Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด Amniotic fluid embolism, นางสาววรนัน โป้ทอง…
ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด
Amniotic fluid embolism
หมายถึง
ภาวะที่มีน้ำคร่ำพลัดเข้าไปในกระเเสเลือดทางมารดา ส่วนประกอบของน้ำคร่ำมีผลทําให้เกิดภาวะล้มเหลว ของการทํางานระบบไหลเวียนเลือด หัวใจและระบบหายใจ
พยาธิสภาพ
เกิดจากส่วนประกอบของน้ำคร่ำไปอุดตันหลอดเลือดดำเล็กๆในปอด
เมื่อน้ำคร่ำเข้าไปในหลอดเลือดดำของของมารดา เลือดที่มีน้ำคร่ำอยู่จะไหลเวียนกลับไปยังหัวใจเพื่อไปฟอกที่ปอด และเกิดการอุดตันในหลอดเลือดดำเล็กๆในปอด
ทำให้แลกเปลี่ยนก๊าซในปอดไม่ได้ ผู้คลอดจึงเกิดอาการกระสับกระส่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปลายมือปลายเท้าเขียว
เลือดไหลกลับมาหัวใจซีกซ้ายน้อยลง สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อย เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของมารดาต่อสารบางอย่างที่ผิดปกติในน้ำคร่ำ
ร่างกายเกิดปฏิกิริยาหลั่งสารทำลาย ได้แก่ histamine, bradykinin, prostaglandis
เลือดจากหัวใจล่างขวาไม่สามารถส่งเข้าปอดได้หรือส่งได้น้อย เกิดเส้นเลือดปอดหดตัวและความดันปอดสูงขึ้น เกิดความดันหัวใจด้านขวาสูงขึ้น เลือดไหลกลับหัวใจด้ายซ้ายน้อยลง เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อย เกิดภาวะ Hypoxia
ปัจจัยส่งเสริม
อายุ > 35 ปี
มีบุตรหลายคน
การหดรัดตัวของมดลูกผิดปกติ ส่วนมากจะหดรัดตัวถี่และรุนเเรง
ปากมดลูกเปิดหมด ยังไม่ได้เจาะถุงน้ำหรือถุงน้ำยังไม่แตก
รกลอกตัวก่อนกําหนด
มี Macronium ปน
เด็กตายในครรภ์
ให้ Oxytocin กระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอด
อาการและอาการแสดง
เหงื่อออกมาก(Diaphoresis)
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ(cadiovascula collapse)
คลื่นไส้ วิตกกังวลและพักได้น้อย
ความดันเลือดต่ำลงมาก (hypotension)
หายใจลําบาก (dyspnea) เกิดการหายใจ ล้มเหลวทันทีทันใดและมีการเขียวตามใบหน้าและตามตัว (cyanosis)
ชัก
มีอาการหนาวสัน(Chill)
หมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด(pulmonary edema)
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชัวโมง ผู้ปวยยังมี ชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดสูญเสียไปและเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรงตามมา
การป้องกัน
ไม่ควรเจาะถุงน้ำคร่ำก่อนปากมดลูกเปิดหมดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากเส้นเลือดฉีกขาดจากการเจาะถุงน้ำ
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ (Stripping membranes) จากคอมดลูก เพราะจะทำให้เลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาด
การกระตุ้นการเจ็บครรภ์ ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้ Oxytocin drip ควรทำอย่างระมัดระวัง ดูอาการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด
การเจาะถุงน้ำคร่ำควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ถูกปากมดลูก เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดที่ปากมดลูกฉีกขาดและจะทำให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือด
ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์ที่มากจนนอนพักไม่ได้ ควรรายงานแพทย์
ขณะเจ็บครรภ์คลอด ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป ควรจะหดรัดตัวแต่ละครั้งนานไม่เกิน 60 วินาที ระยะห่างประมาณ 2-3 นาที
การวินิจฉัยโรค
เส้นเลือดที่หัวใจหดเกร็ง
เลือดออก
อาการเขียว
ไม่รู้สติ
ระบบหายใจล้มเหลว
การวินิจฉัยแยกโรค
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ความดันต่ำเนื่่องจากนอนหงานนานๆ (supine hypotensive syndrome)
ชักจากครรภ์เป็นพิษ
หลอดเลือดอุดตันด้วยไขมันหรือฟองอากาศ
มดลูกแตก
หัวใจขาดเลือดและหัวใจล้มเหลวจากการคั่งของน้ำ
มดลูกปลิ้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
เลือดไปเลี้ยงหัวใจซีกซ้ายลดลงเกิดภาวะช็อกจากหัวใจ
ความดันในหลอดเลือดของปอดสูงขึ้น มีเลือดคั่งในปอด เกิดภาวะบวมน้ำที่ปอด
เกิดภาวะอนาไฟแลคตอย รีแอคชั่น ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดในปอด
เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเลือด ผู้ป่วยจะมีภาวะเขียวทั่วร่างกาย
เกิดการอุดตันของหลอดเลือดดำเล็กๆ ในปอด
มีภาวะผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดตามมา เกิดการตกเลือดอย่างรุนแรงตามมา
การรักษา
หลอดเลือดแดงฝอยของปอดหดเกร็ง ระบบหายใจ
ช่วยฟื้นคืนชีพ ใส่ ETT และให้ออกซิเจน
ให้ยา Amminophylline 1 Amp ใน 50% glucose 50 cc IV pump ช้าๆ เพื่อขยายหลอดลม
บกพร่องในการแข็งตัวของเลือด
ให้ Fresh blood เพื่อเพิ่ม fibrinogen และ plasma ลดภาวะ fibrinogen ในเลือดต่ำ และเพื่อเพิ่ม Blood volume ลดภาวะการเกิดหัวใจล้มเหลว เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เลือดที่จะต้องใช้ต้องไม่เกิน 24 ชม. หลังจากได้รับบริจาค
มดลูกอ่อนตัว ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดง
(รำไพ เกตุจิระโชติ,2559)
ระยะที่ 2 ภาวะเลือดไม่แข็งตัว
อาจพบลูกหดรัดตัวไม่ดี
ตกเลือดหลังคลอด
เกร็ดเลือดตํ่า
ระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดยาวนาน เกิดภาวะ DIC และเสียชีวิตในที่สุด
ระยะ ที่ 1 ภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
หายใจลําบาก แน่นหน้าอก
เขียวตามปลายมือปลายเท้า ใบหน้า และลําตัว
ความดันโลหิตตํ่า
ชีพจรเร็ว
ชักเกร็ง หมดสติ
ทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน
กรณีศึกษา
:pencil2: หญิงตั้งครรภ์ อายุ 37 ปี G3P2A0L2 GA 39 wks
อาการสำคัญ : เจ็บครรภ์คลอดร่วมกับมีน้ำเดิน 2 ชม. ก่อนมารพ
แรกรับ : สัญญาณชีพ BP = 110/90 mmHg, P = 90 ครั้ง / นาที R= 20 ครั้ง / นาทีT= 37. 2 ํC
ตรวจครรภ์ : HF 37 cms. ท่า ROA ,HE FHS 140 ครั้ง / นาที
ตรวจภายใน :Cervix dilate 5 cms. Eff 100% Station 0 ML I= 7 นาที D= 25 วินาที
แพทย์ให้ on 5% D N / 2 1000 cc. + Synto 10 u vein drip 40 cc / hr. ต่อมาปวดอยากแบ่ง
ตรวจภายใน Fully dilate Station +1 SRM พบน้ำคร่ำสีเขียวจางๆ ขณะเบ่งคลอดผู้คลอดสับกระสาย บ่นแน่นหน้าอกหายใจลำบาก ตรวจร่างกายพบปลายมือปลายเท้าเขียว
สัญญาณชีพ : BP = 90/70 mmHg. P = 90 bpm, R = 18 bpm, T 36 ํC
การพยาบาล
ป้องกันและแก้ไขภาวะการขาดออกซิเจนด้วยการให้ออกซิเจน 100%
ป้องกันระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจล้มเหลวของหัวใจซีกซ้ายล้มเหลวโดยการช่วย ฟื้นคืนชีพ ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ ยาขยายหลอดลม เพิ่มความดันโลหิต ช่วยเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและให้เลือดเพื่อเพิ่มปริมาณของเลือด
ป้องกันและแก้ไขภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติและภาวะตกเลือดด้วยการให้เลือดและองค์ประกอบของเลือดต่างๆ กรณีมีภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีแพทย์ อาจให้ยา prostaglandins หรือแพทย์อาจตัดมดลูกกรณีที่ยาไม่สามารถควบคุมภาวะ
เลือดที่ออกผิดปกติได้และรักษาภาวะ DIC ด้วยยา heparin
ช่วยคลอดให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจนของทารก
นางสาววรนัน โป้ทอง 61102301120 กลุ่ม D4