Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL), 123178139_460838398217777…
Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL)
ความหมาย
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นโรคของระบบโลหิต ที่มีการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวมากผิดปกติ จำนวนเม็ดเลือดขาวจึงมีมาก และมีลักษณะเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนซึ่งยังยังเจริญไม่เต็มที่ทำให้การทำหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวเสียไป
สาเหตุ
สาเหตุของโรคไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยส่งเสริมคือ รังสี ยาหรือสารเคมีบางอย่าง กรรมพันธุ์และ
การติดเชื้อ ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโชม เช่น Down syndrome มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 20 เท่า
อาการและอาการแสดง
ซีด ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เลือดออกง่าย เม็ดเลือดขาวจะแทรกซึมไป ในเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้อวัยวะส่วนนั้นไม่ทำงาน เช่นตับโต ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต หากมีการ แพร่กระจายไปที่สมอง( Meningeal leukemia) เช่นอาเจียน ปวดศีรษะ ง่วงซึม เชลล์ที่ถูกทำลาย โดยใช้ยาเคมีบำบัดและการที่มีการเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดขาวทำให้เกิดการเพิ่มการเผาผลายของกรด นิวคลิอิค เป็นผลให้กรดยูริคในเลือดสูง อาจมีการอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดกระดูกและข้อร่วมด้วย
พยาธิสภาพ
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ในไขกระดูก เมื่อเม็ดลือดขาวซึ่งเป็นตัวอ่อน (Blast cell) เกิดขึ้นก็จะถูกส่งเข้ากระแสเลือด ไปสะสมในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆในร่างกาย ผลจากการสร้างเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ทำให้ไขกระดูกทำงานผิดปกติ คือมีการสร้างเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดลดลง รวมทั้งการสร้างเม็ดเลือดขาวที่ปกติก็ลดลง ทำให้มีภวะซีด เนื่องจากมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจมีเลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นมักจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อและมีเลือดออก นอกจากนี้ตรวจพบ ตับมามและต่อมน้ำเหลืองโต และพบว่ามีการเพิ่มของความดันในสมองเมื่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวกระจายไปยังระบบประสาทอัตโนมัติ
ชนิด
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟบลาสท์ติกชนิดเฉียบพลัน (Acute Lymphoblastic Leukemia: ALL) พบมากในเด็กประมาณร้อยละ 70-75 ไขกระดูกจะมีลิมโฟบลาสท์มากกว่าร้อยละ 5 หรือเมื่อรวมลิมโฟบลาสท์กับลิมโฟซัยต์แล้วมากกว่าร้อยล 40 โดยแบ่งรูปร่างตามลักษณะรูปร่างลิมโฟบลาสท์ออกไปอีก 3 ชนิด คือ
1.1 L1 เป็นลิมโฟบลาสท์ขนาดเล็ก มีไซโตพลาสซึมน้อย มีนิวเคลียสไม่ชัดเจนหรือไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสติดสีสม่ำเสมอ
1.2 L2 เป็นลิมโฟบลาสท์ขนาดใหญ่ต่างๆกัน มีไซโตพลาสซึมมาก ย้อมติดสีฟ้าอ่อน
1.3 L3 เป็นลิมโฟบลาสท์ขนาดใหญ่เท่าๆกัน มีนิวเคลียส จำนวน1-2 อันชัดเจนย้อมติดสีฟ้าเข้ม
การวินิจฉัยโรค
1.การตรวจเลือด พบเซลล์ตัวอ่อน lymphoblast มาก hemoglobinและ hematocrit ต่ำ องค์ประกอบการแข็งตัวของเลือดต่ำ serum transaminase และ lactic acid dehydrogenase สูงขึ้น มีการเพิ่มของ uric acid และ urea nitrogen
2.การตรวจไขกระดูก พบในไขกระดูกมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60-100 และเป็นเซลล์อ่อนของเม็ดเลือดขาว
3.จากอาการและอาการแสดง
การรักษา
1.การรักษาเฉพาะ ประกอบด้วยขั้นตอนการให้ยาเคมีบำบัด 4 ระยะคือ
1.1 การชักนำให้โรคสงบ (Induction of remission)โดยการให้ยาเคมีบำบัด 6-8 สัปดาห์ เช่น vincristine, prednisolone
1.2 Intensification เมื่อไขกระดูกกลับเป็นปกติให้ยาที่ไม่เคยได้รับมาก่อนโดยให้ ในช่วงสั้นๆ เช่น L-asperaginase และmethotrexate
1.3 การรักษาทางระบบประสาท( (NS prophylaxis โดยการให้รังสีรักษาที่ศีรษะร่วมกับการฉีด methotrexate 15 มก./ตรม. เข้าน้ำไขสันหลัง เพื่อการป้องกันและรักษาระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจากยาที่ให้ทางหลอดเลือดส่วนใหญ่จะไม่สามารถผ่านเข้าระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจากมี blood brain barrier อยู่
1.4 การทำให้โรคสงบอยู่ต่อไป (maintenance of remission) เป็นเวลา 3 ปี โดยการให้ยาชนิดรับประทานอย่างน้อย 2 ชนิดคือ 6 -mercaptopurine (6MP) และ methotrexate
การรักษาประคับประคอง (Supportive therapy) เป็นการักษาภาวะแทรกซ้อนและพิษจากยาในระหว่างการรักษา เช่นการให้เลือด ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค เมื่อมีอายุระหว่าง 1-6 ปี ระดับค่า hemoglobin ไม่ต่ำกว่า 10 กรัม/ดล.ระดับWBC เริ่มต้นต่ำกว่า 50,000 ไม่มี B or T cell Antigen ไม่มีพยาธิสภาพของโรคนอกไขกระดูกและไขสันหลัง และมีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดเร็ว
2.การปลูกถ่ายไขกระดูก
การคำนวณหาค่า ANC = (%neutrophils + %bands) x total WBC
/100