Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อ การย่อยสลายในสภาวะไม่ใช้อากาศ - Coggle…
สภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อ
การย่อยสลายในสภาวะไม่ใช้อากาศ
1) อุณหภูมิ
ก) ช่วงไซโครฟิลิค (Psychrophilic) เป็นช่วงอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
ข) ช่วงมีโซฟิลิค (Mesophilic) เป็นช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20 – 45 องศาเซลเซียส
ค) ช่วงเทอร์โมฟิลิค (Thermophilic) เป็นช่วงอุณหภูมิที่สูงกว่า 45 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ 2 ช่วงที่ทําให้เกิดก๊าซ มีเทนขึ้นในระบบได้ดี คือ ช่วง 30 – 38 องศาเซลเซียส และช่วง 48 – 57 องศาเซลเซียส
2) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 6.6-7.4 เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ แบคทีเรียกลุ่มผลิตก๊าซมีเทน
การป้อนสารอินทรีย์เข้าในปริมาณมากเกินไป ก็จะทําให้ แบคทีเรียกลุ่มผลิตกรด ผลิตกรดอินทรีย์ระเหยง่ายในปริมาณมาก จนแบคทีเรียกลุ่มผลิตก๊าซมีเทนไม่สามารถ ใช้ได้ทัน จึงเกิดการสะสมของกรดอินทรีย์ระเหยง่ายในระบบ ส่งผลทําให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของระบบลดลง
3) ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity: Alk)
ปริมาณบัพเฟอร์ (Buffering capacity) ของระบบ ซึ่งมี ความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรด-ด่าง
4) กรดอินทรีย์ระเหยง่าย
(Volatile fatty acids: VFA)
ปริมาณกรดอินทรีย์ระเหยง่ายมีความสําคัญในการตรวจสอบสถานะสมดุลของระบบบําบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ กรดอินทรีย์ระเหยง่าย ได้แก่ กรดอะซิติก กรดบิวทีริกและกรดโพรพิออนิก
ปริมาณกรดอินทรีย์ระเหยง่ายมีมากขึ้น เป็นสัญญาณเตือนถึงความล้มเหลวของระบบ
ถ้าค่าความเป็นกรด-ด่างมีค่าต่ำกว่า 6.5 จะเป็นอันตรายต่อแบคทีเรียกลุ่มผลิตก๊าซมีเทน
สัดส่วนระหว่างปริมาณกรดอินทรีย์ระเหยง่ายต่อค่าความเป็นด่างไม่ควรเกิน 0.3-0.4
ต้องการควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสมกับระบบ อาจจะใช้วิธีการ เติมสารเคมี เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) โซเดียม ไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2Co3) เป็นต้น ไม่ควรใช้ปูนขาว Ca(OH)2 เนื่องจากอาจจะทําให้เกิด การอุดตันในระบบได้
5) อัตราภาระการรับสารอินทรีย์
(Organic loading rate: OLR)
ปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการรักษาเสถียรภาพของระบบให้คงที่ การเปลี่ยนอัตราภาระการรับสารอินทรีย์
มี 2 วิธี
การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำเสียเข้าสู่ระบบบําบัด ซึ่งวิธีนี้จะมีผลต่อระยะเวลาการกักเก็บน้ำเสีย (Hydraulic retention time: HRT) ภายในระบบบําบัดด้วย
การเปลี่ยนค่าความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของน้ำเสีย ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างทําได้ยาก เนื่องจากน้ำทิ้งของโรงงานแต่ละประเภทมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน
6) สารพิษ
(Toxic substances)