Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น A Beautiful Mind - Coggle Diagram
ภาพยนต์สั้น A Beautiful Mind
ประวัติทั่วไป
ประวัติครอบครัว
เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว
ภรรยา 1 คน ชื่อนางอลิเซีย
มีบุตรจํานวน 1 คน
สัมพันธภาพในครอบครัว
เป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ใครฟัง
มีความคิดหมกมุ่นกับตัวเลข
เกือบทําร้ายภรรยาและลูกจากการเห็นภาพหลอน
รู้สึกไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เพศชาย อายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ชื่อ นายจอห์น ฟอบส์ จูเนียร์ (Mr.John Forbes Nash)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องจากมีความคิดหลงผิด
การพยาบาล
4.ใช้เทคนิค Clarifying การให้ความกระจ่าง คือ ความพยายามทำความเข้าใจในคํากล่าวของ ผู้ป่วย เช่น
“ คนที่คุณพูดถึงหมายถึงใครค่ะ”
5.ดูแลให้ได้รับยาThorazine 30 mg IM q 6 hrs ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียง ได้แก่ ตาพร่า ความดันลูกตาเพิ่ม ปากคอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า ง่วง นอนหลับ
3.สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ พูดคุยที่นุ่มนวล เป็นมิตรและอบอุ่น อดทนในการรับฟังเพื่อสร้างความไว้วางใจและให้ความร่วมมือ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความคิดของเขาอย่างอิสระและได้รับฟังความคิดของผู้ป่วย
6.ดูแลให้ได้รับยา Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn.ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงได้แก่ ลดอัตราการหายใจ ความดันโลหิตต่ำ สับสน มึนงง ปวดศีรษะ
2.ยอมรับในการคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่โต้แย้ง ไม่ตำหนิ หรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่เป็นเรื่องจริงและไม่นำคำพูดผู้ป่วยไปล้อเล่น
8.เฝ้าสังเกตอาการได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
1.ประเมินความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย เช่น เห็นใครจะมาทำร้ายเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความคิดอย่างไร
7.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย กำจัดวัตถุที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม วัตถุที่ทำด้วยแก้วหรือกระจกออกจากตัวผู้ป่วยและจัดสิ่งแวดล้อมให้กระตุ้นผู้ป่วยน้อยที่สุด เช่น จัดที่พักให้เป็นส่วนตัวมากที่สุด มีแสงสว่างพอเหมาะเงียบสงบ
มีความบกพร่องในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากหวาดระแวง
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีเป็นมิตร โดยใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งเงียบ พยายามสบตาและสัมผัสผู้ป่วยด้วยความระมัดระวังถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่พูด ถามคำถามง่าย ๆ ถ้าผู้ป่วยไม่พูด ให้ใช้เทคนิคการแปลความหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยทราบว่าพยาบาลเห็นใจผู้ป่วย
สนใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกกลัวหรือความวิตกกังวลที่เกิดจากความคิดหลงผิดและประสาทหลอน สนทนากับผู้ป่วยในเรื่องที่เป็นจริง เช่น สถานการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ประเมินอาการประสาทหลอนเช่น พูดและหัวเราะคนเดียว เงี่ยหูฟัง หยุดพูดกลางคัน รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าถึงอาการประสาทหลอนโดยไม่โต้แย้งและไม่ขัดจังหวะ แต่ควรใช้เทคนิคการตั้งข้อสงสัยในขณะสนทนา
ไม่แสดงการยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยได้ยินอยู่ในโลกของความจริง โดยใช้คาพูดให้ผู้ป่วยรับรู้
กระตุ้นให้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เมื่อผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจพยาบาลโดยให้เข้ากลุ่มเล็กก่อน เมื่อปรับตัวได้ดีขึ้น จึงให้เข้ากลุ่มใหญ่ โดยมีพยาบาลอยู่เป็นเพื่อนและให้กำลังใจ
การรักษา
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs
กลุ่มยา
ฟิโนไทอาซีน (Phenothiazine)
ชื่อทางการค้า
Thorazine และ Largactil
อาการข้างเคียง
มีอาการง่วงซึม ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผิวหนังไวต่อแสงแดด ตาสู้แสงไม่ได้
บางรายอาจมีอาการข้างเคียงทางระบบประสาท
เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาไปเป็นเวลานาน
กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก (Dystonia)
นั่งไม่ติดที่ (Akathisia)
อาการคล้ายพาร์กินสัน (Pseudoparkinsonism)
การขยับของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติควบคุมไม่ได้ ที่บริเวณปาก ลิ้น ใบหน้า แขนขาหรือลําตัว (Tardive dyskinesia)
การออกฤทธิ์
ยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท Dopamine
ใช้ลดอาการกระสับกระส่าย หวาดระแวงก่อนผ่าตัด ( pre - operative anxiety )
รักษาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก
ควบคุมอาการคลื่นไส ้อาเจียนที่เกิดขึ้นทั่วไปและหลังผ่าตัด
การพยาบาล
แนะนำผู้ป่วยให้เปลี่ยนอิรอิยาบถช้าๆ เพราะอาจหน้ามืด ล้มเกิดอุบัติเหตุได้
2.ประเมินสัญญาณชีพ
3.ประเมินการขับปัสสาวะเนื่องจากยาทำให้เกิดปัสสาวะคั่ง
4.ติดตามผลการตรวจWBC count เนื่องจากยาทำให้เม็ดเลือดผิดปกติ
5.ระวังอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก
6 แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่องป้องกันอาการท้องผูก
7.แนะนำให้ผู้ป่วยระวังการถูกแสงแดด ให้สังเกตผิวแดงและคล้ำจากการโดนแสงแดด อาการคันมีตุ่มพอง เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดการแพ้แสง
ไม่ใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
กลุ่มยา
เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
อาการข้างเคียง
กระสับกระส่ายก้าวร้าว ไม่เป็นมิตร
กล้ามเนื้อกระตุก ตัวสั่น
มึนงง เห็นภาพหลอน มีความคิดและมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากที่เคย
กระเพาะปัสสาวะสูญเสียการควบคุม ทําให้ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย
การออกฤทธิ์
รักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวล
ออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน
ใช้เพื่อคลายความวิตกกังวลอันเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหานอนไม่หลับ
การพยาบาล
ให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่องอาการข้างเคียงของยา เช่น ยาจะกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการง่วงซึม ทำให้ความสามารถในการคิด จำและการตัดสินใจลดลง สมาธิลดลง การควบคุมแขนขาไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีแรง
ระแลระมัดระวังอันตรายต่างๆ หากผู้ป่วยต้องได้รับยากลับไปทานที่บ้าน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับรถ การใช้ของมีคมเพราะยามีผลทำให้ง่วงนอน
ดูแลไม่ใช้ยาร่วมกับยากดประสาท ยานอนหลับ สุรา
แนะนำผู้ป่วยที่ติดยาเนื่องจากต้องใช้ยาเป็นเวลานานและปริมาณสูง ไม่ให้หยุดยาเอง เพื่อป้องกันอาการขาดยา ควรให้แพทย์เป็นผู้ลดยาให้
ECT 1 course (5 times per week/ 10 weeks)
เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้เกิดการชักเหมือนกับในโรคลมชัก ไม่มีอันตรายต่อสมองอย่างแน่นอน ใช้เวลาทั้งหมดประมาณไม่ถึง 5 นาที การรักษาจะทำวันเว้นวัน ทำทั้งหมดประมาณ 10-12 ครั้ง
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าทุกชนิดเพื่ป้องกันการฆ่าตัวตาย รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ยอมกินน้ำ กินอาหาร ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางอารมณ์ ( Mood disorder)
ผู้ป่วยจิตเภทชนิดคลั่งหรือซึมเฉย (Catatonic schizophrenia)
ผู้ป่วย Bipolar disorder ในระยะคลั่งและระยะเศร้า
ผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติทางจิตที่รักษาด้วยยาและวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
ข้อจำกัด
1.Brain tumor, Brain edema, cerebral hemorrhage เพราะการทำ ECT จะทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น
2.ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง
3.ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
4.ผู้ป่วยวัณโรคระยะรุนแรง
5.ผู้ป่วยติดเชื้อที่มีไข้สูง, ร่างกายอ่อนแอหรืออ่อนเพลียมาก
ภาวะแทรกซ้อน
ขณะทำ ECT
หัวใจเต้นผิดจังหวะ(arrhythmia)
อาจมีอาการชักนาน
ความดันโลหิตสูง/ต่ำ
สำลักหรือหยุดหายใจนาน
หลังทำ ECT
ระยะสั้น
อาการงุนงง
ปวดศีรษะ(ประมาณ1-2 ชั่วโมง)
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ระยะยาว
คิดช้าลง
อาจมีความจำบกพร่อง
ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนเองหลงลืม
การพยาบาล
การพยาบาลก่อนทำECT
ทำความสะอาดร่างกาย สระผม ตัดเล็บให้สั้น ไม่ทาเล็บมือ-เล็บเท้า
นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
สวมเสื้อผ้าสะอาด ผมแห้ง ไม่ทาแป้งบริเวณใบหน้า ไม่สวมเครื่องประดับใดๆ
หากมีภาวะความดันโลหิตสูง จิตแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความดันในเวลา 06.00 น. และดื่มน้ำได้ไม่เกิน 30-60 ซีซี
งดน้ำ งดอาหารหลังเที่ยงคืนจนเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา
ถอดฟันปลอม หากมีปัญหาฟันผุ ฟันโยกต้องแจ้งพยาบาลก่อนเสมอ
ปัสสาวะก่อนทำการรักษา
การพยาบาลหลังทำECT
ปวดศีรษะ ให้ประคบเย็นแล้วนอนพัก 30 นาที - 2ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นสามารถทานยาบรรเทาปวดได้
หากปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อ ให้ประคบร้อนหรือประคบเย็น หรือนวดเบาๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
หากมีภาวะหลงลืม ให้ญาติช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วย ความทรงจำจะค่อยๆ ฟื้นตัวภายในระยะเวลา 2สัปดาห์ – 6 เดือน
กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
พรบ.สุขภาพจิต ฉบับที่ 2 พ.ศ.๒๕๖๒ ฉบับล่าสุดฉบับปรับปรุง
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คือ โดยที่พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑ ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานาน ทำให้บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างถูกต้องและเพียงพอ
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑
มีสาระสําคัญคือ การนําบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจําเป็นต้องได้รับการบําบัดรักษาให้ได้รับการบําบัดรักษาภาวะอันตรายที่กล่าวถึง คือ อันตรายที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิตที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดหลงผิด หรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาจะได้รับจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑ นี้คือ ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องฯซึ่งอยู่ในสภาวะที่ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบําบัดรักษาจะได้รับการบําบัดรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันหรือบรรเทามิให้ความผิดปกติทางจิตมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อป้องกันการกระทําที่เกิดจากอาการทางจิตที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง เช่น การทําร้ายตนเอง หรือการฆ่าตัวตาย
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยเด็ก
ชอบเก็บตัว/อยู่คนเดียว
มีปัญหาการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
วัยรุ่น
ชอบคณิตศาสร์
ชอบเก็บตัว
อายุ 20 ปีจบปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
จบปริญญาเอก
มีความคิดหมกมุ่น
มีพฤติกรรมแปลกเพิ่มมากขึ้น
อาการและอาการแสดงจาก
ภาพยนต์และบทสนทนา
ประสาทหลอน (hallucination)
ประสาทหลอนทางการมองเห็น (Visual hallucination)
ข้อมูลจากเคส
มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
ผู้ป่วยเห็นภาพหลอน
ผู้ป่วยบอกวา่ "ชาล์ล ผมขอโทษ ผมไม่ได้ตั้งใจให้คุณเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องนี้จริงๆ" แต่พยาบาลมองไม่เห็นใคร
ผู้ป่วยบอกว่าสายลับรัสเซีย มันตามผมไปถึงที่บ้าน
ผู้ป่วยนั่งมองรอบตัวแล้วหยุดชะงัก เพ่งมองไปที่ประตูแล้วกล่าวว่ามัน ตามมาที่นี่แล้วและทำท่าทีหวาดกลัว
ประสาทหลอนทางการได้ยิน (Auditory hallucination)
ข้อมูลจากเคส
ได้ยินเสียงคนคุยกัน
เสียงที่ตัวผู้ป่วยคุยกับเพื่อนที่ชื่อชาล์ล
เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหาร
เนื้อหาความคิดที่ผิดปกติ (Disorder of content)
Delusion of persecution
หลงผิดคิดวา่ผู้อื่นจะมาปองร้าย
วิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
ผู้ป่วยบอกว่า "สายลับรัสเซีย มันตามผมไปถึงที่บ้าน"
Delusion of being controlled หลงผิดคิดว่าการกระทําของตนถูก ควบคุมโดยสิ่งอื่นภายนอก
มีคนมาสะกดรอยตามทําใหเ้ขากลัวและกังวลอย่างมาก
กําลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย