Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A Beautiful Mind ครั้งที่3 - Coggle Diagram
A Beautiful Mind ครั้งที่3
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ
: จอห์น ฟอร์บส์ แนช จูเนียร์ อายุ: 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
วัยเด็ก:
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหา ในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
วัยรุ่น :
จอห์นเริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว และมีอาการก้าวร้าว
วัยทำงาน
: อาการแย่ลง เห็นภาพหลอนเพิ่มขึ้น มีอาการหวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย
วัยสูงอายุ
ยังมีอาการเห็นภาพหลอน แต่สามารถอยู่กับความเป็นจริงได้
อาการและอาการแสดง
กลุ่มอาการด้านบวก (Positive Symptoms)
Disorganization dimension ได้แก่ disorganized behavior และ disorganized speech
Psychotic dimension ได้แก่อาการหลงผิด และอาการประสาทหลอน
กลุ่มอาการด้านลบ (Negative Symptoms)
Visual hallucination เห็นภาพหลอน
Asociality เก็บตัว เฉย ๆ ไมค่อยแสดงออกหรือไมม่ กิจกรรมที่สนุกสนาน
Avolition ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาลง
Audible thoughts ผู้ป่วยมีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูด
อาการของจอห์น แนช
1.เห็นภาพหลอน Visual hallucination
2.หูแว่ว Auditory hallucination
3.หลงผิด Delusion
4.ไม่เข้าสังคม
5.หวาดระแวง
6.ก้าวร้าว
7.วิตกกังวล Anxiety
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
สารเคมีในสมอง
พันธุกรรม
กายวิภาคสมอง
ประสาทสรีรวิทยา
ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม
การเลี้ยงดู
ความยากจน
สภาพสังคมบีบบังคับ
การรักษา
การรักษาด้วยยา
1. Thorazine 30 mg IM q 6 hrs
กลุ่มยา
: Antipsychotic agent
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาและควบคุมอาการโรคจิตชนิดคุ้มคลัง และโรคจิตเภท (mania and schizophrenia)
รักษาพฤติกรรมกาวร้าวในเด็ก
รักษาผู้ป่วย psychotic
ใช้ลดอาการกระสับกระส่าย หวาดระแวง
ผลข้างเคียงของยา
ตาพร่า ความดันในลูกตาเพิ่ม
ปากคอแห้ง
ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง
Postural hypotension (ความดันตกในท่ายื่น)
ง่วงนอน นอนหลับได้
หิวและรับประทานมากขึ้น
2. Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
กลุ่มยา:
Benzodiazepine
ข้อบ่งใช้
ออกฤทธิ์ที่สมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
ใช้เป็นยาคลายกังวลหรือยากล่อมประสาท (Tranquilizer) ทำให้จิตใจสงบ
ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ความเครียด วิตกกังวล รักษาอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากโรคประสาท
ผลข้างเคียงของยา
เกิดภาวะเสียความจำข้างหน้า
ง่วงซึม
กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
กล้ามเนื้อเปลี้ย
สับสน มึนงง
เวียนศีรษะ
ใจสั่น
ชีพจรเต้นเร็ว
หลอดเลือดดำอักเสบ
หลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด
การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
มีปัญหาอื่นๆที่ดุแลใกล้ชิด เช่น มีอาการข้างเคียงของยารุนเเรง
เพื่อควบคุมเรื่องยา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยา
การรักษาด้วยไฟฟ้า ECT
ข้อบ่งชี้ในการทำ
ใช้ในผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีอาการุนแรง มีปัญหาในการให้ยา รักษาด้วยวิธีอื่นไม่เห็นผล
Affective disorder
Depressive episorders ผู้ป่วยที่มีอาการเศร้ามาก คิดฆ่าตัวตาย อาการุนแรงมาก
Manic episode ปัจจุบันไม่นิยม เพราะใช้ยา lithium รักษาได้ดี
Schizophrenia
Schizoaffective disorder
Obsessive compulsive disorder
ECT 1 course (5 times per week/ 10 weeks)
การพยาบาลก่อนการทำECT
ด้านร่างกาย
การซักประวัติเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับโรค
ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะสมอง (MRI), ปอด(CXR), หัวใจ (EKG), ความดันโลหิต, การตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC, E'lyte, U/A, LFT เพื่อดูความผิดปกติของร่างกายก่อนการรักษาด้วย ECT
ให้ญาติเซ็นใบยินยอมให้การรักษา หลังจากอธิบายญาติและผู้ป่วยทราบถึงความจำเป็น รวมทั้งข้อดีข้อเสีย เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องภายหลัง
งดน้ำงดอาหารก่อนทำ ECT อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะ อุจจาระให้เรียบร้อยก่อนทำ ECT
ดูแลให้ถอดฟันปลอมและเครื่องประดับออก เพื่อป้องกันฟันปลอดหลุดเข้าไปในคอหรือเกิดการแตกหักเสียหาย
เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ได้แก่ ความสะอาดร่างกาย ตัดเล็บ สระผม
ตรวจวัดสัญญาณชีพพร้อมลงบันทึกก่อนส่งรักษา ECT ทุกครั้ง
ด้านจิตใจ
อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องทำการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการรักษาอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น
บอกขั้นตอนการรักษาด้วยไฟฟ้าคร่าวๆ โดยบอกว่าเวลาทำจะไม่รู้สึกเจ็บปวดจะหลับไปชั่วครู่ ย้ำว่าขณะทำจะมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด
อธิบายอาการหลังทำที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ภาวะสับสน งุนงง และความลืมความจำชั่วคราว แล้วอาการจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ
การพยาบาลหลังการทำECT
วัด vital signs ทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรกหลังทำหลังจากนั้นวัดทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะปกติ
ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องได้รับสารน้ำอย่างต่อเนื่องมาถึงหลังการรักษาควรดูแลอัตราหยดของสารน้ำให้คงที่ไม่เร็วเกินไปดูแลไม่ให้บริเวณที่ให้สารน้ำมีการอักเสบบวมแดง
เมื่อผู้ป่วยตื่นอาจมีอาการมึนงงสับสนบางคนกระสับกระส่ายและวุ่นวายควรดูแลด้วยความระมัดระวังป้องกันการตกเตียง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าให้ผู้ป่วย เพื่อให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
ให้ผู้ป่วยนอนพัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหรือจนกว่าผู้ป่วยจะควบคุมตัวเองได้ประเมินระดับความรู้สึกตัวก่อนผู้ป่วยลุกจากเตียงประเมินอาการมึนงงสับสน
ไม่ควรซักถามประวัติส่วนตัวของผู้ป่วยเพราะทำให้ผู้ป่วยกังวลใจมากขึ้นที่นึกเรื่องราวต่างๆของตัวเองไม่ได้พยาบาลควรให้กำลังใจอธิบายถึงผลข้างเคียงความจำจะค่อยๆกลับมาอาการปวดศีรษะหรือปวดหลังจะค่อยๆหายไป
ช่วยทบทวนกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่างๆของหอผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวให้ถูกต้องและลดความวิตกกังวล
การรักษาด้วยจิตสังคม
การทำจิตบำบัด(psychotherapy) เป็นการรักษาโดยใช้วิธีพูดคุยระหว่างผู้ป่วยกับผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา ในเรื่องปัญหา ประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึก ความสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่เป็นความจริงกับที่ไม่ใช่ความจริง
การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว (family counseling or psychoeducation) ให้ความรู้ในเรื่องโรค รวมทั้งสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดความกดดันระหว่างผู้ป่วยและญาติ
กลุ่มบำบัด (group therapy) เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มผู้ป่วย โดยส่งเสริมความรู้สึกการมีเพื่อนมีสังคม ไม่โดดเดี่ยว มีคนเข้าใจ และค่อยช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำกัน
นิเวศน์บำบัด (milieu therapy) เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้น่าอยู่ และให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง
การวินิจฉัยโรค
โรคจิตเภท (schizophrenia) ตามเกณฑ์วินิจฉัย DSM-5
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน โดยอย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่ 1 อาการ
(1) อาการหลงผิด
(2) อาการประสาทหลอน
(3) การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน (การพูดในลักษณะที่หัวข้อ วลีหรือประโยคที่กล่าวออกมา ไม่สัมพันธ์กัน)
(4) พฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที"คนในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยไม่ทำกัน พฤติกรรมการ เคลื่อนไหวมากเกินไป น้อยเกินไป หรือแปลกประหลาด (catatonic behavior)
(5) อาการด้านลบ เชน่ สีหน้าทื่อ เฉยเมย แยกตัวจากคนอื่น
B. ระดับความสามารถในด้านสำคัญๆ เช่น ด้านการทำงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือการดูแลตนเอง
ลดลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งด้าน
C. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมี active phase (ตามข้อ A) อย่างน้อยนาน 1 เดือน (อาจน้อยกว่านี้หากรักษาได้ผล) และรวมช่วงเวลาที่มีอาการในระยะ prodromal หรือ residual phase โดยใน ช่วง prodromal หรือresidual phaseอาการที่พบอาจเป็นเพียงอาการด้านลบ หรืออาการตามข้อ A ตั้งแต่2อาการ ขึ้นไป แต่แสดงออกแบบเล็กน้อย (เช่น คิดแปลกๆ หรือมีอาการรับรู้ที่ไม่ปกติแต่ไม่ถึงขั้นประสาทหลอน)
D.ต้องแยก โรคจิตอารมณ์โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วออก
E. ต้องแยกอาการโรคจิตที่เกิดจากโรคทางกายและสารเสพติดออก
F. ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภทก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ร่วมด้วย
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน : กลยุทธ์ 3 C
2.ด้านญาติ/ผู้ดูแล (Carer/ Care giver)
2.1 เรียนรู้ทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
2.2 ดูแลสภาจิตใจตนเองไม่ให้เครียด
2.3 ฟื้นฟูทักษะในการดูแลตนเอง
2.4 เฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ
ด้านผู้ป่วย (Client)
1.1 ส่งเสริมให้มีการกินยาต่อเนื่อง
1.2 ฟื้นฟูทักษะในการดูแลตนเอง
1.3 เฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ
1.4 ดูแลให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน
3.ด้านบริการชุมชน (Community service)
3.1 ยอมรับ เข้าใจผู้ป่วย
3.2 ผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มองการเจ็บป่วยว่าเป็นปัญหา/ความทุกข์ของชุมชน
3.3 สนับสนุนให้มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน สร้างอาชีพ เพื่อสามารถพึ่งพาตนเองได้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic theories)
ทฤษฎีของ Margaret Mahler ที่มองว่าในวัยเด็กผู้ป่วย schizophrenia มีรูปแบบความสัมพันธ์กับมารดา (mother - child relationship) ที่ไม่ดีนัก มีความใกล้ชิดที่มากเกินไป จนต้องอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงตลอดเวลา ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่เก็บแม่หรือวัตถุใดๆไว้ในใจ (object consistency) แม้ว้าแม่หรือวัตถุนั้นไม่ได้อยู่ในสายตาแล้วก็ตาม ทำให้ตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาผู้ป่วยไม่สามารถสร้างคามรู้สึกปลอดภัย (secure) ขึ้นภายในจิตใจตัวเองได้
ทฤษฎีของ Sigmund Freud เชื่อว่ามีความผิดปกติของ mental development ของผู้ป่วยschizophrenia ตั้งแต่ระยะก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบประสาท ทำให้ ego funcion ของผู้ป่วยมีผิดปกติแตกแยก และกลับสู่ช่วงวัยที่ egoยังไม่ได้เกิดขึ้น และเนื่องจากหน้าที่ส่วนหนึ่งของ ego คือการแปลความจริง (interpretation of reality) และคอยควบคุมแรงขับเคลื่อนภายใน (control internal drives เช่น sex และ aggression) ซึ่งหากไม่มี ego แล้วนั้น ความขัดแย้งภายใน (intrapsychic conlicts) และแรงขับเคลื่อนต่างๆ ก็จะแสดงออกเป็นอาการ psychotic ต่างๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้(Learning theories
ตามทฤษฎีการเรียนรู้เชื่อว่าผู้ป่วย schizophrenia จะเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์แบบไร้เหตุผล ทักษะการเข้าสังคมที่ไม่ดี และการมีวิถีคิดที่ผิดปกติ ตั้งแต่วัยเด็กผ่านการมีพ่อแม่เป็นแบบอย่าง
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์
(Biomedical Model หรือ Medical Model)
เชื่อว่าการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจเป็นผลจากความผิดปกติของโครงสร้างสมอง และสารชีวเคมีในสมอง
เอมิล เครพพลิน (Emill Kraepelin)
เชื่อว่าสาเหตุความเจ็บป่วยทางจิตมาจากความผิดปกติทางร่างกาย
อดอล์ฟ เมเยอร์ (Adof Meyer)
เชื่อว่าบุคคลเป็นหน่วยรวมของร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเจ็บป่วยของบุคคลเป็นผลมาจากพยาธิสภาพของร่างร่าง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น เนื่องจากมีความผิดปกติด้านการรับรู้
subjecttive
จอห์นเชื่อว่าตนเองเป็นสายลับ และกำลังถูกปองร้าย
จอห์นเห็นภาพหลอน และคิดว่าภาพหลอนนั้นจะไปทำร้ายภรรยาของเขา
จอห์นปล่อยลูกทิ้งไว้ในอ่างอาบน้ำเพราะคิดว่ามีคนอยู่กับลูก
4.จอห์นคิดว่าพาร์เชอร์คนที่เขาทำงานด้วยจะมาทำร้ายครอบครัว เขาจึงเข้าไปปัดโทรศัพท์จากภรรยาเพื่อป้องกันไม่ให้ภรรยาได้รับอันตราย
objecttive
จอร์นมีพฤติกรรมทำลายของโดยการโยนโต๊ะทำงานของตนเองออกจากหน้าต่างห้องของตน
จอร์นมีพฤติกรรมก้าวร้าว
จอห์นใช้ศีรษะตนเองโขกกับหน้าต่าง
จากการตรวจสภาพจิตหัวข้อการรับรู้เกี่ยวกับตนเองจอห์นยอมรับว่าตนเองแตกต่าง ตนเองแสดงพฤติกรรมแปลก เพราะต้องรักษาความลับทางการทหารและมีคนจะมาทำร้าย
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้กล้าพูดเปิดใจถึงความคิด ความรู้สึก
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยหรือใช้เทคนิคในสร้างสัมพันธภาพสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย ได้แก่ ประเมินลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก ลักษณะของคำพูด การรับรู้และประสาทหลอน ความคิดหลงผิด ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความสามารถในการรับรู้กาลเวลา สถานที่ บุคคล
พยาบาลต้องยอมรับในความคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่ควรโต้แย้ง หรือท้าทายว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่จริง พยาบาลไม่ปฏิบัติตามที่ผู้ป่วยเชื่อ และไม่ควรนำคำพูดของผู้ป่วยไปพูดล้อเล่น เช่น ถ้าผู้ป่วยถามว่าพยาบาลเห็นหรือได้ยิน เช่นเดียวกับผู้ป่วยหรือไม่พยาบาลควรตอบให้ผู้ป่วยรู้ว่าพยาบาลไม่เห็นหรือไม่ได้ยิน
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Thorazine 30 mg IM q 6 และ Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn hrs. ตามเวลาที่แพทย์สั่งและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
ลดโอกาสในการเกิดอาการประสาทหลอนต่างๆ โดยการสนทนากับผู้ป่วยด้วยถ้อยคำทีชัดเจนเรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม มีบรรยากาศผ่อนคลาย อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่เป็นมุมอับเพื่อช่วยลดภาวะเครียดของผู้ป่วยลง
ให้ความรู้แก่ญาติให้เข้าใจในความเจ็บป่วย ช่วยประคับประคองด้านอารมณ์และเพื่อการมีส่วนร่วมใน
การรักษา
2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง เนื่องจากมีการหวาดระแวง
subjecttive
ผู้ป่วยบอกว่ามีคนสะกดรอยตาม และถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
ผู้ป่วยบอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย
objective
ผู้ป่วยนั่งกุมมือและบีบมือตัวเองเกือบตลอดเวลา สีหน้า วิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
เมื่อพูดถึงการเป็นสายลับจะพูดรัวเร็ว
มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้กล้าพูดเปิดใจถึงความคิด ความรู้สึก (ได้ทุกปัญหา)
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยหรือใช้เทคนิคในสร้างสัมพันธภาพสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
ผู้ป่วยที่มีความหวาดระแวงในบางสิ่ง เช่น มีคนจะลอบฆ่า พยาบาลต้องยอมรับในพฤติกรรมหวาดระแวง ไม่โต้แย้ง ต่อต้าน และจัดบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย การให้ความจริงกับผู้ป่วยจะกระทำได้ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยรับได้ การให้เหตุผลเพียงอย่างเดียวผู้ป่วยอาจไม่เชื่อถือพยาบาลอาจจะต้องแสดงพฤติกรรมให้ผู้ป่วยแน่ใจด้วย เช่นชิมอาหารให้ดู เป็นต้น
ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย ได้แก่ ประเมินลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก ลักษณะของคำพูด การรับรู้และประสาทหลอน ความคิดหลงผิด ความสามารถในการควบคุมตนเอง
5.. การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูดให้ข้อมูลอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการจ้องมอง
ผู้ป่วยหวาดระแวงจะมีความเคลือบแคลงสงสัยไม่แน่ใจในการพบปะผู้คนหรือการเข้าร่วมกิจกรรม โดยออกมาในรูปแบบของการแยกตัวเอง รุกรานผู้อื่นก่อนเพื่อป้องกันตนเองหรือกล่าวหาผู้อื่น กล่าวหาว่ากิจกรรมบำบัดกลุ่มไม่น่าสนใจพยาบาลต้องคอยสังเกตและระมัดระวังการก่อความวุ่นวาย การทำร้ายผู้อื่นและถ้าผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ควรชมเชยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ และภาคภูมิใจในตัวเอง
ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย และพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชนในการดูแลผู้ป่วย เช่น ให้ความรู้ผู้ป่วย ญาติ/ผู้ดูแลเรื่องสาเหตุ อาการ การดําเนินโรค การรักษาและผลข้างเคียงจากการใช้ ยาจิตเวช
3. มีแนวโน้มกลับมารักษาซ้ำเนื่องจากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
subjecttive
จอห์นหยุดยาเอง
จอห์นนำยาไปซ่อน
จอห์นบอกว่าการรับประทานยาทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันและอารมณ์ทางเพศลดลง
objective
หลังจากที่จอห์นหยุดรับประทานยา จอห์กลับมาเห็นภาพหลอนอีกครั้ง
การพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย ได้แก่ ประเมินลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก ลักษณะของคำพูด การรับรู้และประสาทหลอน ความคิดหลงผิด ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความสามารถในการรับรู้กาลเวลา สถานที่ บุคคล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Thorazine 30 mg IM q 6 และ Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn hrs. ตามเวลาที่แพทย์สั่งและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
สอนทักษะการติดตาม การกำกับการ กินยาของผู้ป่วยให้แก่ อสม.ในพื้นที่เพื่อช่วยสนับสนุนกิจกรรมการพยาบาล
4. ครอบครัวไม่สามารถเผชิญกับการเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
subjecttive
ภรรยารู้สึกน้อยใจที่จอห์นไม่ให้ความสนใจตนเอง
ภรรยาไม่ได้ติดตามการรับประทานยาของจอห์น
ภรรยารู้สึกว่าจอร์นมีความรู้สึกทางเพศลดลง
objective
ภรรยามีสีหน้ากังวล เมื่อพูดคุยเรื่องการเจ็บป่วยของจอห์น
ภรรยาเขวี้ยงของแตก ตอนที่จอห์นไม่ยอมมีเพศสัมพันธุ์ด้วย
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย
เตรียมญาติในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โดยการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่ญาติเผชิญอยู่ การให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของอาการป่วยทางจิตเวช และการให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
3.แสดงการยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภททั้งด้านบวกและด้านลบ ได้แก่ พฤติกรรม อารมณ์ หากผู้ดูแลเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมต่างๆ แล้วควรยอมรับและให้อภัย ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจด้วยเหตุผล
ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย การร่วมมือในการรักษาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วย เช่น การช่วยเหลือด้านจิตใจ เช่น คนรอบข้าง ผู้รักษาจะให้คำแนะนำที่ผู้ป่วยสามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น ช่วยผู้ป่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาในแบบอื่นๆ ที่เขาพอทำได้
จัดให้มีหน่วยงานให้คำแนะนำ และช่วยแก้ปัญหาเมื่อครอบครัวเผชิญภาวะวิกฤติต่างๆเนื่่องมาจากการป่วยจิตเวช
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
มาตรา ๑๗
การบําบัดรักษาโดยการผูกมัดทางกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทําไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจําเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บําบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
จอห์นมีการทำร้ายตนเองโดยการจิกบริเวณข้อมือตนเองเพราะคิดว่าบนแขนมีรหัสลับ
จอห์นเห็นภาพหลอนแลัวหูแว่ว ทำให้จอห์นต้องใส่ใส่กุญแจมือเพื่อป้องกันการทำร้ายตนเอง
มาตรา ๑๘
การรักษาด้วยไฟฟ้า กระทำต่อสมองหรือระบบประสาทหรือการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใด ที่อาจเป็นผลทำให้ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวรให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
กรณีผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัดรักษานั้น โดยผู้ป่วยได้รับทราบเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรืออาจเป็นผลทำให้ไม่สามารถแก้ไขให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม และประโยชน์ของการบำบัด
กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยหากมิได้บำบัดรักษาจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัด
จอนห์นได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าบริเวณศีรษะ
มาตรา ๒๑
การบําบัดรักษาจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ปทวยได้รับการอธิบายเหตุผลความจําเป็น ในการบําบัดรักษา รายละเอียดและประโยชน์ของการบําบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย เว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา ๒๒
มาตรา ๒๒
บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้อง ได้รับการบําบัดรักษา
(๑) มีภาวะอันตราย
จอนห์มีพฤติกรรมเห็นภาพหลอนหวาดระแวงว่ามีคนจะมาทำร้ายตนและได้ปล่อยปะละเลยลูกให้อยู่กับชาลล์จนเกือบทำให้ลูกเสียชีวิต
(๒) มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
มาตรา ๒๓
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา ๒๒ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจโดยไม่ชักช้า
มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น คนที่พบเห็นจึงโทรเรียกเจ้าที่มารับตัว
มาตรา ๒๔
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือพบบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อถือว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา ๒๒ ให้ดำเนินการรวบบุคคลนั้นไปยังสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามมาตรา ๒๗ โดยจะมีผู้รับดูแลบุคคลดังกล่าวไปด้วยหรือไม่ก็ได้
อาจารย์ที่มหาลัยได้แจ้งให้หมอและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมารับตัวจอนห์ไปบำบัด
มาตรา ๒๖
ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าบุคคลนั้นขัดขวางหรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ให้มีอำนาจนำตัวบุคคลนั้นหรือเข้าไปในสถานที่ใดๆ เพื่อนำตัวบุคคลนั้นส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามาตรา ๒๗
จอนห์วิ่งหนีหมอและเจ้าหน้าที่ขณะที่พวกเขากำลังจะเขามาจับไปบำบัด
มาตรา ๒๙
เมื่อสถานบําบัดรักษารับบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่นําส่งตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม หรือแพทย์นําส่งตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสถานบําบัดรักษาตรวจ วินิจฉัยและประเมินอาการบุคคลนั้นโดยละเอียดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับตัวบุคคลนั้นไว้ ในกรณีที่คณะกรรมการสถานบําบัดรักษาเห็นว่าบุคคลน้ันมีลักษณะตามมาตรา ๒๒ ให้มีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ให้บุคคลนั้นต้องเข้ารับการบําบัดรักษาในสถานบำบัดรักษา
(๒) ให้บุคคลนั้นต้องรับการบำบัดรักษา ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานบําบัดรักษาเมื่อบุคคลนั้น ไม่มีภาวะอันตราย ท้้งนั้นจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ที่จําเป็นเกี่ยวกับการบําบัดรักษาให้บุคคลนั้น หรือผู้รับดูแลบุคคลนั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
จอห์นได้รับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาล จอห์นไม่อยากอยู่รักษาต่อจึงขอกลับไปรักษาต่อที่บ้าน
มาตรา ๓๒
ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้รับดูแลผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๒๙ (๒) หรือการบำ บัดรักษาไม่เป็นผล หรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุให้มีการออกคำ สั่งตามมาตรา ๒๙ (๒) เปลี่ยนแปลงไปคณะกรรมการสถานบำ บัดรักษาอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนคำ สั่งหรือมีคำ สั่งให้รับผู้ป่วย ไว้บำ บัดรักษาตามมาตรา ๒๙ (๑) ก็ได้ในกรณีผู้ป่วยตามมาตรา ๒๙ (๒) ดูแลตนเองไม่ได้และไม่มีผู้รับดูแล ให้นำ ความในมาตรา ๔๐ (๒) มาใช้บังคับ
หลังจากได้รับการบำบัดจนครบจอนห์ได้กลับมาบ้านแต่อาการไม่ดีขึ้นเมื่อเขารับรู้ได้ว่าบุคคลที่เขาเห็นไม่มีอยู่จริงเขาจึงเลือกที่จะบำบัดดูแลตัวเอง