Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวาน - Coggle Diagram
โรคเบาหวาน
อาการ
1.ปัสสาวะบ่อย (Polyuria) เนื่องจากไตมีความสามารถดูดกลับน้ำตาลไว้ได้ในระดับหนึ่งแต่ในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าไตไม่สามารถดูดน้ำตาลในเลือที่สูงได้ดังนั้นจึงมีน้ำตาลส่วนหนึ่งออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมื่อมีความเข้มขันของปัสลาวะสูงจึงมีการดึงน้ำตามมามากกว่าปกติทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
- กระหายน้ำมาก (Polydripsia) พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำมาก คอแห้งเป็นผลมาจากการสูญเสียน้ำออกมาทางปัสสาวะร่างกายจึงอยู่ในกาวะขาดน้ำมีการกระตุ้นศูนย์การควบคุมน้ำของร่างกายเกิดการกระหายน้ำตามมาได้
- หิวบ่อย และรับประทานจุ (Polyphagia) เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติทำให้ร่างกายขาดพลังงานจึงมีการหิวบ่อยและรับประทานจุตามมา
- น้ำหนักตัวลดลง (Wcight loss) จากการที่ร่างกายขาดอินซูลินทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงานร่วมกับการขาดน้ำจากปัสสาวะบ่อยร่างกายจึงมีการนำโปรตีนและไขมันที่สะสมไว้ในเนื้อเยื่อมาใช้แทนจึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
พยาธิสภาพ
โรคเบาหวานเกิดจากความบกพร่องของฮอร์ โมนอินซูลิน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อน ทำหน้ที่ช่วยนำน้ำตาลหรือกกูโคสในเลือดเข้าสู่ซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานสำหรับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ผู้ที่เป็นเบาหวานจะพบว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เถยหรือผลิตได้ปกติแต่ประสิทธิกาพของอินซูลินลดลง
เมื่อขาดอินซูลินหรืออินซูสินทำหน้าที่ไม่ได้ น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่งๆได้น้อยกว่าปกติจึงเกิดการดั่งของน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลก็ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ น้ำตาลที่เข้มข้นสูงจะพาน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยพร้อมกับสูญเสียเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะโซเดียม ร่างกายจึงขาคทั้งอาหาร น้ำ เกลือแร่ จึงมีอาการหิวบ่อย กินจุกระหายน้ำบ่อย และน้ำหนักลดลง ผอมลง บางรายอาจอ่อนเพลีย
สาเหตุ
โรคเบาหวาน เกิดจากเบต้าเซลล์ในกลุ่มเซลล์แลงเกอร์แฮนของตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลินได้น้อย หรือสร้างไม่ได้เลย หรือสร้างได้ แต่ฮอร์โมนออกฤทธิ์ในการทำงานได้ไม่เต็มที่ ฮอร์โมนอินซูลินนี้ มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่ เพียงพอกับความต้องการ หรืออินซูลินทำงานลดลง น้ำตาลจึงไม่ถูกนาไปใช้เป็นพลังงาน ทำให้เกิดการ คั่งของน้าตาลในเลือด น้ำตาลในเลือดจึงสูง
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอย่างอื่น เช่น อ้วนเกินไป เกิดจากการใช้ยา เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกeเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับอ่อนระยะ สุดท้าย คอพอกเป็นพิษ โรคคุชชิ่ง ซินโดรม เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
-
2.ผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากร่างกายได้รับอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้การพยาบาล
2.1. สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น ซึมลง กระวนกระวาย ชักหรือหมดสติ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
2.2ดูแลวัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและวางแผนการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
2.3 ดูแลให้ได้รับ 50 เปอร์เซ็นต์กลูโคส 50 ซีซี เข้าทางหลอดเลือดคำตามแผนการรักษา
2.4 เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังให้ 50 เปอร์เซ็นต์กลูโคส 1 ชั่วโมงเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและวางแผนให้การรักษาพยาบาลได้ถูกต้อง
2.5 ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำชนิดที่มีน้ำตาล ตามแผนการรักมาของแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดค่ำได้
2.6เฝ้าระวังการเกิดกาวะน้ำตาลในเลือกต่ำซ้ำโดยสังเกตอาการผู้ป่วยหลังไส้รับอินซูลิน ความรู้เกี่ยวกับเภสัชวิทยา
ภาวะแทรกซ้อน
หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน
การรักษา
เป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ พยาบาล โภชนากร และ ที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเอง เป้าหมายของการรักษาก็เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับระดับปกติอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงความสำคัญของการรักษา โดยต้องเข้าใจก่อนว่า โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถให้ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับปกติได้ รูปแบบการรักษาจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย
- การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้จึงอาจทำให้โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ยากต่อการควบคุม การรักษาจึงต้องมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอาหารอย่างระมัดระวัง วางแผนเรื่องการออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI)
- การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการรักษาได้แก่การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเอง และในบางกรณีอาจต้องมีการการรักษาด้วยยารับประทานและ/หรือฉีดอินซูลินร่วมด้วย ซึ่งมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 40% ที่ต้องฉีดอินซูลินร่วมด้วย