Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย
การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลง
ยึดหลังความถูกต้องของท่ารำ ความอ่อนช้อย สวยงามตามแบบนาฏศิลป์
ท่ารำจะต้องสื่อความหมายชัดเจน
ตัดท่าย่อยๆ ออก แสดงเฉพาะท่ารำที่สำคัญของวรรคนั้นๆ ของเพลง
หลีกเลี่ยงท่ารำที่ซ้ำๆ และการสลับแถวซ้าย ขวาบ่อยๆ
รูปแบบวิธีการนำเสนอ ผู้สร้างสรรค์งานจะต้องวิเคราะห์เลือกรูปแบบการนำเสนอให้ได้ข้อสรุปว่างานที่ได้นั้นมีแนวคิดอย่างไร
แนวความคิดหลักหรือความคิดรวบยอด
องค์ประกอบของเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญเพราะผู้สร้างสรรค์จะต้องมาศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์ในด้านต่างๆ
กรอบความคิดในการออกแบบประดิษ์ท่ารำ
เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง
เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง
ภาคกลาง
เพลงประกอบการเต้นรำกำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น
ภาคใต้
การแสดงชุดรองเง็งบรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา
เพลงลานัง เป็นต้น
ภาคเหนือ
เพลงประกอบการฟ้อนเล็บได้แก่ เพลงแหย่งหลวง
:ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและสาวสมเด็จ
: ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊ และซอจ๊อยเชียงแสน บรเลง เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่ง
ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน
ภาคอีสาน
เพลงประกอบการแสดงเซิ้งโปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไทย บรรเลงลายลำภูไทย เป็นต้น
เพลงประกอบการแสดงนาฏ
เพลงหน้าพาทย์
เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และนำเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ เป็นต้น
เพลงขับร้องส่ง
เพลงไทยทีนำมาบรรจุไว้ในบทโขน–ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละครหรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ
หลักการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ :
ผู้สร้างสรรค์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของท่ารำพื้นฐาน
นำกิริยาท่าทางการแสดงอารมณ์ความรู้สึกตามธรรมชาติมนุษย์หรือสัตว์มาสร้างสรรค์เป็นท่ารำที่สวยงาม
สามารถปฏิบัติท่ารำพื้นฐานได้
องค์ประกอบการสดงนาฏศิลป์
การฟ้อนรำ
เเป็นการทำท่ารำประกอบกับลีลา ซึ่งมนุษย์เป็นผู้คิดประดิษฐ์ให้ถูกต้องตามแบบแผนบทบาท ลักษณะของตัวละคร และประเภทของการฟ้อนรำ
เนื้อร้อง
เป็นคำประพันธ์ที่ใช้ประกอบท่าร่ายรำ สามารถสื่อความหมาย อารมณ์ ความรู้สึก
ทำนองเเละจังหวะ
เป็นตัวกำหนดของลีลาท่ารำ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อร้องและท่ารำ
การแต่งกาย
มีส่วนสำคัญในการแสดงนาฏศิลป์ บ่งบอกถึงฐานะ ยศ และบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงโขนของไทย
อุปกรณ์การแสดง
การแสดงนาฏศิลป์ไทย อาจต้องมีอุปกรณ์การแสดง เช่น พัด เทียน ฉิ่ง ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิด นำมาเป็นอุปกรณ์การแสดง เช่น ระบำพัด ฟ้อนเทียน ระบำฉิ่ง เป็นต้น
การแต่งหน้า
เป็นส่วนสำคัญสำหรับผู้แสดง ทำให้เกิดความสวยงามอีกประการหนึ่งเพื่อปกปิดส่วนที่พร่องบนใบหน้าผู้แสดง
เครื่องดนตรี
นาฏศิลป์ต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ เพื่อส่งเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่นวงปีพาทย์เครื่องห้า ใช้สำหรับการแสดงโขน ละคร เป็นต้น