Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงสร้างพยางค์ คำ, ก (กร, ข, เสียงพยัญชนะควบ, เสียงพยัญชนะต้น), คำ (นา,…
โครงสร้างพยางค์ คำ
-
-
อักษรประสม
อักษรควบ
อักษรควบแท้ คือ อักษรควบที่เกิดจํากพยัญชนะ ๒ ตัวที่ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน
แล้วออกเสียงพยัญชนะทั้งสองพร้อมๆกัน ประกอบด้วยรูปพยัญชนะ ก ข ค ต ป ผ พ
และรูปพยัญชนะ ร ล ว ออกเสียงกล้ำกัน ในภาษาไทยมีพยัญชนะต้นควบ ๑๕ รูป
อักษรควบไม่แท้คือ อักษรควบที่เกิดจํากพยัญชนะ ๒ ตัว ที่ควบหรือกล้ ําอยู่ในสระตัวเดียวกัน
แล้วออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ําตัวเดียว
อักษรนำ
ไม่ออกเสียงตัวอักษรที่นำ เมื่อ ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว หรือ อ นำ ย ไม่ออกเสียง
ตัว ห หรือ อ นั้น แต่เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นไปตามเสียงตัว ห หรือ อ ที่นำ
ห นำ ง เช่น หงิก แหงน หงาย
ญ เช่น หญิง ใหญ่ หญ้า
น เช่น หนี หนู หนาม หนัก
ม เช่น หมู่ หมี หมํา หมอ
ย เช่น หยิก หยุด หยัก
ร เช่น หรือ หรู หรา หรี่
ล เช่น หลาน หลอก หลับ
ว เช่น หวําน แหวน แหวก
-
ออกเสียงตัวอักษรที่นำ พยัญชนะตัวที่นำออกเสียงประสมกับสระอะ และออกเป็น
พยางค์เบา พยัญชนะตัวที่สองประสมกับสระและพยัญชนะสะกดตามที่ปรากฏ โดยมีเสียงวรรณยุกต์
ตามพยัญชนะตัวที่หนึ่งที่นำมํานั้น
อักษรสูงนำ เช่น ขนม อ่านว่า ขะ-หนม
แขยง อ่านว่า ขะ-แหยง
ฉมวก อ่านว่า ฉะ-หมวก ฉลาด อ่านว่า ฉะ-หลาด
ถนัด อ่านว่า ถะ-หนัด
ถวิล อ่านว่า ถะ-หวิน
-
คำบํางคำมีรูปเขียนแบบอักษรนำ แต่ไม่ออกเสียงแบบอักษรนำทั่วไป เข้าใจว่าเพราะเป็นคำที่
เกิดใหม่หรือเสียงไปพ้องกับคำที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
สมัชชา อ่านว่า สะ-มัด-ชา
สมําคม อ่านว่า สะ-มํา-คม
พยางค์และคำในภาษาไทย
-
พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่มีเสียงตัวสะกด ในมาตราตัวสะกด แม่ กก กด กบ กม กง
กน เกย เกอว และพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา
เช่น
- พยางค์ที่มีตัวสะกด เลือก บ้าน จอด อินทร์ องค์
- พยํางค์ที่ประสมด้วยสระเกิน ใหญ่ ใจ เรา เผา ไกล ไทร
-
-
-
-
-
ข้อควรจำ พยางค์ทื่ประสมด้วยสระ ออ เออ เอือ เอีย อัว เป็นพยางค์เปิด เพราะตัว อ ย ว
จัดเป็นรูปสระ ไม่ใช่รูปพยัญชนะ เช่น เสีย เรือ วัว ขอ รั่ว เสือ เขี่ย
ข้อควรจำ สระเกิน อำ ไอ ใอ เอา ไม่มีรูปพยัญชนะท้ายพยางค์ แต่มีเสียงพยัญชนะท้ายอยู่ ดังนี้
อำ = อะ + ม หรือ อา + ม (แม่กม)
ไอ , ใอ = อะ + ย หรือ อา + ย (แม่เกย)
เอา = อะ + ว หรือ อา + ว (แม่เกอว)