Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างคํา, กล้วยไม้ ยางลบ ลูกสูบ ข้าวแช่, ไทย + เขมร = ของขลัง นายตรวจ…
การสร้างคํา
คํา
คือเสียงที่เปล่งออกมามีความหมาย จะมีกี่พยางค์ก็ได้
คํามูล
คือ คําพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคําที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคําไทยดั้งเดิม
หรือเป็นคําที่มาจากภาษาอื่นก็ได้และจะเป็นคํา " พยางค์ " เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
คํามูลพยางค์เดียว
เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คําไทยแท้ )
ฟรี,ไมถ์,ธรรม ( คําที่มาจากภาษาอื่น )
คํามูลหลายพยางค์ คือ คํามูลที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย
จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ " จิ้ง " และ " หรีด " ต่างก็ไม่มีความหมาย
ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคํานั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย
นารี จะเห็นว่าพยางค์ " นา " มีความหมายเกี่ยวกับที่นา ที่ชาวนาทํานากัน แต่สําหรับ " รี " ก็มีความหมาย
ไปในทางที่มีรูปร่างไม่กลม ไม่ยาว เรียกว่า รูปวงรีแต่เมื่อรวม " นา " กับ " รี " เข้าด้วยกัน คือ นารี แล้วจะแปลว่าผู้หญิงซึ่งความหมายของ นารีไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของพยางค์ " นา "และ " รี " เลย
ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์
กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ " ยา " มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
คำประสม
คือ การประสมคําเป็นการสร้างคําโดยนําคํามูลตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมาเรียงต่อกัน ทําให้เกิดเป็นคําที่มีความหมาย
ใหม่ โดยอาจมีเค้าความหมายเดิมหรือความหมายเปลี่ยนไปก็ได้
วิธีการประสมคํา
คําประสมที่เกิดจากคําไทยประสมคําไทย
คําประสมที่เกิดจากคําไทยประสมกับคํายืมจากต่างประเทศ
คําประสมที่เกิดจากคํายืมภาษาต่างประเทศมาประสมกัน
ความหมายของคําประสม
ความหมายใหม่ แต่ยังคงมีเค้าความหมายเดิม
ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคําประสม
คําประสมมักจะทําหน้าที่เป็นคํานาม คํากริยา และคําวิเศษณ์
คําประสมจํานวนมากมีคําแรกซ้ำกันถือเป็นคําสั่ง คําตั้งเหล่านี้มีคําต่าง ๆ มาช่วยเสริมความหมาย
คําประสมที่เป็นคํานาม คํากริยา คําวิเศษณ์ไม่จําเป็นว่าคําแรกจะต้องเป็น
คํานาม คํากริยา และวิเศษณ์เสมอไป
คําประสมจํานวนมากมักมีความหมายในเชิงอุปมา
คําประสมบางคําเป็นได้ทั้งคําและกลุ่มคํา ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม
คําซ้อน
หมายถึง คําที่เกิดจากการสร้างคําโดยนําคําที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน ตรงข้าม
กัน หรือมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันในทางใดทางหนึ่งมาเขียนซ่อนกัน ซึ่งอาจทําให้เกิดความหมายเฉพาะหรือ ความหมายใหม่ขึ้นมา
ซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนําคําที่มีเสียงคล้ายกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น คําที่นํามาซ้อนนั้น
อาจมีความหมายเพียงคําเดียว หรือไม่มีความหมายทั้งสองคําก็ได้
นําคําที่มีเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน แต่มีเสียงสระเดียวกันมาซ้อนกัน
นําคําที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน เสียงสระเดียวกัน แต่เสียงตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน
นําคําที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน แต่เสียงสระต่างกันมาซ้อนกัน
นําคําที่ไม่มีความหมายมาซ้อนกับคําที่มีความหมาย เพื่อให้สะดวกในการออกเสียง มักใช้ในภาษาพูดเท่านั้น
เพิ่มพยางค์ลงในคําซ้อนเพื่อให้มีเสียงสมดุล พยางค์ที่แทรกมักเป็น "กระ"
นําคําซ้อน ๔-๖ พยางค์ที่มีเสียงสัมผัสภายในคํามาซ้อนกัน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคําซ้อน เป็นคําซ้อนที่ซ้อนเพื่อความหมายและซ้อนเพื่อเสียง
ความหมายของคําซ้อน
ความหมายคงเดิม คําซ้อนบางคํามีความหมายคงตามความหมายของคําที่นํามาซ้อน
ความหมายใหม่ คําซ้อนที่มีความหมายใหม่มีหลายลักษณะความหมายกว้างขึ้น คือ มีความหมายรวมไปถึงอย่างอื่นที่มีลักษณะร่วมกันหรือจําพวกเดียวกัน
ความหมายเชิงอุปมา คือ มีความหมายเปลี่ยนไป เกิดเป็นคําที่มีความหมายใหม่ในเชิงอุปมา
ความสัมพันธ์ของเสียงสระ คําที่ซ้อนเพื่อเสียงจะมีความสัมพันธ์ระหว่างสระหลังกับสระ หน้า หรือสระอื่น ๆ กับสระอะ สระอา หรือสระเดียวกัน
สระหลังกับสระหน้า
ดุกดิก จุกจิก อู้อี้
สระเดียวกัน
จํานวนคําที่นํามาซ้อน คําที่นํามาซ้อนอาจมีจํานวน ๒ คํา ๔ คํา หรือ ๖ คํา คําซ้อนเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คําคู่
ตําแหน่งและความหมาย คําซ้อนบางคํา ถ้าเปลี่ยนตําแหน่งของคํา ความหมายจะ
เปลี่ยนไปจากเดิมและใช้ต่างกัน แต่บางคํามีความหมายคงเดิม
คําที่นํามาซ้อน เป็นคําไทยซ้อนกับคําไทย คําไทยซ้อนกับคําต่างประเทศ หรือคําต่างประเทศซ้อนกับคําต่างประเทศก็ได
ซ้อนเพื่อความหมาย เป๊นการนําคําที่มีความหมายสมบูรณ์มาซ้อนกันตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไป
คําที่มีความหมายเป็นพวกเดียวกัน
คําที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน
ลูก + หลาน ลูกหลาน
เหงือก + ฟัน เหงือกฟัน
คําที่มีความหมายเหมือนกัน
คําที่มีความหมายตรงข้ามกัน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคําซ้ำ
การสร้างคําซ้ําและการใช้คําซ้ําให้ถูกต้องนั้น ผู้ใช้ควรคํานึงถึงลักษณะของคําซ้ํา
คําซ้ำคําเดียว อยู่ในบริบทต่างกัน ความหมายอาจต่างกัน
คําซ้ําที่เป็นคําสรรพนามและวิเศษณ์ เช่น ใคร อะไร ไหน เป็นต้น จะมีใจความที่ไม่เจาะจง และจะใช้ ก็ ประกอบข้อความด้วยเสมอ
คําบางคําสามารถใช้ได้ทั้งรูปคําโดด และคําซ้ํา แต่ถ้าเป็นคําซ้ําที่ใช้ในบริบทเดียวกันจะให้ภาพพจน์ได้ดีกว่า
การอ่านคําซ้ำหรือข้อความที่มีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ประกอบ ต้องพิจารณาว่าจะอ่านซ้ําคําหรือกลุ่มคํา
พยางค์
คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ พยางค์ประกอบด้วย เสียง
พยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอาจมีเสียงตัวสะกดด้วย
กล้วยไม้ ยางลบ ลูกสูบ ข้าวแช่
ไทย + เขมร = ของขลัง นายตรวจ ของโปรด
ไทย + จีน = กินโต๊ะ นายห้าง ตีตั๋ว ห บะหมี่แห้ง
ไทย + อังกฤษ = เรียงเบอร์ แทงก์น้ำ น้ำก๊อก
ไทย + บาลีสันสกฤต = ผลไม้ ตักบาตร
คําประสมที่เกิดจากภาษา บาลี + อังกฤษ รถเมล์ รถทัวร์ รถบัส
คําประสมที่เกิดจากภาษา อังกฤษ + อังกฤษ แท็กซี่มิเตอร์เครดิตการ์ด การ์ดโฟน
คําประสมที่เกิดจากภาษา บาลี + บาลี ผลผลิต กลยุทธ์ วัตถุโบราณ
เตา + แก๊ส = เตาแก๊ส หมายถึง เตาหุงต้มที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง
เตา + ผิง = เตาที่ทําด้วยอิฐสําหรับก่อไฟผิงในหน้าหนาว
รถ + ไฟ = รถที่ใช้ไฟเป็นพลังงานขับเคลื่อน
น้ํา + แข็ง = น้ําที่แข็งเป็นก้อนด้วยกรรมวิธีอย่างหนึ่ง
ขาย + หน้า = ขายหน้า หมายถึง รู้สึกอับอาย
แข็ง + ข้อ = แข็งข้อ หมายถึง คิดและกระทําการต่อต้าน
นาย + ท่า = นายท่า หมายถึง ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือ ท่ารถ
ปาก + มาก = ปากมาก หมายถึง ชอบว่าคนอื่นซ้ำ ๆ ซาก ๆ หรือพูดมาก
คํานาม
แม่ แม่ครัว แม่มด แม่น้ำ แม่สื่อ แม่นม
คํากริยา
ติด ติดดิน ติดตัว ติดตา ติดใจ
คําวิเศษณ์
ใจ ใจจืด ใจหาย ใจดํา ใจลอย
คํานาม
คําแรกเป็นคํากริยา คําตามเป็นคํานาม รองเท้า บังตา ยกทรง
คําแรกเป็นคํากริยา คําตามเป็นคํากริยา ต้มยํา กันสาด ห่อหมก
อาหาร
ขนม ขนมหวาน ขนมถ้วยฟู ขนมครก ขนมไข่
กิจกรรม
ทํา ทําครัว ทําบุญ ทําการบ้าน ทําเวร ทํางาน
อุปนิสัยหรือลักษณะ
หัว หัวหมอ หัวขี้เลื่อย หัวขโมย หัวก้าวหน้า
หัวอ่อน หมายถึง ว่าง่าย สอนง่าย
ปากมาก หมายถึง ชอบว่าคนอื่นซ้้ำ ๆ ซาก ๆ
หน้าบาง หมายถึง มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย
กลุ่มคํา แสงอาทิตย์ส่องสว่างในตอนเช้า
คําประสม แสงอาทิตย์เป็นชื่อของงูที่มีอันตรายมาก
กลุ่มคํา ลูกเสือที่ตัวเล็กที่สุดในฝูงมักจะถูกรังแกมากที่สุด
คําประสม ลูกเสือทุกตัวจะต้องร่วมกิจกรรมรอบกองไฟ
กัก + ขัง กักขัง
ใหญ่ + โต ใหญ่โต
บ้าน + เรือน บ้านเรือน
แข้ง + ขา แข้งขา
ผิด + ชอบ ผิดชอบ
ได้ + เสีย ได้เสีย
เขาเปียกฝนนั่งสั่นงั่ก
เขาเปียกฝนนั่งสั่นงั่ก ๆ
ประโยค ๑ และ ๒ แม้จะมีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยค ๒ ให้ภาพพจน์ทําให้กระทบใจผู้รับสารได้ดีกว่า
ขณะที่ฟุตบอลกําลังสนุก สถานีโทรทัศน์กลับตัดเข้าโฆษณาเฉย ๆ (ตัดภาพเป็นโฆษณาทันที)
เขาปล่อยที่ไว้เฉย ๆ ไม่ปลูกอะไรเลย (ทิ้งไว้อย่างนั้น)
ใคร ๆ ก็ชอบฟังเพลง
ที่ไหน ๆ ก็ไม่สุขใจเท่าบ้านของเรา
วันไหน ๆ เราก็มีความสุขได้ (อ่านว่า วัน-ไหน-ไหน)
งุ่มง่าม โด่งดัง จริงจัง ซุบซิบ ตูมตาม
อัดอั้น ลักลั่น ออดอ้อน รวบรวม
แร้นแค้น รอมชอม อ้างว้าง ราบคาบ
กระดูกกระเดี้ยว อดเอิด ตาเตอ
ดุกดิก กระดุกกระดิก
จุ๋มจิ๋ม กระจุ๋มกระจิ๋ม
ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ถ้วยโถโอชาม ประเจิดประเจ้อ
คําซ้อนที่มาจาก ไทย + ไทย
ชุก + ชุม ชุกชุม
อ้วน + พี อ้วนพี
คําซ้อนที่มาจาก ไทย + ต่างประเทศ (ไทย + เขมร)
งาม + ลออ งามลออ
เงียบ + สงบ เงียบสงบ
คําซ้อนที่มาจาก ต่างประเทศ + ต่างประเทศ (บาลี + สันสกฤต)
อุดม + สมบูรณ์ อุดมสมบูรณ์
เหตุ + การณ์ เหตุการณ์
คําซ้อนที่มาจาก ต่างประเทศ + ต่างประเทศ (เขมร + บาลี)
รูป + ทรง รูปทรง
สุข + สงบ สุขสงบ
คําซ้อน ๒ คํา ยักษ์ มาร ข้าทาส ศีลธรรม ขับขี่
คําซ้อน ๔ คํา กู้หนี้ยืมสิน ชั่วดีถี่ห่าง เจ้าบุญนายคุณ
แก่ชรา ซากศพ พัดวีเสื่อสาด
ปากคอ หัวหู ท้องไส้
ถ้วยโถโอชาม หมายถึง ภาชนะใส่อาหารและสิ่งของอื่นๆ
ข้าเก่าเต่าเลี้ยง หมายถึง คนที่เคยรับใช้
อยู่กิน หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
เปิดเปิง (เฉพาะข้อนี้ไม่ค่อยมีปรากฏ จะมีมาระหว่างสระหลังกับสระหน้า)
ความหมายเปลี่ยนแปลง
เหยียดยาว ยืดตัวออกไปในท่านอน ใช้กับคนหรือสัตว์ เช่น น้องสาวนอนเหยียดยาวอยู่ใต้ต้นลีลาวดี
ความหมายคงเดิม
แจกจ่าย แบ่งปันให้ไปทั่ว ๆ เช่น สภากาชาดมาแจกจ่ายสิ่งของให้กับผู้ประสบอุทกภัย