถ้าศีรษะยังคงอยู่สูงมาก คือระดับของส่วนนำเท่ากับ +2หรือน้อยกว่า เรียกว่าคงอยู่ข้างระดับสูง (high transverse arrest of head) ถ้าศีรษะเคลื่อนลงมาต่ำคือระดับส่วนนำเท่ากับ +3 หรือมากกว่า เรียกว่าท้ายทอยคงอยู่ข้างระดับต่ำ (low or deep transverse arrest of head)
สาเหตุ
- แนวหน้าหลังของเชิงกรานแคบกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชิงกรานตอนกลาง หรือช่องภายในเชิงกราน เช่น เชิงกรานชนิดแพลทิเพลลอย ศีรษะทารกจะหมุนไม่ได้
- มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ศีรษะทารกไม่ก้ม ทำให้ศีรษะทารกไม่สามารถหมุนต่อไปได้ หรืออาจเกิดจากท่าท้ายทอยเฉียงหลังหรืออยู่หลัง แล้วหมุนไปทางด้านหน้า แต่หมุนไม่สำเร็จ
การวินิจฉัย
การคลำ อาจพบหน้าผากหรือคางอยู่ด้านหนึ่งของกระดูกหัวเหน่าแนวลำตัวทารกอยู่ตามแนวยาว คลำหลังไม่ได้ คลำได้เฉพาะส่วนแขนขา น่าจะเป็นท่า OP ถ้าคล าหลังได้บริเวณด้านข้างของหน้าท้อง และคลำได้ส่วนของแขนขาเกือบ ทั่วหน้าท้อง น่าจะเป็น ROP , LOP ถ้าคลำหลังได้บริเวณกึ่งกลางระหว่างด้านข้างกับเส้นกลางลำตัว และคลำได้อีกด้านหนึ่งของหน้าท้อง น่าจะเป็นท่าท้ายทอยอยู่ข้าง ROT , LOT
-
- ในรายที่ท่าท้ายทอยเฉียงหลัง ROP , LOP จะฟังเสียงหัวใจทารกได้ต่ำกว่าระดับสะดือและค่อนไปทางสีข้างของผู้คลอด
- ในรายที่ท่าท้ายทอยเฉียงหลัง OP จะฟังเสียงหัวใจทารกได้ยินใกล้เส้นกลางลำตัวผู้คลอด แต่เสียงที่ได้ยินจะเบากว่าเมื่อเทียบกับทารกที่ท้ายทอยอยู่ด้านหน้า
3.ในรายที่ท่าท้ายทอยอยู่ข้างROT, LOT จะฟังได้ยินบริเวณกึ่งกลางระหว่างเส้นกลางลำตัวกับสีข้างของผู้คลอด
-
LOP คลำรอยต่อแสกกลางได้แนวเฉียงซ้าย คลำขม่อมไม่ได้ สังเกตลักษณะหน้าท้องพบรอยบุ๋ม บริเวณต่ำกว่าสะดือ และมีรอยนูนเหนือหัวเหน่า
-
-
OP หรือ OPP คลำรอยต่อแสกกลางได้แนวตรง (A-P diameter) คลำขม่อมหน้าอยู่ด้านหน้าช่องเชิงกราน หรือ คลำพบ occiput อยู่ด้านหลังของช่องเชิงกราน
ผลต่อผู้คลอดและทารก
- ผู้คลอดมีอาการปวดบริเวณหลังและเอวมาก เนื่องจากท้ายทอยกดทับเส้นประสาทไขสันหลังส่วนซาครัม อาการปวดนี้เกิดขึ้นได้แม้ในขณะมดลูกคลายตัว
- ผู้คลอดมีลมเบ่งเกิดขึ้นในระยะที่ปากมดลูกเปิดน้อย เนื่องจากท้ายทอยอยู่ด้านหลัง จึงกระตุ้นสเตรท รีเซฟเตอร์ได้มาก
- ผนังช่องคลอดด้านหลังและฝีเย็บมีการยืดขยาย และฉีกขาดมาก
- ปากมดลูกบวมช้าและอาจฉีกขาดได้ เกิดจากศีรษะทารกมากดอยู่นาน และผู้คลอดเริ่มเบ่งตั้งแต่ปากมดลูก ยังเปิดไม่หมด
- ผู้คลอดเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดยาวนาน
- ทารกอาจเกิดภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนาน และอาจได้รับอันตรายจากการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ
- หนังศีรษะทารกเกิดก้อนโน (caput succedaneum) กระดูกกะโหลกศีรษะมีการเกยกันมาก และอาจเป็น สาเหตุทำให้มีเลือดออกในสมองได้
- ทารกมีขม่อมหน้า หน้าผากและใบหน้าเป็นส่วนนำ
ทรงของทารกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ทรงก้ม (flexion attitude) และทรงเงย (deflexion attitude) ในการคลอดปกติทารกต้องอยู่ในทรงก้มเต็มที่ มียอดศีรษะเป็นส่วนนำ (vertex) และใช้ส่วนที่เล็กที่สุดของศีรษะเป็นส่วนเคลื่อนผ่านช่องเชิงกรานออกมา คือส่วนที่ SOB (suboccipito bregma)
สาเหตุ
- เชิงกรานแคบ และ/หรือ ศีรษะทารกโต เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
- ทารกมีรูปร่างลักษณะผิดปกติ เช่น ทารกไร้สมอง (anencephalus) ทารกเป็นโรคคอพอกแต่กำเนิด คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอผิดปกติแต่กำเนิด มีสายสะดือพันคอไว้
- ผนังหน้าท้องหย่อนมาก ทำให้ลำตัวทารกตกลงไป
ทางด้านหน้า ลำคอเหยียดตรงขึ้น
- ครรภ์แฝดน้ำทำให้ศีรษะทารกเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
หรืออาจเกิดขึ้นในขณะที่ถุงน้ำทูนหัวแตก
- มีก้อนในเชิงกรานขัดขวางการลงของท้ายทอย
การวินิจฉัย
การตรวจทางช่องคลอด ถ้าคลำพบคางและปากและกระบอกตา ก็วินิจฉัยได้แน่นอน แต่ถ้าคลำพบปากอาจจะสงสัยว่าเป็นทวารหนักก็ได้ ข้อแตกต่างก็คือ ปากจะอ้าออกได้ ถ้าเป็นรูทวารหนักจะสอดนิ้วเข้าไปไม่ได้ ถ้าเป็นปากสอดนิ้วเข้าไปได้ง่ายและคลำได้เหงือก ส่วนทวารหนักจะรัดนิ้วมือแน่นและมีขี้เทาปนออกมา
การตรวจทางช่องคลอด คลำไม่พบส่วนแข็งของกระหม่อม และไม่พบร่องรอยของกระหม่อมหน้าหรือหลัง ให้สงสัยไว้ก่อนว่า เป็นท่าหน้า
-
ผลต่อผู้คลอดและทารก
- อาจเกิดมดลูกแตกจากการคลอดติดขัด
ในท่าคางคงอยู่หลังหรือหน้าผากเป็นส่วนนำ
-
- ทารกที่มีใบหน้าเป็นส่วนนำ บริเวณหน้าจะบวมผิดรูปร่าง ริมฝีปากและลิ้มบวมเขียว แก้มพอง อาจมีอาการหายใจลำบากและไม่ค่อยดูดนมในระยะ 2-3วันแรก บางรายอาจมีเลือดออกในสมองร่วมด้วย
- ทารกในครรภ์มักเกิดภาวะขาดออกซิเจน
- ถุงน้ำทูนหัวแตกก่อนกำหนดหรือในระยะแรก ๆ ของการเจ็บครรภ์
-
-
- ทารกแนวขวาง (transverse lie)
ความหมาย
ทารกที่มีลำตัวอยู่ขวางหรือทำมุมกับแนวของช่องคลอดและโพรงมดลูก บางรายลำตัวทารกอาจอยู่แนวเฉียงของมดลูก (oblique lie) มีส่วนนำเป็นไปได้หลายแบบ ที่พบมากที่สุดคือ ไหล่เป็นส่วนนำ (shoulder presentation) รองลงไปคือ ลำตัวเป็นส่วนนำ (trunk presentation) ถ้าถุงน้ำแตก แขนอาจพลัดต่ำลงมา เรียกว่าแขนเป็นส่วนนำ (arm presentation) ส่วนของทารกที่ใช้เรียกท่าของทารกแนวขวาง คือ กระดูกสะบัก (scapula) ซึ่งมีชื่อย่อว่า Sc ปุ่มกระดูกหัวไหล่ (acromion) Ac
สาเหตุ
- มีปัจจัยที่ทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวได้สะดวก เช่น ผนังหน้าท้องหย่อนในผู้คลอดครรภ์หลัง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์แฝดน้ำ
- มีปัจจัยที่ทำให้ทารกเข้าช่องเชิงกรานไม่ได้ เช่น มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน มดลูกผิดปกติ (เช่น มีเยื่อกั้นกลาง มดลูกเอียง) รกเกาะต่ำ เชิงกรานแคบ ทารกหัวบาตร สายสะดือสั้นกว่าปกติ
-
-
-
-
เอกสารอ้างอิง
เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. (2557). “ภาวะติดไหล่” ใน เฟื่องลดา ทองประเสริฐ (บรรณาธิการ). ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชกรรม Obstetric & Gynaecologic Emergencies (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์.
ศิริกนก กลั่นขจร. (2558). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะคลอดไหล่ยาก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 7(2), 1-11.
ศิริวรรณ แสงอินทร์. (2557). การพยาบาลมารดาที่มีการคลอดยากและการช่วยคลอด (บรรณาธิการ). ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.