Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 เหตุการณ์สําคัญของโลกในคริสต์วรรษที่20 และ 21 - Coggle Diagram
บทที่ 8 เหตุการณ์สําคัญของโลกในคริสต์วรรษที่20 และ 21
8.1 สงครามโลกครั้งที่ 1 (War I) ค.ศ.1941-1918
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1941 ถึงปี ค.ศ.1918 หรือเรียกว่า “สงครามครั้งยิ่งใหญ่” (Great
War) ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งนี้ขึ้น
8.1.1 สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในยุโรปทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง
และวัฒนธรรม
8.1.2 สภาพเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อเกิดการสร้างความเป็นมหาอํานาจขึ้นมาของประเทศต่างๆ แล้ว ต่างพยายามแสวงหาอํานาจด้วยการ
ขยายดินแดนออกไปทั้งในภาคพื้นทวีปและภาคพื้นทะเล
8.1.3 ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธไมตรีภาคี
8.2 สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War 2) ค.ศ.1939-1945
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความขัดแย้งที่ครอบคลุมทุกทวีป โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองพื้นที่หลัก คือทวีป
เอเชีย และทวีปยุโรปมีการระดมกําลังทหารมากกว่า 100 ล้านนาย
8.2.1 สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1939-1945 เนื่องจากนโยบายการ
ต่างประเทศและการดําเนินการทางการฑูตของประเทศมหาอํานาจในยุโรป
8.2.2 สภาพเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
วิกฤตการณ์ต่างๆ อันนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1931 มีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นหลายครั้ง
เนื่องมาจากการกระทําของประเทศเผด็จการเป็นสําคัญ
8.2.3 ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ทางด้านการเมือง
ทําให้ระบอบเผด็จการในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นแตกสลายตัวไป เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยเข้ามาแทนที่
และมีการตั้งศาลนานาชาติ เพื่อพิจารณาโทษอาชญากรสงคราม ที่ เมืองโตเกียวและนูเรมเบิร์ก
ทําให้เกิดลัทธิชาตินิยมทั่วไปในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้ต่อสู้จนได้รับเอกราช
ทําให้เกิดองค์การสหประชาชาติเพื่อจะสร้างสันติภาพถาวรของโลก และสหรัฐอเมริกาเลิกนโยบายเป็น
กลาง และกลายเป็นมหาอํานาจชั้นนําของโลกฝ่ายประชาธิปไตย
ทําให้เกิดการแข่งขันลัทธิทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต จนสงครามเย็นและ
สงครามจํากัดวง
โลกได้เข้าสู่ยุคนิวเคลียร์ ประเทศมหาอํานาจต่างๆ เช่นสหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ได้พยายามแข่งขันสร้างระเบิดปรมาณู หลังจากสหรัฐอเมริกาได้ใช้ระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่ 2
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก ตลอดจนการบูรณะประเทศใหม่
ทําให้สูญเสียชีวิตผู้คนและทรัพย์สินมากมาย เช่นจํานวนทหารที่เข้าสู่สงครามประมาณ 83 ล้านคน ตาย
บาดเจ็บ และทุพพลภาพประมาณ 56 ล้านคน
ทําให้ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัย เกิดปัญหาการอพยพและปัญหาผู้ลี้ภัยเนื่องจากบ้านเมืองกลายเป็นสนาม
รบ และถูกทําลายเสียหาย ต้องใช้เวลาและทรัพย์สินเงินทองเพื่อฟื้นฟูส่วนที่สูญเสียให้กลับคืนมา
8.3 สงครามเย็น (Cold War)
สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทําให้ชาติมหาอํานาจหลักของโลก ซึ่งเดิมมีอยู่ 7 ชาติ ลดลงเหลือมหาอํานาจชั้นหนึ่ง
ที่โดดเด่นจริงๆ เพียง 2 ชาติเท่านั้น มหาอํานาจเก่า 5 ชาติที่ถูกลดฐานะลงไป ได้แก่
อิตาลี/เยอรมนี/ญี่ปุ่น
เพราะประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่แพ้สงครามจึงได้รับความบอบช้ํา
และเสียหายอย่างหนัก
อังกฤษ/ฝรั่งเศส
แม้จะอยู่ในฐานะผู้ชนะสงคราม แต่ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
เช่นเดียวกัน จนยากที่จะกลับมาสู่ฐานะยิ่งใหญ่ดังเดิม
ดังนั้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกจึงเหลือมหาอํานาจที่โดดเด่นอยู่เพียง 2 ประเทศ เรียกว่าประเทศ
อภิมหาอํานาจ (Super Powers) คือสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
สหรัฐอเมริกา
เป็นผู้นําฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตย และยึดมั่นในระบบทุนนิยมเสรีและทรัพย์สิน
เอกชน
สหภาพโซเวียต
เป็นนําฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจแบบควบคุมและ
ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมเพราะคอมมิวนิสต์เชื่อว่าหากปล่อยให้มนุษย์แข่งขันกันโดยเสรี
8.3.1 สาเหตุสงครามเย็น
เกิดจากการแข่งขันขยายอิทธิพลของสองอภิมหาอํานาจ คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในด้าน
อุดมการณ์การปกครอง
ยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของทวีปยุโรปตกต่ําอย่างรุนแรง ผู้คนประมาณ
9 ล้านคน ต้องกลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ระบบการคมนาคมขนส่งถูกทําลาย
8.3.2 สภาพเหตุการณ์สงครามเย็น
ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1940 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในตุรกีและกรีซ (ทั้งสองประเทศเคยอยู่
ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษในช่วงก่อนสงคราม)
สงครามเย็นนอกยุโรป
ในการทําสงครามเย็นทําให้โลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายพยายามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อเรียกร้องความนิยมจาก
นานาประเทศ
8.3.3 ผลของเหตุการณ์สงครามเย็น
ภายหลังการตายของ โจเซฟสตาลิน ผู้นําพาความยิ่งใหญ่มาสู่สหภาพโซเวียต นิกิต้าครุสชอฟ ได้เข้ารับ
ตําแหน่งผู้นําสหภาพโซเวียต
ค.ศ. 1962 สหรัฐอเมริกาตรวจพบฐานยิงจรวดบนเกาะคิวบา จอห์น เอฟ เคนเนดี้ประธานาธิบดีของ
สหรัฐอเมริกาได้มีคําสั่งให้ปิดล้อมคิวบาทางทะเล
ค.ศ. 1987 มิคาอิลกอร์บาชอฟ ผู้นําของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้เสนอแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ
8.4 โลกาภิวัตน์ (The Globalized World)
หลังจากสงครามเย็นได้สิ้นสุดลง แนวคิดแบบประชาธิปไตยกับแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ที่พยายามแข่งขันกันได้สิ้นสุดลง
เช่นเดียวกัน
8.4.1 สาเหตุของโลกาภิวัตน์
นับว่ามีปัจจัยสําคัญหลายอย่างที่ทําให้เกิดความเป็นโลกาภิวัตน์ขึ้น การปฏิวัติเทคโนโลยีการคมนาคมและข่าวสาร การ
ติดต่อสื่อสารของคนจนทําให้ผู้คนมีความรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น
8.4.2 สภาพของเหตุการณ์โลกาภิวัตน์
การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจําวันมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ไอแพค เป็นต้น เพราะ
เป็นเครื่องมือที่สามารถรับและส่งข้อมูลต่างๆ
8.4.3 ผลของเหตุการณ์โลกาภิวัตน์
ด้านเศรษฐกิจ เกิดทุนนิยมทางด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือกระบวนการหรือรูปแบบการลงทุนและการผลิตเน้นใน
ปริมาณมาก โดยใช้กลไกของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง
8.5 เหตุการณ์สําคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21
8.5.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ได้กล่าวมาเกิดขึ้นในช่วงระหว่างค.ศ. 1841 –1970อย่างไรก็ดีการพัฒนาเทคโนโลยี
ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการวิวัฒนาการและค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งตั้งแต่ ค.ศ.1970
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์
จอห์น ไนซ์บิตต์ กล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหม่ทางสังคมโลกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศทําให้การกระจายข้อมูล
ข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีลักษณะการกระจายแบบทุกทิศทาง
สังคมออนไลน์
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยชุมชนออนไลน์ อาทิ Linux Apache FireFoxเป็นซอฟต์แวร์ที่นักคอมพิวเตอร์อิสระทั่วโลก
ช่วยกันพัฒนาขึ้นมา
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)
เครื่องจักรที่สามารถทํางานได้เหมือนคน เช่น หุ่นยนต์(Robot) ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและ
รูปร่างแตกต่างกันหุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทํางานในด้านต่าง ๆ
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) คือเครื่องมือที่ทํางานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียม
อย่างน้อย 4 เพื่อระบุพิกัดตําแหน่งบนพื้นโลก
การสื่อสารมวลชน
ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 หน้าที่ของสื่อมวลชนในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือการสร้างความร่วมมือร่วมใจ (To mobilize) ให้
เข้าร่วมสงคราม
8.5.2 ภัยพิบัติ(Disaster)
ภัยพิบัติ (Disaster) เป็นภัยที่เกิดขึ้นแก่สาธารณชน ซึ่งมีความหมายตาม มาตรา 4ของ พระราชบัญญัติป้องกันฝ่ายพล
เรือน พ.ศ. 2550คํานิยาม “สาธารณภัย”
ประเภทแรก ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster) เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ชีวิตร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน เช่น
ภัยธรรมชาติด้านน้ํา
อุทกภัย(Flood) หมายถึง อันตรายจากน้ําท่วม อันเกิดจากระดับน้ําในทะเล มหาสมุทร หรือแม่น้ําสูงมากจนท่วมท้นล้น
ฝั่งและตลิ่ง ไหลท่วมบ้านเรือน
ภัยธรรมชาติด้านลม
วาตภัย (Storms) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทําให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้และ
สิ่งก่อสร้าง
ภัยธรรมชาติด้านไฟ
ไฟป่า (Wildfire) หมายถึง ภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า หรืออาจเกิดจากมนุษย์ ได้แก่ การเผาหา
ของป่า เผาทําไร่เลื่อนลอยเผากําจัดวัชพืช
ภัยธรรมชาติด้านดิน
ภูเขาไฟระเบิด (Volcano)การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดงให้เห็นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่งมีความร้อนสะสมอยู่
มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า“จุดร้อน”
ประเภทที่สองคือภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ ( Manmade Disaster ) เนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์เพื่อ
ความสุขสบาย หรือเพื่อการสงคราม ประกอบไปด้วย
ภัยจากอุบัติเหตุทางคมนาคม
เช่น
ทางบก เช่น รถชนกัน รถพลิกคว่ํา รถตกเหว รถไฟตกราง
ทางน้ํา เช่น เรือล่ม หรือเรือชนกัน
ทางอากาศ เช่น เครื่องบินตก เครื่องบินชนกัน เครื่องบินระเบิด