Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาและเห็นคุณค่าแห่งตน - Coggle Diagram
การพัฒนาและเห็นคุณค่าแห่งตน
1.ความหมายการพัฒนาตน
การพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้นทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมเพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคมเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นสนองความต้องการและแรงจูงใจหรือเป้าหมายที่ตนตลอดจนเพื่อดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตน
1)มนุษยืทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัว ทำให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในทุกเรื่อง
2)ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดๆอีก
3)แม้บุคคลจะเป็นที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองให้ในบางเรื่อง จึงต้องอาศัยความช่วยเหลื่อจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำ
4) อุปสรรค์สำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิด ยึดติดไท่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำ จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อตนเอง
5) การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเอง
ความสำคัญของการพัฒนา
2.1 ความสำคัญต่อตนเอง
2.1.1 เป็นการเตรียมต้นให้พร้อมในด้านต่างๆเพื่อปรับกับสภาพการทั้งหลาย
2.1.2 เป็นการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่องรและพัฒนาพฤติกรรมได้เหมาะสม
2.1.3 เป็นการวาง แผนแนวทางให้ตนเองสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้อย่างมั่นใจ
2.1.4 ส่งเสริมความรู้สึกในคุณค่าแห่งตนให้สูงขึ้นมีความมั่นใจในตนเองสามารถทำหน้าสที่ตามบทบาทของตนได้เต็มศักยภาพ
2.2 ความสำคัญต่อบุคคลอื่น
การพัฒนาในบุคคลหนึ่งย่อมส่งผลต่อบุคคลอื่นด้วย การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตนให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของผู้อื่น ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในที่ทำงาน เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชน ความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3 ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม
การที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้พัฒนา และปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบการทำงาน หรือเทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิควิธีหรือวิธีคิดและทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพของผลผลิต ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถแข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้
หลักการพัฒนาตน
3.1 หลักการพัฒนาตนเชิงการแพทย์
เน้นความสำคัญของการรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุลย์ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะร่างกายประกอบด้วยระบบอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำงานประสานกัน
3.2 หลักการพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา
3.2.1 หลักการจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าพฤติกรรมที่เป็นปัญหา หรือพฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการพัฒนา ล้วนเกิดจากการเรียนรู้ คือ เป็นผลของการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.2.2 หลักการจิตวิทยาปัญญานิยม
ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ สติปัญญา ลักษณะทางชีวภาพ และกระบวนการอื่น ๆ ภายในร่างกาย
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
ปัจจัยด้านพฤติกรรมได้แก่กระทำต่างๆปัจจัยทั้งสามนี้ทำหน้าที่กำหนดซึ่งกันและกัน
3.2.3 การพัฒนาตนเชิงพุทธศาสตร์
มีความสัมพันธ์อันกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตของบุคคลกับสภาพแวดล้อม และมุ่งการกระทำตนให้มีความสุขด้วยตนเอง รู้เท่าทันตนเอง เข้าใจตนเองมากกว่าการพึ่งพาอาศัยวัตถุ
เทคนิคการพัฒนาตน
4.1 การควบคุมตนเอง
การควบคุณตนเอง คือ การที่บุคคลเป็นผู้ดำเนินการในการพัฒนา หรือปรับปรุงพฤติกรรมด้วยตนเองทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการเลือกเป้าหมาย หรือวิธีการดำเนินการทั้งหมด เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น ถ้าบุคคลใดมีทักษะการควบคุมตนเองได้ดีสิ่งเร้าภายนอกจะมีอิทธิพลต่อบุคคลนั้นน้อยมาก และในทางกลับกันคนที่มีทักษะในการควบคุมตนเองอยู่ในระดับต่ำสิ่งเร้าภายนอกจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้นได้มาก
การควบคุมสิ่งเร้า
การเตือนตนเอง
การเสริมแรงและการลงโทษตัวเอง
การทำสัญญากับตนเอง
การเปลี่ยนการสนองตอบ
4.2 วิธีการปรับความคิดและความรู้สึก
เป็นกระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกโดยการเปลี่ยนความคิดการตีความการตั้งข้อสันนิษฐาน หรือการเปลี่ยนตัวแปรทางความรู้ ความเข้าใจเสีย ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ความรู้ความเข้าใจมีผลต่อพฤติกรรม
ความรู้ความเข้าใจสามารถสร้างให้มีหรือเปลี่ยนแปลงได้
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงให้ความรู้ความเข้าใจ
4.3วิธีเจริญสมาธิเบื้องต้น
การนั่งควรนั่ง หลับตาตามสบายบนพื้น บนเก้าอี้ ควรเป็นที่สะดวกไม่กระด้าง ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ ผู้หญิงนั่งพับเพียบตามถนัด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนหน้าตักนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมหายใจเดินสะดวกอย่าเกร็งตัว นั่งตามสบาย คลายความเคร่งเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจกำหนดสติไว้ให้มั่นค
การกำหนดลมหายใจ