Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 13 เทคโนโลยีกับการจัดการผลการปฏิบัติงาน - Coggle Diagram
บทที่ 13 เทคโนโลยีกับการจัดการผลการปฏิบัติงาน
1.บทบาทของเทคโนโลในอดีตต่อการจัดการผลการปฏิบัติงาน
เทคโนโลยีมีบทบาทในกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมการจัดการผลการปฏิบัติงานได้รับแนวคิดจากกิจกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เช่น การประเมินผล วางแผ่นทายาท การสอนแนะ การวางแผ่นอาชีพ เป็นตัน การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์ และการติดต่อสื่อสาร์และการจัดการผลการปฏิบัติงาน ทั้งสองมีบทบาทสำคัญและเปินจุดเริ่มตันของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาไช้ประยุกต์ใช้ไนระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Krauss & Snyder, 2009) โดยมีรายละเอียดตังต่อไปนี้
การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์
การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นกิจกรรมต้านการตรวจสอบ การประเมิน บันทึก และการรวบรวมเกี่ยวกับงานที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ความรับผิดชอบที่มอบหมายให้กับพนักงาน โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Jeske & Santuzzi, 2015) ดังนั้นการครวจสอบผลการปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์จึงถูกพิจารณาว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้การวัดผลการปฏิบัติงานของหนักงานประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้น เช่น ตัวชี้วัดจำนวนผลผลิต ระยะเวลาในการปฏิบัติงานจำนวนความถูกต้อง ชำนวนที่ผิดพลาด เป็นต้น
การติดต่อสื่อสารเเละการจัดการผลการปฏิบัติงาน
การติดต่อสารระหว่างพนักงานและผู้บริหารเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่จะส่งผลให้การจัดการผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการสร้างความเข้าใจและเชิญชวนให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ดังนั้นระบบเทดโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสารจึงถูกพัฒนาและออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการจัดการผลการปฏิบัติงานองค์กร ให้สามารถรองรับกับความต้องการของการจัดการผลการปฏิบัติงนและสภาพแวดล้อมการทำงานองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป
7.ข้อควรปฎิบัติในการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดการผลการปฏิบัติงาน
การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับระบบการจัดการปฏิบัติงานจำเป็นต้องสร้างการทีส่วนร่วมการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้เกี่ยวข้องจะไม่เกิดการต่อต้านและปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างถูกต้อง
2.เทคโนโลยีกับการสนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการจัดการผลการปฏิบัติงาน
เมื่อองค์กรนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสมจะทำให้กิดการบรรลุผลสำเร็จคามวิสัยและวัตถุประสงค์ขององค์กได้อย่างไม่ยากลำบากมากนัก รวมถึงประสิทธิภาพใน
ติงานที่ได้รับความสำเร็จตามที่องค์กรหรือผู้บริหารคาดหวัง โดย Aguinis (2012) ระบุว่า องค์กรนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการผลการปฏิบัติงานมีวัตถุประสงค์ 6 ประเด็นหลัก
วัตถุประสงค์ด้านการพัฒนา
วัตถุประสงค์ของการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานคือการเตรียมข้อมูลการพัฒนาและฝึกอบรมทั้งระยะสั้นและยาว ตลอดจนการวางอาชีพเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการร่วมปฏิบัติงานของพนักงานกับองค์กร
วัตถุประสงค์ด้านสารสนเทศ
เทคโนโลยีสำหรับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานสนับสนุนมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการคือ การได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่ง โดยทั่วไปเทคในโลยีจะช่วยให้กระบวนการจัดการปฏิบัติงานคำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาวทั้งด้านการจัดเก็บรวบรวม การแลกเปลี่ยน การกระจายข้อมูลสำหวับการจัดการผลการปฏิบัติงานให้สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทั้งองค์กร
วัตถุประสงค์ด้านการบำรุงรักษาองค์กร
วัตถุประสงค์ด้านการบำรุงรักษาองค์กรของระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานเป็นกิจกรรมกำลังคนที่ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจในสถานะปัจจุบันและอนาคตด้านความความต้องการของประชากรมนุษย์ขององค์กรอย่างชัดเจน เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานในอนาคตขององค์กร
วัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์
ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์นั้นมีลักษณะลำคัญคือ การกำหนดทิศทางการดำเนินขององค์กร พร้อมทั้งกำหนดแนวทางให้หน่วยงาน และพนักงานดำเนินงานไปในทิศทางที่องค์กรต้องการ ผนวกกับการผนึกประสานแนวทางและความต้องการที่สอดคล้องกันระหว่างบุคคล ทีม และองค์กรอย่างกลมกลืน
วัตถุประสงค์ด้านการจัดการ
สำหรับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานที่มีวัตถุประสงค์ด้านการจัดการนั้น เทดโนโลยีที่ใช้ในการกับและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้านการจัดการผลการปฏิบัติงานสามารถช่วยผู้บริหารให้มีความสบายในการเข้าถึงและการตัดสินใจใช้ข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากการทั่วไปและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เช่น การพิจารณาปรับค่าตอบแทน การพิจารณาบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม การวางแผนอาชีพ เป็นตัน
วัตถุประสงค์ด้านเอกสาร
วัตถุประสงค์ทั้งหมดของระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานที่กล่าวมานั้นวัตถุประสงค์ด้านเอกสารอาจกล่าวได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์หลัก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของระบบผลการปฏิบัติงาน
3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการจัดการผลการปฏิบัติงาน
จากกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานที่ประกอบด้วย 6ขั้นตอน
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ประเมินผลการปฏิบัติเป็นกระบวนการในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวผลการปฏิบัติงานและการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพิจารณาถึงเวลาที่ปฏิบัติงานในรอบปีของพนักงานแต่ละคนอย่างเป็นระบบ เพื่อนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปให้ประโยชน์ในด้านการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไป
การนำไปใช้ประโยชน์
กิจกรรมการนำไปให้ประโยชน์เป็นกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงและต้องนำไปพิจารณาร่วมกับขั้นตอนการวางแผนผลการปฏิบัติงานตรวจสอบว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
การทบทวนผลการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการดำเนินการทบทวนผลการปฏิบัติงานหรือเป็นการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของพนักงาน หน่วยงาน และองค์กรที่ผ่านมาในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งบ่อยครั้งผลลัพธ์อาจไม่เป็รที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกำหนด
ขั้นตอนก่อนการได้มา
ขั้นตอนก่อนการได้มาเป็นการระบุถึงเป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กรและกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จ โดยเทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาการดำเนินงานและการสื่อสารเพื่อให้เป้าหมายขององค์กรกระจายทั่วทั้งองค์กรตั้งแต่ระดับองค์กร หน่วยงาน และบุคคล และเกิดความมั่นใจว่าทุกระดับหน่วยงานของค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่องค์กรกำหนดขึ้นผ่านการบูรณาการอิเล็กทรอนิกส?กับข้อมูลการจัดการผลการปฏิบัติงาน
การวางแผนผลการปฏิบัติงาน
หลังจากระบุกลยุทธ์และงานที่องค์กรต้องดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการวางแผนผลการปฏิบัติงานเป็นการกำหนดรายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลลัพธ์และพฤติกรรมที่คาดหวังซึ่งจะถูกกำหนดและระบุอย่างครบถ้วนที่องค์กรต้องการในแผนผลการปฏิบัติ
การดำเนินการผลการปฏิบัติงาน
การดำเนินการผลการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนที่แสดงถึงความสามารถทั้งผู้บริหารและพนักงานต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่องค์กรกำหนด โดนพนักงานต้องแสดงความมั่งมั่นต่อเป้าหมายความสำเร็จ ข้อเสนอแนะที่ชัดเจน การติดต่อสื่อสารกับผู้บริหาร การรายงานความก้าวหน้าต่อความสำเร็จต่อเป้าหมาย และการจัดเตรียมหารทบทวนผลการปฏิบัติงาน
4.ความท้าทายของเทคโนโลยีต่อการจัดการผลการปฏิบัติงาน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการจัดการผลการปฏิบัติงานที่กล่าวมาข้างตันสามารถสร้างประโยชน์สำหรับการดำเนินการที่หลอกหลายให้กับกับพนักงาน หน่วยงาน และองค์กร อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ยังมีข้อจำกัดหรือข้อพิจารณาหลายประเด็นที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องคำนึงถึงทั้งข้อดี
และข้อจำกัดต่างๆ ของการประยุกต์ใช้
การกระจายที่มากเกินไป (Overexposure)
บ่อยครั้งที่องค์กรมักใช้เทคโนโลยีมาช่วยสำหรับการกระจายข่าวสารหรือสารสนเทศด่างๆ เกี่ยวกับการจัดการผลการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจทำให้พนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องเกิดความสับสน ไม่แน่ใจ หรือเกิดความเบื่อหน่ายต่อสารสนเทศต่างๆ ที่องค์กรจัดส่งมายังตนเองมากเกินไป
การสื่อสารที่ผิดพลาด
เทคโนโลยีสามารถสนับสนุนการสื่อสารข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ ในระหว่างการจัดการผลการปฏิบัติงานได้อย่างมาก การใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารมีความเชื่อมโยงต่อความสำคัญและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของหัวข้อหรือประเด็นที่ผู้ส่งเกี่ยวข้อง เช่น ประเด็นที่จะทำการสื่อสารกับผู้อื่นมีความสับสน ไม่ชัดเจน หรือคลุมเครือ เป็นต้น
สารสนเทศที่มากเกินไป (Information Overload)
แม้ว่าเทคโนโลยีช่วยให้การจัดก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่มีอยู่มากมายมหาศาลก็จริง แต่การมีข้อมูลเหล่านั้นมากเกินความต้องการอาจส่งผลให้ผู้บริหารและพนักงานเกิดความสับสน
เวลาที่ต้องใช้ (Time Requirements)
ระบบเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นผู้ทำการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงาน รวมถึงผู้ใช้ระบบเองจำเป็นต้องใช้เวลาในการทบทนหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด
5.แนวทางปฏิบัติงานที่ดีเด่นสำหรับการจัดการผลการปฏิบัติ
เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้สามารถสนับสนุนแต่ละองค์ประกอบของกระบวนการการจัดการผลการปฏิบัติงานดังเช่นข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การประยุกต์ใช้มีประสิทธิภาพสูงสุดควรทำความเข้าใจเกี่ยวข้องแนวทางการที่ดีเด่นของการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการจัดการปฏิบัติงาน
ดำเนินการบูรณาการอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการบูรณาการอย่างต่อเนื่องนับเป็นประเด็นที่มีความท้าทายอย่างมากต่อกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงาน เนื่องจากขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามแผนมักถูกปฏิเสธหรือละเลยจากพนักงาน ส่งผลให้ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินงานและไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรคาดหวังไว้
การตัดสินใจว่าจะซื้อหรือจะพัฒนาขึ้นมาเอง
ระบบจัดการผลการปฏิบัติงานจะถูกวางแผนดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป้าหมายได้รับผลสำเร็จที่คาดหวัง ประเด็นที่สำคัญและเข้ามาเกี่ยวข้องสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของความสำเร็จคือ การนำเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วย หรือการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ
การใช้กลยุทธ์การจัดการเปลี่ยนแปลง
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการจัดการผลการปฏิบัติงานมักถูกมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบหรือการทำการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วนในองค์กร
พึงตระหนักว่าเนื้อหามีความสำคัญอย่างมาก
การนำเทคโนโลยีมาประยุกข์ใช้ในระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างมากดังที่ได้กล่าวมาข้างตัน แต่ระบบและประสิทธิภาพของระบบเทคโนโดยีที่นำมาประยุกต์ใช้จะสนับสนุนต่อด้วยความสำเร็จขององค์กรได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นให้เข้ากับระบบเทคไนโลยีและการจัดการผลการปฏิบัติงานขององค์กร
6.ข้อพึงระวังในการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดการผลการปฏิบัติงาน
บทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อการจัดการผลการปฏิบัติงานนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามการประยุกข์ใช้เทคโนโลยีอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบด้านว่าเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนแนวทางดำเนินงานหรือสร้างข้อจำกัดต่อการดำเนินงานต่อองค์กร