Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย - Coggle Diagram
การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
การปฐมพยาบาล การให้ความช่วยเหลือต่อผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุให้พ้นจากอันตรายหรือลดอันตรายให้น้อยลง โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่ จะสามารถหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งต่อไปยังสถานพยาบาลต่อไป
วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามมา
ป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
เพื่อช่วยชีวิต และลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยให้น้อยลง
จัดเตรียมหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธี
วิธีการปฐมพยาบาลอย่างปลอดภัย
บาดแผล การช้ำ ฉีกขาดของผิวหนัง และ/หรือเนื้อเยื่อของร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ แทรกซ้อนขึ้นได้
หลักสำคัญของการปฐมพยาบาลบาดแผล
1.ถ้ามีเลือดไหล จะต้องห้ามเลือดโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นก่อนเสมอ
2.ถ้ามีอาการช็อกหรือเป็นลม ควรรักษาอาการช็อกหรือเป็นลมเสียก่อน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งสถานพยาบาลทันที
4.ขณะทำความสะอาด ควรตรวจบาดแผลด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร ความกว้าง ความลึก มีอะไรหักคาติดอยู่ที่แผลหรือไม่
5.รีบนำส่งสถานพยาบาลโดยด่วน
3.เมื่อเลือดหยุด ให้ทำความสะอาดบาดแผล โดยสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดแผลก็สามารถหาได้ง่ายๆ เช่น น้ำต้ม น้ำเกลือ น้ำยาด่างทับทิม แอลกอฮอล์ เป็นต้น จากนั้นใช้ผ้าก๊อซหรือสำลีที่สะอาดปิดแล้วพันผ้าไว้ ถ้าบริเวณรอบๆ บาดแผลยังสกปรกอยู่ให้ล้างแผลด้วยสบู่ก่อน
6.บันทึกเหตุการณ์ และเรื่องราว ตลอดจนการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นข้อมูลให้กับแพทย์ในการรักษาต่อไป
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายโดยใช้ผู้ช่วยเหลือ 2 คน
วิธีอุ้มเคียง ผู้ช่วยเหลือต้องยืนด้านเดียวกัน โดยให้คนใดคนหนึ่งอุ้มบริเวณศีรษะและไหล่ ส่วนอีกคนอุ้มสะโพกและขา แล้วออกเดินพร้อมๆ กัน
วิธีพยุง วิธีนี้จะต้องให้แขนทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย พาดที่ไหล่ของผู้ช่วยเหลือทั้งสอง แล้วจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้พยุงผู้ป่วยไว้
วิธีอุ้มแบบนั่งสองมือ ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน โดยให้ผู้ป่วย อยู่ตรงกลาง ผู้ช่วยเหลือใช้มือประสานกันแล้วยกผู้ป่วยยืนขึ้นพร้อมๆ กัน แล้วจึง พาเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย
วิธีอุ้มแบบใช้ 2 คนหาม ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บไม่รุนแรงและผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้ โดยให้ผู้ช่วยเหลือทั้งสองลุกขึ้นและเดินพร้อมๆ กัน วิธีนี้ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยว่ากระดูกสันหลังหัก
วิธีอุ้มแบบประสานแคร่ จะใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ยังมีสติ ให้ผู้ช่วยเหลือ 2 คน ใช้มือสอดประสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม คุกเข่าลง •ให้ผู้ป่วยนั่งลงบนมือของผู้ช่วยเหลือ โดยผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างกอดคอผู้ช่วยเหลือ ทั้งสองไว้ จากนั้นผู้ช่วยเหลือทั้งสองลุกขึ้นพร้อมๆ กันและพาเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว
วิธีพยุงเดิน ใช้กับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
•ให้ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน แล้วจับแขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดไว้ที่คอ มือผู้ช่วยเหลือข้างหนึ่งอ้อมไปข้างหลังรัดบั้นเอวของผู้ป่วยไว้ และพาเดินไปทิศทางเดียวกัน
วิธีอุ้มกอดด้านหน้า เหมาะสำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีรูปร่างเล็กกว่า มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
•ให้ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างหนึ่ง ใช้มือทั้งสองข้างช้อนตัวผู้ป่วยบริเวณหลังและเข่า แล้วยกผู้ป่วยขึ้นโดยใช้กำลังขาถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ใช้แขนด้านในคล้องคอผู้ช่วยเหลือไว้
วิธีอุ้มทาบและกอดหลัง ใช้ในกรณีที่คนเจ็บ เดินไม่ได้ ข้อเท้าแพลงหรือข้อเท้าเคล็ด
•ให้ผู้ป่วยยืนทาบทางด้านหลังและกอดคอผู้ช่วยเหลือ โดยผู้ช่วยเหลือย่อเข่าลงพร้อมทั้งสอดมือไว้ใต้เข่าของผู้ป่วยทั้งสองข้าง จากนั้นยึดฝ่ามือทั้งสองข้างของผู้ป่วยไว้
วิธีอุ้มแบก ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือรู้สึกตัวก็ได้ แต่ไม่ใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังหัก ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
•ก่อนการเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือต้องตรวจดูร่างกายผู้ป่วยและจัดให้อยู่ในท่านอนคว่ำ
•ผู้ช่วยเหลือยืนคร่อมลำตัวผู้ป่วย เอามือดึงไหล่ผู้ป่วยขึ้นมา
•สอดแขนและมือใต้รักแร้ของผู้ป่วย แล้วประสานมือยึดกันไว้
•ดึงตัวผู้ป่วยจากท่าคุกเข่าให้ยืนขึ้น มือข้างหนึ่งจับข้อมือผู้ป่วยไว้ อีกข้างโอบเข้าที่เอว
•ย่อตัวลงเพื่อให้ผู้ป่วยพาดอยู่ที่บ่าใช้มือที่โอบเอวรวบเข่าทั้งสองข้างของผู้ป่วยไว้
•ผู้ช่วยเหลือยืนขึ้น ใช้มือข้างหนึ่งจับขาบริเวณข้อพับ ส่วนมืออีกข้างยึดมือผู้ป่วยไว้
•ใช้มือข้างที่จับขาผู้ป่วยจับยึดข้อมือของผู้ป่วยไว้ แล้วจึงพาเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้ายโดยใช้ผู้ช่วยเหลือ 3 คน
ผู้ช่วยเหลือ 3 คนยืนเรียงกันข้างตัวผู้ป่วย หันหน้าเข้าหาผู้ป่วย จากนั้นคุกเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งควรเป็นเข่าข้างเดียวกัน โดยผู้ช่วยเหลือคนแรกใช้แขนข้างหนึ่งสอดใต้ศีรษะ ตรงบริเวณคอ และไหล่ของผู้ป่วย มืออีกข้างสอดเข้าที่หลัง ส่วนคนที่สองสอดแขนข้างหนึ่งที่บริเวณเอวและสะโพก อีกข้างสอดเข้าที่ขาท่อนบน และคนที่สามสอดแขนข้างหนึ่งใต้เข่า อีกข้างสอดที่ข้อเท้า
ให้สัญญาณยกผู้ป่วยพร้อมๆ กันโดยยังอยู่ในท่าคุกเข่า
ให้สัญญาณยืนขึ้นพร้อมๆ กันแล้วทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังจุดหมาย
การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลหาม
กางผ้าห่มออก วางไม้ยาวที่แข็งแรง
บนผ้า ประมาณสองในสามของผ้าแล้วพับชายผ้าตลบขึ้นไป
วางไม้ยาวบนเก้าอี้อีกด้านหนึ่ง ใต้ผ้าที่ ตลบขึ้นไป
ตลบผ้าด้านซ้ายให้เลยทับไม้ด้านขวามือ