Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 สถิติเชิงอ้างอิง - Coggle Diagram
บทที่ 11 สถิติเชิงอ้างอิง
ความหมายของสถิติเชิงอ้างอิง
สถิติเชิงอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาได้จากกลุ่มตัวอย่างแล้วอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อสรุปผลไปยังกลุ่มประชากรเป้าหมาย
ประเภทของการทดสอบสมมติฐาน
-การทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว
-การทดสอบสมมติฐานแบบสองทาง
ระดับความมีนัยสำคัญ
ระดับความมีนัยสำคัญ หมายถึง ระดับความเสี่ยงหรือความน่าจะเป็นในการที่ผู้วิจัยจะกำหนดให้มีโอกาสที่จะสรุปผลการวิจัยคลาดเคลื่อนในลักษณะของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1
การทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย
-การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว
-การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม
บริเวณวิกฤต
บริเวณวิกฤตหรือเขตปฏิเสธ หมายถึง ขอบเขตที่กำหนดตามระดับนัยสำคัญ ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่ในขอบเขตนี้จะถือว่าการทดสอบมีนัยสำคัญ
ประเภทของสถิติเชิงอ้างอิง
-สถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics)
-สถิตินันพาราเมตริก (Non-parametric Statistics)
ความคลาดเคลื่อนในการตัดสินใจ
-ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1
-ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 2
การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
การทดสอบสมมติฐาน เป็นกระบวนการที่นำไปสู่การสรุป ตัดสินใจว่าสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้เกี่ยวกับประชาชนนั้นถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิสูจน์หรือยืนยันผลการวิจัยที่คาดคะเนไว้ ผลการทดสอบสมมติฐานอาจจะยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ก็ได้
การทดสอบความแปรปรวน
การทดสอบความแปรปรวนเป็นสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากรที่มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป โดยทดสอบหลายกลุ่มไปพร้อม ๆ กันในครั้งเดียว ซึ่งจะให้ผลดีกว่าและถูกต้องกว่าการทดสอบโดยเปรียบเทียบเป็นคู่ ๆหลายครั้ง
ระดับความเป็นอิสระ
ระดับความเป็นอิสระ หมายถึง จำนวนหรือค่าที่แสดงถึงระดับความเป็นอิสระของการผันแปรได้ตามเกณฑ์
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
-การกำหนดสมมติฐาน
-การกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ
-การกำหนดสถิติที่จะใช้ในการทดสอบ
-การหาค่าวิกฤต
-การคำนวณค่าสถิติ
-การสรุปผลการทดสอบ
ระดับความเชื่อมั่น
ระดับความเชื่อมั่น หมายถึง ความน่าจะเป็นในการยอมรับสมมติฐานศูนย์ที่ถูกหรือเรียก “สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น” ก็ได้
การทดสอบเกี่ยวกับสัดส่วน
-การทดสอบค่าสัดส่วนของประชากร 1 กลุ่ม
-การทดสอบค่าสัดส่วนของประชากร 2 กลุ่ม
การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร
การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร มีสถิติให้เลือกใช้หลาย วิธี เช่น สนะสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน สหสัมพันธ์แบบฟี สหสัมพันธ์แบบแครมเมอร์สวี สหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล เป็นต้น