Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเนื้อหาการพยาบาลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บทรวงอก concept mapping - Coggle…
สรุปเนื้อหาการพยาบาลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บทรวงอก concept mapping
สาเหตุของภยันตรายของทรวงอก
อุบัติเหตุทางจราจร
การตกจากที่สูง
การถูกยิง
ถูกแทงหรือถูกของมีคม
การเปลี่ยนแปลงกลศาสตร์ของปอดในผู้บาดเจ็บทรวงอก
การเปลี่ยนแปลงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับผนังทรวงอกเยื่อหุ้มปอด เนื้อปอด ถุงลมปอด หลอดเลือดของปอด รวมทั้งกระบวนการไหลเวียนของหลอดเลือดบริเวณถุงลมปอด
ผู้ที่มีบาดแผลทะลุเข้าทรวงอกหน้า อาจทะลุลึกถึงกับทำลายอวัยวะภายในทรวงอก ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดและลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้ร่างกายพร่องO2
ภาวะอกรวน (Flail Chest)
โดยขณะที่หายใจเข้าผนังทรวงอกข้างที่ปกติจะขยายตัวออกแต่ผนังทรวงอกข้างที่ได้รับภยันตรายจะยุบลงและขณะหายใจออกผนังทรวงอกข้างที่ปกติจะยุบลงแต่ผนังทรวงอกที่ได้รับภยันตรายกลับจะโป่งพองขึ้น
ภาวะปอดช้ำ(Lung Contusion)
พบว่าปอดมีลักษณะบอบช้ำมีสีแดงคล้ายตับปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักมากขึ้นและแข็งขึ้นกว่าปกติ ถ้าบีบปอดส่วนที่มีรอยช้ำ จะมีน้ำปนเลือดไหลออกมา
ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด(Pneumothorax)
Simple Pneumothorax คือ ภาวะที่มีลมใยเยื่อหุ้มปอด ไม่มีเเหละทะลุ
Open Pneumothorax คือมีลมในเยื้อหุ้มปอดผ่านทางบาดแผลที่ทะลุทรวงอก
Tension Pneumothorax คือการที่มีลมในเยื้อหุ้มปอดขณะหายใจเข้าเเต่ไม่สามารถเอาลมออกได้ ทำให้เบียดปอดข้างนั้นแฟบลง
ภาวะเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax)
คือการที่มีเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาวะนี้จะขัดขวางการขยายตัวของปอดและถ้ามีการเสียเลือดมากๆ
การประเมินกลศาสตร์ของปอด
ประเมินการตอบสนองของการรักษา และความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อช่วยหายใจ
ในปัจจุบันการประเมินกลศาสตร์ของปอดในผู้บาดเจ็บที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบควบคุมปริมาตร สามารถประเมินได้ง่ายโดยอ่านจากจอมอนิเตอร์ของเครื่องช่วยหายใจ แล้วนำมาแปลผลกับอาการทางคลินิก จึงนิยมใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังอาการและปรับเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะสมกับสภาพผู้บาดเจ็บ และใช้เพื่อประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ค่าดัชนีการหายใจแบบตื้นเร็ว (rapid shallow breathing index: RSBI) เป็นค่าที่ประเมินได้ง่าย มีความแม่นยำ และนิยมใช้ในกลุ่มนักปฏิบัติมากที่สุด
ชุดสำหรับใส่ท่อระบายทรวงอก(Chest drain)
ระบบขวดเดียว(ขวด Subaqueous) ใช้สำหรับระบายอากาอย่างเดียวโดยไม่มีสารน้ำ หรือ มีน้อย
ระบบสองขวด (ขวด Reservoir และขวด Subaqueous)ใช้สำหรับระบายอากาศและสารน้ำแต่ไม่มีแรงดูดจากภายนอก
ระบบสามขวด(ขวด Reservoir, ขวด Subaqueousและขวด Pressure regulator) เหมือนระบบสองขวดเพียงแต่เพิ่มแรงดูดจากภายนอกโดยอาศัยเครื่องดูดสุญญากาศควบคุมความดันโดยระดะบน้ำ
การประเมิน (Assessment)
พิจารณาภาพถ่ายรังสีทรวงอกเกี่ยวกับลักษณะปริมาณของสารเหลว/อากาศที่อยู่ภายในช่องเยื่อหุ้มปอด
สังเกตและประเมินอัตราการหายใจ ลักษณะและอาการหอบเหนื่อย รวมถึงสัญญาณชีพอื่นๆและความอิ่มตวัของออกซิเจนในเลือด (O2 Saturation)
ความรู้ความเข้าใจเหตุผลความจำเป็นในการใส่ท่อระบายทรวงอก
การบันทึก (Documentation)
บันทึกวัน เวลา ที่ทำหัตถการ ลักษณะ สี ปริมาณของของเหลว (Pleural fluid) ที่ออกมา
บันทึกอาการ อาการแสดงของผู้ป่วยทั้งก่อนทำหตัถการขณะทำและหลังทำหตัถการ
ข้อควรระวัง (Special consideration)
การใช้เครื่องดูด (Continuous suction) จะใช้เมื่อต้องการให้ปอดขยายตัวเร็ว หรือเพราะมีลมรั่วในปอดมากโดยต้องต่อเครื่องดูดกับขวดควบคุมความดันลบ เพื่อให้ความดันลบคงที่เสมอและหากไม่ใช้เครื่องดูดนี้ไม่จำเป็นต้องต่อขวดควบคุมความดันลบ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยต้องใช้แรงในการหายใจมากในการดันน้ำล้นออกมาทางหลอดแก้ว หรือพิจารณาตามแผนการรักษาของแพทย์
ภายหลงัจากถอดท่อระบายไม่ควรเปิดทำแผลก่อน 48 ชั่วโมง
สายต่อจากท่อระบายไปยังขวด Reservoirต้องไม่ให้ยาวมากเกิน 45 ซม จนทำให้การระบายไม่สะดวกแต่ก็ไม่ควรส้ันเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
ระบบขวดระบายต่างๆจะต้องให้อยู่ต่ำกว่าตัวผู้ป่วย 2-3 ซม. เสมอโดยเฉพาะเวลาส่งผู้ป่วยไปทำการตรวจเพิ่มเติมหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและเวลาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำห้ามclampท่อระบายเด็ดขาด ยกเว้นเวลาเปลี่ยชวดระบายหรือขวดแตก
ดูแลระบบการระบายให้เป็นระบบปิดอยู่สมอ
การพยาบาล
ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอกที่มีอาการค่อนข้างจะรุนแรงการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD) ก็เป็นวิธีการรักษาอีกวิธีหนึ่งซึ่งมักพบควบคู่กัน เพราะฉะนั้นการดูแลที่ถูกต้อง แม่นยำ
อ้างอิง
กัญจนา ฤทธิ์แก้ว./(2553).//การเปลี่ยนแปลงกลศาสตร์ในผู้ป่วยบาดเจ็บในระยะวิกฤต.// โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
อาจารย์วาสนา ทรัพย์ประเสริฐ./(2564).//การพยาบาลผู้ป่วยด้วยความเอื้ออาทรและจิตใจของความเป็นมนุษย์ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพบุคคลวัยผู้ใหญ่ภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน.//มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
อาจารย์นายแพทย์ธีรพงศ์ โตเจริญโชค./(2564).//การใส่สายระบายทรวงอก (Chest tube insertion).//คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล