Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หมากล้อม - Coggle Diagram
หมากล้อม
การเล่น
การผลัดกันเล่น
กติกา: ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จะต้องผลัดกันวางหมาก โดยฝ่ายดำเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ในตอนเริ่มต้น กระดานจะเป็นกระดานว่างเปล่า ผู้เล่นฝ่ายดำจะเป็นผู้วางหมากคนแรก หลังจากนั้นผู้เล่นฝ่ายขาวก็จะวางหมาก สลับกันไปเรื่อยๆ
-
-
ห้ามฆ่าตัวตาย
กติกา: ห้ามวางหมากบนตำแหน่งที่ทำให้หมากที่วางลงไปไม่มีลมหายใจ (หรือกลุ่มหมากไม่มีลมหายใจ) ยกเว้นว่าเป็นการจับกินกลุ่มหมากของคู่ต่อสู้
-
-
-
ประวัติความเป็นมา
ชื่อทางการของหมากล้อมที่เรียกกันทั่วโลกคือ ”โกะ” (Go) ในประเทศจีนเรียกว่า “เหวยฉี” (wéiqí 围棋) ประเทศญี่ปุ่นเรียก “อิโกะ” (Igo 囲碁) ประเทศเกาหลีเรียก “บาดุก” (Baduk 바둑) ในประเทศไทยนั้นเรียก ”หมากล้อม” โดยแปลจากคำว่า ”เหวยฉี” ของจีน “เหวย” ที่แปลว่า การล้อม ปิดกั้น “ฉี”ที่เป็นความหมายของหมากกระดานของจีนเช่น หมากรุกจีนเรียกว่า "เซียงฉี"
หมากล้อมไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด เป็นเกมหมากกระดานที่มีประวัติอันยาวนานไม่น้อยกว่า 3,000 ปี ถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีน แต่ก็มีคำกล่าวว่าอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในทิเบต เป็นภูมิปัญญาตะวันออกที่แสดงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า จัดเป็น 1 ใน 4 สุดยอดของศิลปะประจำชาติจีนได้แก่ ดนตรี หมากล้อม ลายสือศิลป์ และภาพวาด
การนับคะแนน
การนับคะแนนแบบจีน
เป็นการนับคะแนนโดยนับทั้งเม็ดหมากของดำบนกระดานและพื้นที่ของดำรวมเป็นคะแนนทั้งหมดของฝ่ายดำ และ นับเม็ดหมากของขาวบนกระดานและพื้นที่ของขาวรวมเป็นคะแนนทั้งหมดของฝ่ายขาว ซึ่งโดยปกติแล้ว การนับจะนับเพียงแค่สีใดสีหนึ่งแล้วเอาไปหักลบจาก 361 จะได้คะแนนของอีกฝ่าย เช่น นับสีดำทั้งเม็ดหมากและพื้นที่ได้ 182 แล้วเอาไปหักลบจาก 361 ก็จะได้เป็นคะแนนของสีขาวก็คือ 179 เมื่อรู้ผลคะแนนของทั้งสองฝ่ายแล้ว ค่อยเอาแต้มต่อเข้าไปบวกให้กับขาวตามกฎกติกาการแข่งขันนั้น ๆ
การนับคะแนนแบบญี่ปุ่น
แนวคิดการนับแบบญี่ปุ่นก็คือ จะทำให้เม็ดหมากบนกระดานของทั้งสองฝ่ายเท่ากัน โดยสมมติฐานที่ว่า เมื่อต่างฝ่ายต่างเดินคนละเม็ดและไม่มีการจับกินกันเกิดขึ้น เม็ดที่อยู่บนกระดานก็ต้องเท่ากัน ดังนั้น เมื่อมีการจับกินกันเกิดขึ้น ก็จะเก็บเม็ดหมากที่จับกินเอาไว้ เพื่อไปถมที่ฝ่ายที่ถูกจับกินในภายหลัง เพื่อให้เม็ดหมากบนกระดานเท่ากัน แล้วค่อยนับพื้นที่ว่างของทั้งสองฝ่าย (โดยไม่นับเม็ดหมากของทั้งสองฝ่าย) เพื่อเปรียบเทียบกัน เมื่อรู้ผลคะแนนของทั้งสองฝ่ายแล้ว ค่อยเอาแต้มต่อเข้าไปบวกให้กับขาวตามกฎกติกาการแข่งขันนั้น ๆ