Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์, (นางสาวยุพาภรณ์ วังสะอาด) - Coggle Diagram
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
การตรวจโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆ ในการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ มีอยู่ 2 ชนิด ที่นิยมทำคือ NST และ CST
Non stress test (NST)
เป็นการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ที่มดลูกไม่มีการ
หดรัดตัวโดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง วิธีนี้อาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจดู fetal heart rate variability พิจารณาอยู่ 4 องค์ประกอบ
รูปแบบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ (Besline fetal heart rate pattern) อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ในช่วงแรกจะค่อนข้างเร็ว เป็นผลจากระบบประสาท mpathetic
FHR variability คือ การแปรปรวนของการเต้นของหัวใจถ้าเป็นความแปรปรวนระหว่างการเต้นแต่ละครั้งเรียกว่า beat to beat variability หรือ short term variability
Absent variability คือ ไม่มีความแปรปรวนของ FHR เมื่อมองด้วยตาเปล่า สัมพันธ์กับภาวะ asphyxia ของทารกในครรภ์สูง
Minimal variability คือ สังเกตเห็นความแปรปรวนของ FHR ได้ แต่มีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 bpm สัมพันธ์กับภาวะ acidosis ของทารกในครรภ์ แต่อาจไม่มี asphyxia ก็ได้
Moderate (normal) variability คือ ช่วงขนาดของความแปรปรวน อยู่ระหว่าง 6-25 bpm มักพบในทารกปกติ
Marked variability คือ ความแปรปรวนของ FHR มากกว่า 25 ppm สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ และยังเป็นการตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจน
FHR acceleration คือ การเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างฉับพลัน มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bprm และนานกว่า 15 วินาที แต่น้อยกว่า 2 นาที แต่ถ้านานกว่า 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาทีจัดเป็น prolonged acceleration แต่ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เกณฑ์การวินิจฉัยลดลงเป็นเพิ่มขึ้น 10 bpm นานกว่า 10 วินาที ถ้าเกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า deceleration
FHR acceleration คือ การเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างฉับพลัน มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bprm และนานกว่า 15 วินาที แต่น้อยกว่า 2 นาที แต่ถ้านานกว่า 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาทีจัดเป็น prolonged acceleration แต่ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เกณฑ์การวินิจฉัยลดลงเป็นเพิ่มขึ้น 10 bpm นานกว่า 10 วินาที ถ้าเกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า deceleration
การแปลผล
Reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาทีอย่างน้อย 2 ครั้ง
Non reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
Uninterpretable
คุณภาพของการทดสอบไม่สามารถแปลผลได้ ควรทำการทดสอบซ้ำภายใน 24-48 ชั่วโมง
Suspicious
มีการเพิ่มขึ้นของอัตราของหัวใจทารกน้อยกว่า 2 ครั้งหรืออัตราเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 15 ครั้งต่อนาทีและอยู่สั้นกว่า 15 วินาทีเมื่อมีทารกดิ้นกรณีที่แปลผลได้ลักษณะอย่างนี้จะทำการทดสอบภายใน 24-48 ชั่วโมง
การให้การพยาบาล
ผล reactive ทำนายได้ว่าทารกในครรภ์สุขภาพดี ให้ตรวจติดตามสุขภาพทารกตามความเสี่ยงเดิมอีก 1 สัปดาห์
ผล non reactive ให้ตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น Contraction stress test (CST) หรือ biophysical profile (BPP) หรือ Doppler ultrasound เป็นต้นร่วมกับการตรวจ ultrasound ประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ปริมาณน้ำคร่ำร่วมด้วย
Contraction stress test (CST)
วิธีการตรวจ
จัดท่า semi-Fowler หรือท่านอนตะแคงซ้าย จะดีกว่าท่านอนหงายซึ่งมักทำให้เกิด Supine hypotension มีผลต่อการแปลผล NST
วัดความดันโลหิต
ติดเครื่อง electronic fetal monitoring โดยติดหัวตรวจ tocodynamometer เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
บันทึกรูปแบบการเต้นของหัวใจระหว่างที่มีการหดรัดตัวของมดลูกซึ่งควรมี 3 ครั้งใน 10 นาที นานครั้งละ 40-60 วินาที
กระตุ้นด้วย Oxytocin โดยให้ทางหลอดเลือดดำเริ่มที่ 0.5 mU/เพิ่มได้ทีละ 2 เท่า ทุก 15-20 นาที จนกระทั่งมีการหดรัดตัวของมดลูก 3 ครั้งใน 10 นาทีแต่ละครั้งนาน 40-60 วินาที
การทำ nipple stimulation โดยใช้มือคลึงที่หัวนมทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่อง หรือคลึงไปมาที่หัวนมข้างเดียวนาน 2 นาที แล้วหยุด 5 นาที
late deceleration ของ FHR ทุกครั้งที่มีการหดรัดตัวของมดลูกถึงแม้จะยังไม่ถึง 20 นาที หรือไม่ถึงเกณฑ์การหดรัดตัวที่น่าพอใจก็ให้หยุดทดสอบได้
หลังหยุดสังเกตการหดรัดตัวของมดลูก จนหายไป
การแปลผล
ผล Negative หมายถึงไม่มี deceleration ในขณะทำการทดสอบโดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย 3 ครั้งใน 10 นาทีนานครั้งละอย่างน้อย 40-60 วินาที
ผล Positive หมายถึงมี Late deceleration มากกว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
ผล Equivocal
Suspicious หมาย ถึงมี Late deceleration น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบ
Hyperstimulation หมายถึง มี Late deceleration ขณะที่มีหรือตามหลังการหดรัดตัวของมดลูกที่นานกว่า 90 วินาที หรือบ่อยกว่าทุก 2 นาที แต่ถ้ามีการหดรัดตัวบ่อยโดยที่ไม่มี late deceleration ให้แปลผลเป็น negative
Unsatisfied หมายถึง ไม่สามารถอ่านผลของอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ หรือการหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที
ทำในรายที่เป็น non reactive จากการทำ NST โดยวิธีการทำต้องมีการหดรัดตัวของมดลูกร่วมด้วย ถ้าไม่มีต้องชักนำให้เกิด ซึ่งมีวิธีการชักนำอยู่ 2 วิธี คือการกระตุ้นด้วย Oxytocin หรือ nipple stimulation
ระยะคลอด
Tachysystole
ภาวะที่มีการหดรัดตัวของมดลูกมากกว่า 5 ครั้งใน 10 นาที โดยควรสังเกตในช่วงระยะเวลา 30 นาที และควรประเมินด้วยว่ามี FHR deceleration ร่วมด้วยหรือไม่ภาวะ tachysystole อาจเกิดในสตรีที่เจ็บครรภ์คลอดเองหรือในรายที่ได้รับยากระตุ้นการคลอดก็ได้สำหรับคำว่า“ hyperstimulation และ hypercontractility”
Category
ต้องมีองค์ประกอบ
ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
Baseline FHR 110-160 bpm
Baseline FHR variability: moderate
ต้องไม่มี late หรือ variable deceleration
Early deceleration: present or absent (อาจมีหรือไม่มีก็ได้)
Acceleration: present or absent (อาจมีหรือไม่มีก็ได้)
Category II
รวม FHR tracing
ที่ไม่จัดอยู่ใน Category II หรือ Category III
การแปลผลและแนวทาง
การดูแลรักษา
Category II: แปลผลว่า FHR tracing มีลักษณะ intermediate ไม่สามารถทำนายได้ว่าทารกมีภาวะกรดด่างที่ผิดปกติ การดูแลรักษา ทารกกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องได้รับการประเมิน (evaluation) การตรวจติดตามสุขภาพทารกต่อ และควรประเมินภายหลังได้รับการดูแล ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำ intrauterine resuscitation หรือทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าทารกยังมีสุขภาพดีอยู่
Category I: แปลผลว่า FHR tracing ปกติทำนายได้ว่าในช่วงขณะนั้นทารกในครรภ์มีภาวะกรดด่างปกติการดูแลรักษา ไม่จำเป็นต้องให้การดูแลรักษาเพิ่มเติมให้เฝ้าระวังต่อไป
Category III: แปลผลว่า FHR tracing ผิดปกติ ทำนายว่าในช่วงขณะนั้นทารกในครรภ์มีภาวะกรดด่างที่ผิดปกติการดูแลรักษา ทารกควรได้รับการประเมินโดยทันทีการดูแลแก้ไขขึ้นอยู่กับข้อมูลอื่น ๆ ทางคลินิกโดยอาจประกอบด้วยการให้ออกซิเจน การเปลี่ยนท่ามารดา หยุดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำของมารดาแก้ไขภาวะ tachysystole หากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาให้คลอดโดยด่วน
Category III
อาจมีลักษณะเหมือน
ข้อใดข้อหนึ่งต่อ
Absent baseline FHR variability
Recurrent variable deceleration
Bradycardia
Recurrent late deceleration
Sinusoidal pattern เส้นด้านบนจะเท่ากันทั้งหมด
นางสาวยุพาภรณ์ วังสะอาด
เลขที่ 61 ID 62115301065