Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 81 ปี - Coggle Diagram
ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 81 ปี
ข้อมูลพื้นฐานสุขภาพ
โรคประจำตัวและการรักษา
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus: DM) : เข้ารับการรักษาคลินิกหมอชัชวาล (ศรีราชา) และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension: HT) : เข้ารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพระราม 9
โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia: DLP) : เข้ารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพระราม 9
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการผ่าตัดทางหน้าท้องเนื่องจากภาวะท้องนอกมดลูก เกิดอุบัติเหตุหกล้มภายในบ้าน 3 เดือนที่แล้ว มีประวัติแพ้ยา Penicillin อาการแพ้คือ มีผื่นคันขึ้นบริเวณใบหน้า และประวัติแพ้นมวัว รับประทานแล้วมีอาการท้องเสีย
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ไม่มีข้อมูล
ข้อมูลผู้ดูแล
ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม : ตลอด 24 ชั่วโมง โดยช่วยผู้สูงอายุประกอบอาหาร จัดยาให้ผู้สูงอายุ ดูแลทำความสะอาดบ้านและกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ
ระยะเวลาที่ดูแล (ตั้งแต่เริ่มดูแลถึงปัจจุบัน) : 4 ปี (พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)
ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย : ผู้ดูแล
ภาวะสุขภาพ : มีภาวะสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว
ผู้ดูแลหลัก ชื่อ คุณสง่า (พี่ขาว) เพศ หญิง อายุ 50 ปี การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 6
สิ่งแวดล้อมในบ้าน
สภาพภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก ผู้สูงอายุมีบ้าน 2 ชั้นมีพื้นที่หลังบ้าน มีต้นไม้และผักสวนครัวรอบบ้าน
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องกรองน้ำ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ ผู้สูงอายุใช้เครื่องกรองน้ำดื่ม
ลักษณะของส้วมที่ใช้ ผู้สูงอายุใช้ส้วมแบบชักโครก
การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ผู้ดูแลมีหน้าที่ในการกำจัดขยะ
สัตว์เลี้ยงที่มี ผู้สูงอายุเลี้ยงสุนัข 2 ตัว พันธุ์โกลเด้น และพันธุ์บางแก้ว
สภาพที่ตั้งที่อยู่อาศัย ไม่สามารถให้ข้อมูลได้
การคมนาคม ไม่สามารถให้ข้อมูลได้
ลักษณะชุมชน
จำนวนประชากร ไม่สามารถให้ข้อมูลได้
จำนวนครัวเรือน ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ อาชีพหลัก ค้าขาย
อาชีพหลัก ค้าขาย
สถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน มีการออกกำลังกายแอโรบิค
สภาพเศรษฐกิจ ไม่สามารถให้ข้อมูลได้
ศาสนาและความเชื่อ ศาสนาพุทธ
ประเพณี วัฒนธรรม งานวัด แห่เทียน วันไหล
ข้อมูลเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ
แบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ผู้สูงอายุมีการรับรู้สภาวะสุขภาพของตัวเอง มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่แหล่งบริการสุขภาพ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระราม 9, คลินิกหมอชัชวาล (ศรีราชา) และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา หากมีการเจ็บป่วยเล็กน้อยผู้สูงอายุก็ไม่ละเลย จะใช้สถานบริการสุขภาพแถวบ้าน และหากเกิดภาวะฉุกเฉินจะเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งผู้สูงอายุจะเดินทางไปโรงพยาบาลด้วยตนเองโดยการขับรถยนต์ส่วนตัว และผู้สูงอายุให้ประวัติแพ้ยานมวัวและแพ้ยา Penicillin
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่มี
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
ผู้สูงอายุชอบรับประทานอาหารปรุงเองที่บ้าน รับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อเช้าเวลา 09.00 น. – 10.00 น. มื้อกลางวันเวลา 14.00 น. และมื้อเย็นเวลา 18.00 น ผู้สูงอายุบอกว่าแพ้นมวัว และรับประทานเครื่องดื่มทำจากแป้งธัญพืชทุกเช้ามาเป็นเวลา 10 ปี โดยจะมีถั่ว 7 ชนิด ผสมกับข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต และข้าวสาลี ต้มรวมกัน นำไปบดใส่ถุงแล้วแช่แข็งทิ้งไว้ จากนั้นนำมาผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้ว รับประทานคู่กับแครอทและฟักทองอย่างละ 10 ชิ้น และกาแฟ 1 แก้ว ผู้สูงอายุซื้ออาหารถุงรับประทานบ้าง แต่ส่วนมากจะประกอบอาหารเองโดยมีผู้ดูแลช่วยในการประกอบอาหาร ซึ่งผู้สูงอายุรับประทานได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากต้องรับประทานอาหารรสจืดเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้มีความรู้สึกอยากอาหารลดน้อยลง และสำหรับการดื่มน้ำ ผู้สูงอายุดื่มน้ำอุ่นผสมคอลลาเจนทุกวันหลังตื่นนอน และดื่มน้ำในปริมาณ 1500-2000 ซีซีในแต่ละวัน
ผลการประเมินโดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA) ได้ 11 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
สรุปปัญหาที่พบ : เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
แบบแผนการขับถ่าย
ผู้สูงอายุ ขับถ่ายอุจจาระ 1-2 ครั้ง/วัน เป็นประจำ ลักษณะเป็นก้อนปกติ เคยมีอาการท้องผูก ใช้ยา Magesto-F ในการช่วยย่อยอาหาร และใช้ยาสมุนไพรมะขามแขก โดยจะรับประทานก่อนเข้านอน 1 เม็ด และผู้สูงอายุขับถ่ายปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง มีสีเหลืองปกติ ไม่มีอาการแสบขัด มีปัสสาวะราดเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว
ผลการประเมินโดยการใช้แบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผล มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่รุนแรงน้อย
แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปกตินอนหลับวันละ 8-9 ชั่วโมง เข้านอนเวลา 24:00 น. ตื่น 9:00-10:00 น. ผู้สูงอายุบอกว่าตนเองนอนหลับยาก ปกติหลังรับประทานอาหารเย็นจะขึ้นชั้น 2 ดูทีวีตลอด จะลงมานอนชั้น 1 ประมาณ 23.00 น. เริ่มนอนหลับ 00.00 น. แต่ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางดึก ช่วง 03.00 น. ให้ประวัติว่าใช้ยานอนหลับที่ลูกสาวนำมาให้ ผู้สูงอายุสวดมนต์ นั่งสมาธิก่อนเข้านอน มีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอุณภูมิร่างกายขณะนอนหลับ คือ ใส่เสื้อคลุม ถุงเท้า ผ้าพันคอ ห่มผ้านวม ให้รู้สึกอุ่น เปิดแอร์อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียสคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) = 10 คะแนน ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี
สรุปปัญหาที่พบ ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี นอนหลับยากและในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีการใช้ยานอนหลับ
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุมีความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ และออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน โดยจะเดินวันละ 30 ก้าว 20 รอบ พร้อมกับแกว่งแขน 500 ครั้ง แต่ถ้าวันไหนที่ไม่สามารถไปออกกำลังกายได้ ผู้สูงอายุจะออกกำลังกายบนเตียง โดยการบริหารข้อเท้า แขน และขา ผลการประเมินโดยการใช้แบบประเมินคัดกรอง Barthel ADL ได้คะแนนรวม 20 คะแนน
ผลการประเมินโดยการใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน ได้คะแนนเท่ากับ 6 แปลผลได้เสี่ยงต่อการหกล้ม สรุปปัญหาที่พบ : เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ผู้สูงอายุมีระดับการศึกษา ปวส. มหาวิทยาลัยบูรพา เคยประกอบอาชีพครู ผู้รับเหมา และนักบัญชี
การได้ยิน : ทำการทดสอบการได้ยินโดยการให้ผู้สูงอายุถูนิ้วห่างจากหูประมาณ 1 นิ้ว ผู้สูงอายุได้ยินเสียงดังทั้งสองข้างเท่ากัน
การมองเห็น : ใส่แว่นบางครั้ง เช่น ตอนอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ แต่เมื่อถอดแว่นก็สามารถมองเห็นสิ่งอื่นๆ ได้ชัด
การรับสัมผัส/ความสุขสบาย : เมื่อก่อนผู้สูงอายุมักจะปวดแขนและไหล่ ต้องให้ผู้ดูแลบีบนวดน้ำมันทุกคืน ช่วงหลังผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำ จึงปฏิเสธการปวดและชาบริเวณร่างกาย
ความจำ : สามารถเล่าเรื่องในอดีตได้แต่มีหลงๆลืมๆบ้าง เช่น ลืมชื่อยาที่รับประทาน คือยาระบายที่ใช่ประจำ (มะขามแขก)
ผลการประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE – Thai 2002 ในผู้สูงอายุ มีคะแนนมากกว่าจุดตัด คือ คะแนนรวม 25 คะแนน ไม่มีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depress Scale: TGDS) มีคะแนน = 4 คะแนน ประเมินผล คือ ปกติ
สรุปปัญหาที่พบ ผู้สูงอายุเริ่มมีอาการหลงลืม
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
เป็นคนมั่นใจในตนเอง มีระเบียบ คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จในชีวิต และมีลูกๆ ดูแล สามารถพอทำอะไรได้หลายๆอย่าง ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย คิดว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเจอ และพยายามปล่อยวาง ผู้สูงอายุมีแบบแผนการเผชิญปัญหาด้วยตัวเอง ถ้าแก้ปัญหานั้นไม่ได้จะปล่อยวาง
สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
ผู้สูงอายุเป็นเจ้าบ้าน มีผู้ดูแลเป็นผู้อาศัย อาศัยอยู่ในบ้านตนเองกับผู้ดูแล (รับจ้าง 1 คน) ซึ่งเป็นผู้ดูแลคนเดิมที่เคยดูแลสามีมาก่อน ผู้สูงอายุเป็นคนเข้มแข็ง เป็นหม้ายมา 4 ปี สามีเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด หลังจากนอนติดเตียงเป็นเวลา 10 ปี ด้วย stroke มีลูกสาว 4 คน ลูกคนที่ 2 ทำงานอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ส่วนคนอื่นๆ แต่งงานและย้ายออกไปอยู่กับครอบครัว แต่ลูกๆ ยังมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้สูงอายุ รายได้แต่ละเดือนได้รับจากลูกอย่างเพียงพอ เมื่อต้องไปโรงพยาบาล ถ้าเป็นโรงพยาบาลพระราม 9 ลูกจะเรียกรถแท็กซี่มารับที่บ้าน แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลใกล้บ้านจะขับรถยนต์ส่วนตัวไปเอง
สรุปปัญหาที่พบ ไม่มีปัญหาด้านบทบาทและสัมพันธภาพ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว (family support) และมีผู้ให้การดูแล (caregiver)
แบบแผนเพศสัมพันธ์
ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากสามีเสียชีวิต 4 ปีแล้ว ผู้สูงอายุได้รับการผ่าตัดมดลูก เนื่องจากท้องนอกมดลูกในครรภ์ที่ 5 ไม่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ประจำเดือนหมดช่วงอายุประมาณ 50 ปี ไม่มีอาการแสดงของวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ รักษาความสะอาดของร่างกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพของแบบแผนเพศสัมพันธ์
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
ไม่ค่อยมีความเครียดหรือวิตกกังวล เมื่อรู้สึกเครียดจะมีการออกกำลังกาย ปฏิบัติธรรม อ่านหนังสือเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ ถ้ามีปัญหาจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง แต่ถ้าแก้ปัญหานั้นไม่ได้จะปล่อยวาง
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) มีคะแนน = 3 คะแนน ประเมินผล คือ เครียดน้อย
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
นับถือศาสนาพุทธและเชื่่อในเรื่องของพระคุ้มครองจะสวดมนต์ก่อนออกจากบ้าน เพราะมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในระหว่างการขับรถ มีการปฏิบัติธรรมทุกวันพระที่บ้าน สวดมนต์ นั่งสมาธิ มีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องปกติของชีวิต
สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหาสุขภาพ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
O: มีคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) = 10 คะแนน แปลผล ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) มีคะแนน = 3 คะแนน ประเมินผล คือ เครียดน้อย และมีปัญหาการนอนหลับคือ นอนไม่หลับหลังจากเข้านอนนานกว่า 30 นาที มีอาการไอเล็กน้อย
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “เป็นคนนอนหลับยาก” จากการสอบถามผู้สูงอายุชอบดูภาพยนตร์ประเภทแนวสืบสวน มีการใช้ยานอนหลับ POLIZEP5 2 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา และตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางดึก
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ
เกณฑ์การประเมินผล
ได้รับคำแนะนำในการเลือกประเภทการรับชมภาพยนตร์ก่อนนอน
ได้รับคำแนะนำให้ถ่ายปัสสาวะก่อนเข้านอน
ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการสวดมนต์และนั่งสมาธิก่อนนอน
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในวัยผู้สูงอายุมีผลต่อคุณภาพการนอนที่ลดลง ได้แก่ แบบแผนการนอนหลับของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท reticular formation ทำหน้าที่ควบคุมการตื่นตัวและง่วงหลับ การลดลงของเซลล์ประสาท การส่งสัญญาณประสาทลดลง ทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของวัฏจักรชีพ (circadian rhythm) และมีการหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitters) ลดลง ได้แก่ ซีโรโทนิน เมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับ ทำให้มีการนอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งการลดลงของสารสื่อประสาทมีผลต่อวงจรการนอนหลับของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เวลาอยู่บนเตียงนานจึงหลับ ระยะหลับลึกลดลง มีการตื่นระหว่างการนอนหลับช่วงเวลากลางคืน ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี เนื่องจากนอนหลับยาก ใช้เวลาอยู่บนเตียงนานประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมงจึงจะหลับ มีการใช้ยานอนหลับ 2 ครั้ง ใน 1เดือนที่ผ่านมา ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางดึก มีการชมภาพยนตร์แนวสืบสวนก่อนเข้านอนและมีความเครียดอยู่ในระดับน้อย จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุรายนี้ (ศศิธร กรุณา, 2563)
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินคุณภาพการนอนหลับ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) และแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5)
วิเคราะห์ผลการประเมิน จากการที่ผู้สูงอายุรับชมภาพยนตร์แนวสืบสวนก่อนนอน ทำให้หลังรับชมแล้วยังมีการตื่นตัวอยู่ ผู้สูงอายุไม่มีการปัสสาวะก่อนเข้านอนและมีการสวดมนต์ก่อนเข้านอนเป็นบางครั้ง ไม่ได้ทำเป็นประจำ
ออกแบบการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ (ศศิธร กรุณา, 2563, ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล และ วรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช, 2563)
3.2 ให้คำแนะนำในการเลือกประเภทการรับชมภาพยนตร์ก่อนนอน หลีกเสี่ยงการชมภาพยนตร์ที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน
3.3 แนะนำผู้สูงอายุไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ หลัง อาหารเย็น และควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน
3.4 จัดสภาพแวดล้อม ห้องนอนให้ถูกสุขลักษณะ ให้เงียบสงบ สบาย สะอาด อากาศถ่ายเท แสงสว่างไม่มากเกินไป ควรสลัว จัดอุปกรณ์การนอนให้สะอาด และสามารถรองรับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเหมาะ สวมเสื้อผ้าที่สบายไม่คับหรือรัดแน่น
3.5 แนะนำให้ผู้สูงอายุทำจิตใจให้สบายก่อนเข้านอนเป็นประจำ เช่น การสวดมนต์หรือทำสมาธิให้จิตใจสงบ ปราศจากเรื่องกังวล จะทำให้หลับสบาย คุณภาพของการนอนดีขึ้น
3.6 แนะนำควรหลีกเลี่ยงการอยู่บนเตียงนาน ๆ ในกรณีที่นอนไม่หลับภายใน 20 นาที ให้ไปทำกิจกรรมอื่นที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือแล้วกลับมานอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วงนอน ไม่ควรฝืนต่อไปเพราะจะทำให้เกิดความกังวล
3.1 แนะนำให้ผู้สูงอายุเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลา ไม่ควรงีบหลับโดยเฉพาะหลังเวลา 15.00 น. แต่ถ้าง่วงมากงีบหลับระหว่างวันได้ไม่เกิน 60 นาที
กรณีปฏิบัติตามข้อปฏิบัติข้างต้น แต่ผู้สูงอายุยังนอนไม่หลับ หรือการนอนไม่หลับมีผลต่อสุขภาพ แนะนำให้ผู้สูงอายุพบแพทย์ และรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลา
หลีกเสี่ยงการชมภาพยนตร์ที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน
ไม่ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ หลังอาหารเย็น และปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน
ทำจิตใจให้สบายก่อนเข้านอนเป็นประจำ เช่น การสวดมนต์หรือทำสมาธิ
หากนอนไม่หลับภายใน 20 นาที ให้ไปทำกิจกรรมอื่นที่ผ่อนคลาย แล้วกลับมานอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วงนอน
หากมีปัญหาการนอนหลับ ผู้สูงอายุควรพบแพทย์
ปรเมินผล
4 ต.ค. 64
มีคะแนนประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) = 10 คะแนน ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) มีคะแนน = 3 คะแนน ประเมินผล คือ เครียดน้อย
6 ต.ค. 64 ผู้สูงอายุปัสสาวะก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เข้านอนเวลา 23.00 น. มีการใช้ยาคลายเครียดเพื่อช่วยให้นอนหลับ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงหลับ ตื่นประมาณ 7.00 น. ระยะเวลานอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมง ตื่นไปเข้าห้องน้ำช่วงเวลา 4.00 น.และ 6.00 น. ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหายใจติดขัด ไม่รู้สึกหนาวหรือร้อนจนเกินไป ไม่ฝันร้ายและไม่ปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่มีเสียงกรอบแกรบที่คอเล็กน้อย
7 ต.ค. 64
ผู้สูงอายุปัสสาวะก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เข้านอนเวลา 22.00 น. มีการใช้ยาคลายเครียดเพื่อช่วยให้นอนหลับ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงหลับ ตื่นประมาณ 7.00 น. ระยะเวลานอนหลับประมาณ 9 ชั่วโมง ตื่นไปเข้าห้องน้ำช่วง 24.00-6.00 น. ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหายใจติดขัด ไม่รู้สึกหนาวหรือร้อนจนเกินไป ไม่ฝันร้ายและไม่ปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่มีเสียงกรอบแกรบที่คอเล็กน้อย
จากการรับชมสื่อวิดีโอ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขอนามัยที่ดีของการนอนหลับ ผู้สูงอายุมีความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับสุขอนามัยที่ดีของการนอนหลับได้
กิจกรรมของผู้ดูแล
จัดสภาพแวดล้อม ห้องนอน ให้เงียบสงบ สบาย สะอาด อากาศถ่ายเท แสงสว่างไม่มากเกินไป ควรสลัว จัดอุปกรณ์การนอนให้สะอาด และสามารถรองรับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเหมาะ ดูแลให้ผู้สูงอายุสวมเสื้อผ้าที่สบายไม่คับหรือรัดแน่น
มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ข้อมูลสนับสนุน
O : ผลการประเมินแบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผลได้ มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่รุนแรงน้อย
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “เคยเดินทางไกลแล้วเข้าห้องน้ำไม่ทัน จึงทำให้มีอาการปัสสาวะราดเมื่อ 3 เดือนก่อน”
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาวะปัสสาวะไม่อยู่ชนิดราด กลั้นปัสสาวะไม่ทัน (Urge incontinence) เป็นภาวะหนึ่งในกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะมีการหดตัวอย่างแรงแบบนอกอำนาจจิตใจ เป็นความผิดปกติของการรับส่งกระแสประสาทไปยังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวไวกว่าปกติ และยับยั้งไม่ได้ ทำให้ต้องขับปัสสาวะออกมาทันที ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้บอกว่าเคยปัสสาวะราดเมื่อ 3 เดือนก่อน (วารี กังใจ, 2563)
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
เกณฑ์การประเมินผล
มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ได้ฝึกการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินแบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Muscle Exercise) มีขั้นตอนดังนี้ (วารี กังใจ, 2563)
ในขณะที่ถ่ายปัสสาวะ ให้กลั้นปัสสาวะให้หยุดไหล กล้ามเนื้อที่ใช้หยุดการไหลของปัสสาวะนั้นคือ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานส่วนหน้า
แนะนำให้ผู้สูงอายุเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานส่วนหน้า โดยขมิบกล้ามเนื้อรอบๆ แล้วเกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้นาน 3 วินาที โดยนับ 1-2-3 และคลายกล้ามเนื้อออกนาน 3 วินาที การเกร็งแล้วคลายกล้ามเนื้อนับเป็นการบริหาร 1 ครั้ง ทำติดต่อกัน 5 ครั้ง ระหว่างการบริหารกล้ามเนื้อ ให้ผู้สูงอายุหายใจเข้าออกตามปกติ อย่าเกร็งกล้ามเนื้อขาก้นและหน้าท้อง
แนะนำให้ผู้สูงอายุฝึกบริหารกล้ามเนื้อส่วนหน้าตามวิธีดังกล่าวให้ได้หลายครั้งๆ ครั้งติดต่อกัน เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องและเกิดความชำนาญ ถ้าผู้สูงอายุสามารถเกร็งและคลายกล้ามเนื้อได้นาน 3 วินาทีแล้วให้เพิ่มเวลาการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อเป็น 10 วินาที แต่ถ้าหากว่าผู้สูงอายุยังทำไม่ได้ในช่วงแรก อย่าเร่งรัด ให้ผู้สูงอายุค่อยๆ ฝึกต่อไป
ให้คำแนะนำการฝึกถ่ายปัสสาวะ (Bladder training) มีวิธีการดังนี้ (วารี กังใจ, 2563)
4.1 ทันทีที่ตื่นนอนในตอนเช้า ให้ผู้สูงอายุไปเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะ พยายามถ่ายปัสสาวะให้ออกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยใช้มือช่วยกดที่บริเวณหัวเหน่าเบาๆ
4.2 หลังจากนั้นเริ่มต้นการฝึกการถ่ายปัสสาวะตามตารางประจำสัปดาห์ เช่น ในสัปดาห์ที่ 1 มีเป้าหมายของการถ่ายปัสสาวะ คือ ผู้สูงอายุต้องถ่ายปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง ในตารางเวลาก็จะกำหนดเวลาไว้ให้ผู้สูงอายุถ่ายปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง ผู้สูงอายุต้องไปถ่ายปัสสาวะเมื่อถึงเวลากำหนด ถ้าถึงเวลากำหนดแล้วแต่ผู้สูงอายุยังไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ ก็ต้องไปเข้าห้องน้ำและพยายามถ่ายปัสสาวะ
4.3 ถ้าผู้สูงอายุรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะก่อนถึงเวลาที่กำหนด อย่ารีบไปเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะทันทีทันใด ให้กลั้นปัสสาวะไว้ก่อน โดยหายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง และขมิบช่องคลอดเร็ว ๆ หลาย ๆ ครั้งติดต่อกันจนกระทั่งความรู้สึกปวดปัสสาวะผ่านไปแล้วจึงถ่ายปัสสาวะตามเวลาที่กำหนด
4.4 ถ้าผู้สูงอายุมีปัสสาวะราด หรือถ่ายปัสสาวะก่อนถึงเวลาที่กำหนดในตาราง ให้เริ่มนับเวลาใหม่ คือ ต้องกำหนดการถ่ายปัสสาวะครั้งต่อไปในอีก 2 ชั่วโมงข้างหน้า
4.5. การฝึกการถ่ายปัสสาวะทำเฉพาะช่วงเวลากลางวันหลังจากส่วนเวลากลางคืนถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ
เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว แนะนำให้ผู้สูงอายุนั่งต่ออีกสักพัก สังเกตว่าปัสสาวะออกหมดหรือไม่ หากปัสสาวะรอบที่ 2 ออกมามากกว่า 30 cc ให้ปัสสาวะออกมาให้หมดเพื่อป้องกัน UTI
ให้ผู้สูงอายุบันทึกจำนวนครั้งที่ปัสสาวะภายใน 6 ชั่วโมง
ประเมินความรู้ ความเข้าใจหลังจากให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกการขับถ่ายปัสสาวะเป็นเวลาและการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของผู้สูงอายุ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุปฏิบัติตามคำแนะนำการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ผู้สูงอายุขับถ่ายปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง
ผู้สูงอายุจดบันทึกจำนวนครั้งที่ปัสสาวะภายใน 6 ชั่วโมง
ปรเมินผล
6 ต.ค. 64
ติดตามผลการบันทึกปัสสาวะในรอบ 6 ชั่วโมง เวลา 00.01-06.00 น. ปัสสาวะ 2 ครั้ง, เวลา 06.00-12.00 น. ปัสสาวะ 1 ครั้ง และเวลา 18.00-00.00 น. ปัสสาวะ 2 ครั้ง
ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยผู้สูงอายุเล่าว่า “ได้นำวิธีการขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไปแนะนำเพื่อนที่มีปัญหาปัสสาวะราด”
ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการฝึกการขับถ่ายปัสสาวะให้เป็นเวลาและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
5 ต.ค. 64
ติดตามผลการบันทึกปัสสาวะในรอบ 6 ชั่วโมง เวลา 18.00-00.00 น. ปัสสาวะ 2 ครั้ง
ติดตามผลการฝึกการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ผู้สูงอายุได้ฝึกในช่วงเช้า 2 ครั้ง, ช่วงเย็น 1 รอบ และเวลา 20.00 น. อีก 1 รอบ โดยทำรอบละ 1 ครั้ง เป็นเวลานานรอบละ 10 วินาที
7 ต.ค. 64
ติดตามผลการบันทึกปัสสาวะในรอบ 6 ชั่วโมง เวลา 00.01-06.00 น. ปัสสาวะ 2 ครั้ง, เวลา 06.00-12.00 น. ปัสสาวะ 1 ครั้ง
ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการฝึกการขับถ่ายปัสสาวะให้เป็นเวลาและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
มีสมรรถภาพสมองด้อยลงด้านความจำ
ข้อมูลสนับสนุน
O: ประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE – Thai 2002 ในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุปกติ เรียนระดับสูงกว่าประถมศึกษา มีคะแนนมากกว่าจุดตัด คือ คะแนนรวม 25 คะแนน ไม่มีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “เริ่มหลงลืมบ้าง
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
จากการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท สมองจะมีการสูญเสียสมองส่วนที่เป็นเนื้อสีขาว (white matter) ทำให้การทำงานของสมองลดลง มีปริมาณเลือดไหลเวียนที่สมองลดลง มีการสูญเสียเซลล์สมอง โดยเฉพาะสมองกลีบหน้า ส่งผลให้มวลน้ำหนักของสมองลดลง ช่องสมอง (vestricles) และรอยย่น (sulcus) กว้างขึ้น มีการสูญเสียและหดตัวของเซลล์ประสาท สารสื่อประสาทหลั่งน้อยลง และมีการสะสมของสารไลโปฟัสซินในเซลล์ประสาท สมองบางส่วนจะฝ่อตัวมากกว่าส่วนอื่น เช่น ส่วนหน้าที่ทำหน้าที่รับผิดชอบความคิดอ่าน สติปัญญาที่ กลีบสมองส่วนหน้า หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำที่ temporal cortex ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการเรียนรู้ลดลง ปฏิกิริยาตอบสนองช้า และมีการประมวลผลของข้อมูลต่างๆ ช้าลง ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้บอกว่าเริ่มมีอาการหลงลืมบ้าง ในระหว่างสอบถามข้อมูล ผู้สูงอายุลืมชื่อยาระบายที่รับประทานประจำ (มะขามแขก) และการตอบแบบสอบถาม MMSE ในข้อ recall ไม่สามารถตอบได้ (นัยนา พิพัฒน์วณิชชา, 2563).
เกณฑ์การประเมินผล
ฝึกบริหารสมองสองด้านด้วยท่าบริหารสมอง ได้แก่ ท่าจีบแอล
ฝึกความจำโดยการเล่นเกม Stroop Test และร้องเพลงแจวมาแจวจ้ำจึก
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภพสมอง
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE – Thai 2002 ในผู้สูงอายุ
ฝึกบริหารสมอง ดังนี้
ท่าจีบแอล มือขวาทำมือรูปจีบ มือซ้ายทำมือเป็นรูปแอล เมื่อทำได้ให้สลับมือเปลี่ยนเป็น มือขวาทำมือรูปตัวแอล มือซ้ายทำเป็นรูปจีบ
-ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบแอล
เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน ไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลให้มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
เพื่อกระตุ้นการทํางานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา (เกศรินทร์ ยาทรัพย์, ม.ป.ป )
ฝึกความจำโดยเกม Stroop Test ช่วยฝึกจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งภายใต้สภาวะความกดดันของการทำงานร่วมกันระหว่างสมองทั้ง 2 ซีก โดยสมองซีกขวาจะรับรู้เรื่องสีสัน ส่วนสมองซีกซ้ายจะรับรู้ตัวอักษร ซึ่งจะสามารถช่วยฟื้นฟูความทรงจำในคนวัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราได้อีกด้วย
วิธีการเล่น คือ
1) ตั้งสติให้ดี
2) ดูที่สีเป็นหลัก ไม่อ่านตามคำ
3) อ่านออกเสียง ตามสีที่เห็น (เช่น เห็นสีเขียว ก็อ่าน สีเขียว)
จัดกิจกรรมสันทนาการ “แจวมาแจวจ้ำจึก”
แนะนำการป้องกันภาวะสมองเสื่อม
5.1 รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเสี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง ควรรับประทานอาหารจำพวก ปลาทะเล อาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี และกรดโฟลิกให้มาก
5.2 ออกกำลังกายสม่ำเสมอเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
5.3 ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้สมองได้รับการกระทบกระเทือน
5.4 พักผ่อนให้เพียงพอ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
ฝึกบริหารสมอง คือ ท่าจีบแอล
ฝึกความจำโดยเกม Stroop Test และร้องเพลงแจวมาแจวจ้ำจึก
ออกกำลังกายสม่ำเสมอเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเสี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง
ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ
พักผ่อนให้เพียงพอ
ปรเมินผล
6 ต.ค. 64
ผู้สูงอายุได้รับการฝึกบริหารสมอง ท่าจีบแอล ในช่วงเช้า ผู้สูงอายุแสดงออกถึงความพยายามทำตาม ทำได้พอสมควรช่วงบ่ายผู้สูงอายุสามารถทำท่าจีบแอลได้ตรงตามผู้สอน ทำ 3 รอบ รอบละ 10 ครั้ง ผู้สูงอายุบอกว่ารอบแรกทำยาก และบอกว่าจะฝึกทำท่าจีบแอลต่อ
-ผู้สูงอายุได้รับการฝึกความจำ โดยทดสอบ stroop test ช่วงเช้าเล่นเป็นครั้งแรกผู้สูงอายุมีสับสนเล็กน้อย แยกสีโทนแดงส้ม ชมพูออกจากกันไม่ได้ แยกโทนสีน้ำเงินเขียวได้เล็กน้อย แต่ช่วงบ่ายผู้สูงอายุสามารถบอกสีที่มองเห็นได้เกือบทุกตัว แต่มีการแยกสีน้ำเงินและสีดำไม่ได้บางครั้ง จากการสอบถามความรู้สึกหลังเล่นเกมผู้สูงอายุบอกว่าตัดสินใจลำบากเรื่องสีเนื่องจากความเข้ม-อ่อนของสีคล้ายกัน แต่รู้สึกดีที่ได้ทำกิจกรรมนี้
ผู้สูงอายุสามารถมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม “แจวมาแจวจ้ำจึก” ช่วงเช้ายังร้องเพลงตามไม่ทัน เพราะจำเนื้อเพลงไม่ได้และคิดคำคล้องจองได้ 2 ครั้ง คือคำว่า “อาหาร”และ “คุณหนู” ช่วงบ่ายพยายามร้องเพลงแจว นึกคำสัมผัสคล้องจองกับชื่อนิสิต และขอจดชื่อนิสิตเพื่อหาคำคล้องจองมาร้องเพลงในวันถัดไป จากการสอบถามหลังจากร้องเพลงแจวผู้สูงอายุบอกว่ามีความสุข
4 ต.ค. 64
ผลการประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE – Thai 2002 ในผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุปกติ เรียระดับสูงกว่าประถมศึกษา มีคะแนนมากกว่าจุดตัด คือ คะแนนรวม 25 คะแนน ไม่มีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
7 ต.ค. 64
ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม “แจวมาแจวจ้ำจึก” สามารถร้องเพลงแจว คิดคำคล้องจองและจำชื่อนิสิตได้
ผู้สูงอายุจำท่าจีบแอลได้และทำตรงตามผู้สอน เริ่มทำท่าจีบแอลได้ดีขึ้น
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ข้อมูลสนับสนุน
O : จากแบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน (Thai Fall Risk Assessment Tool, Thai FRAT) ผู้สูงอายุได้คะแนนรวม 6 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงหกล้ม
S : ผู้สูงอายุให้ประวัติว่า "ประมาณ 3 เดือนก่อน หกล้ม หัวฟาดขอบเตียง เย็บ 4 เข็ม"
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
จากการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้ม ระบบประสาท เซลล์ประสาทและเซลล์สมองมีจำนวนลดลง ทำให้ประสิทธภาพการทำงานของสมองลดลง อวัยวะที่ช่วยในการเคลื่อนไหวทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทรงตัวได้ไม่ดี ปฏิกิริยาตอบสนองของม่านตาต่อแสงลดลงทำให้ปรับตัวสำหรับการเห็นไม่ดีโดยเฉพาะที่มืด สายตายาวมองภาพใกล้ไม่ชัด ลานสายตาลดลง ซึ่งผู้สูงอายุให้ประวัติว่า ประมาณ 3 เดือนก่อน เคยหกล้ม และผลการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม ได้คะแนนรวม 6 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันการหกล้ม
(ศศิธร กรุณา, 2563)
เกณฑ์การประเมินผล
ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันพลัดตกหกล้ม
ไม่เกิดอุบัติเหตุและไม่มีร่องรอยจากการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
สอบถามประวัติเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม
ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม จากแบบประเมินความเสี่่ยงต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน (Thai Fall Risk Assessment Tool, Thai FRAT)
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (ศศิธร กรุณา, 2563)
ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ในกรณีที่มีความบกพร่องในการเดินหรือการทรงตัว
แต่งกายด้วยเสื้อผ้าไม่หลวม ยาว ลุ่มล่าม รองเท้าใส่ได้กระชับพอดี ควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ยและขอบมน พื้นเป็นดอกยางเพื่อเกาะติดพื้นได้ดี และควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น
ฝึกการเดินและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน
จัดห้องพักสำหรับผู้สูงอายุบริเวณชั้นล่าง เมื่อต้องขึ้น-ลงบันได ควรเกาะราวบันไดทุกครั้ง
ดูแลพื้นห้องน้ำให้แห้งอยู่ตลอดเวลา ติดตั้งราวจับตั้งแต่ประตูจนถึงโถส้วมและที่อาบน้ำ ติดตั้งโถส้วมแบบนั่งห้อยขา
จัดวางของให้เป็นระเบียบ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน
ติดตั้งเตียงนอนแบบยกพื้นสูงจากพื้น ประมาณ 40-45 cm. หรือ ระยะข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ
จัดแสงไฟให้สว่างเพียงพอทั้งภายในบ้านและภายนอกบ้าน
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
ฝึกการเดินและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ในกรณีที่มีความบกพร่องในการเดินหรือการทรงตัว
แต่งกายด้วยเสื้อผ้าไม่หลวม ยาว ลุ่มล่าม รองเท้าใส่ได้กระชับพอดี ควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ยและขอบมน พื้นเป็นดอกยางเพื่อเกาะติดพื้นได้ดี และควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น
กิจกรรมของผู้ดูแล
ดูแลพื้นห้องน้ำให้แห้งอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน ดูแลแสงสว่างที่เพียงพอ ทั้งภายในและภายนอกบ้าน
ประเมินผล
ประเมินการทรงตัวของผู้สูงอายุโดยการยืนส้นเท้าต่อปลายเท้าอีกข้างให้เป็นเส้นตรง
ครั้งที่ 1 ผู้สูงอายุยืนต่อเท้าได้นาน 7 วินาที
ครั้งที่ 2 ผู้สูงอายุยืนต่อเท้าได้นาน 12 วินาที
มีแนวโน้มเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้สูงอายุไม่อยากอาหาร
ข้อมูลสนับสนุน
O : ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA) เท่ากับ 11 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ต้องรับประทานอาหารรสจืดเป็นส่วนใหญ่ ความรู้สึกอยากอาหารลดลง และทำให้กินอาหารได้น้อยลง”
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาวะขาดสารอาหาร (under nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ หรือไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ตามความต้องการ ภาวะขาดสารอาหารแบ่งเป็น ภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน และภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยในการรับรส ในผู้สูงอายุต่อมรับรส และ papilla ลดลง ปลายประสาทรับรสมีความไวในการรับรสลดลง การรับรสหวานจะสูญเสียก่อน รสเปรี้ยว เค็ม ขม จึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารรสจัดขึ้น หรือรับประทานอาหารไม่อร่อยและเบื่ออาหาร ส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยลง เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสี่ยงในการขาดสารอาหาร ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้ต้องรับประทานอาหารรสจืดเป็นส่วนใหญ่ ความรู้สึกอยากอาหารลดลง จึงรับประทานอาหารได้น้อยลง จากการประเมิน MNA = 11 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
(ศศิธร กรุณา, 2563)
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะขาดสารอาหาร
เกณฑ์การประเมินผล
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA) อยู่ที่ 12-14 คะแนน แปลผล มีภาวะโภชนาการปกติ
มีความรู้เกี่ยวกับอาการของภาวะขาดสารอาหาร
มีความรู้เกี่ยวกับเลือกรับประทานอาหารและสารอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินอี
กิจกรรมการพยาบาล
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาการของภาวะขาดสารอาหาร ได้แก่ มีความอยากอาหารลดลง ผมร่วง ซีด ใจสั่น เวียนศีรษะ อ่อนแรง รู้สึกเพลีตลอดเวลา เจ็บป่วยง่ายและหายใจช้ากว่าปกติ มีปัญหาในการย่อยอาหารและการหายใจ ชาที่ข้อต่อ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย หงุดหงิด มีอาการซึมเศร้าหรือรู้สึกหดหู่ใจ เป็นต้น
ให้คำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการและสารอาหารที่ผู้สูงอายุควรจะได้รับ (ศศิธร กรุณา, 2563)
โปรตีน ผู้สูงอายุมีความต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัม/น้ำหนักตัว(กิโลกรัม)/วัน เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อลีบ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ดาว นมถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ
คาร์โบไฮเดรต ควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ให้เพียงพอเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย เป็นต้น
ไขมัน ผู้สูงอายุต้องการพลังงานจากไขมันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นและวิตามินที่ละลายในไขมันเพียงพอ ควรลดหรือจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย น้ำมัน กะทิ ครีมเข้มข้น เป็นต้น
แคลเซียม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น ฟองเต้าหู้) ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาข้าวสาร) ผักใบเขียวเข้ม ผักสีส้ม (เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบยอ ฟักทอง แครอท)
ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันภาวะซีด โลหิตจาง และอาการเหนื่อยง่าย อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์สีแดง (เช่น สันในหมู เนื้อวัว) ผักใบเขียว กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ถั่วเขียว ถั่วแดง งาดำ เป็นต้น
โพแทสเซียม ทำหน้าที่รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาสมดุลของของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แหล่งอาหารที่มีโพแทสเซียม ได้แก่ กล้วย ส้ม ฝรั่ง ผลไม้แห้ง มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่ ผักโขม ข้าวโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการทำงานภายในร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ กระดูก แมกนีเซียมพบมากในเนื้อปลา ผักใบเขียว กล้วย และถั่วต่างๆ
วิตามินเอ ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก เป็นต้น
วิตามีนบี 12 เป็นวิตามินที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและเซลล์ระบบสมองและเส้นประสาท ถ้าขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและมีความเสี่ยงต่อภาวะความจำเสื่อม อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุกชนิด (เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู) ไข่ทั้งฟอง ปลา โยเกิร์ต เนยแข็ง นม เป็นต้น
วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม เป็นต้น
วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย วิตามินอีพบมากในอะโวคาโด ถั่วต่างๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหารทุกชนิด
วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกระดูก สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแสงแดด ร่างกายอาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารประเภทธัญพืช เห็ด และดื่มนมที่เสริมวิตามินดีเป็นประจำ
ประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะขาดสารอาหารและสารอาหารต่างๆที่ผู้สูงอายุควรได้รับ หลังรับฟังสื่อการให้ความรู้ เรื่อง ความสำคัญของภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ จากคำถามต่อไปนี้
“คุณป้าคิดว่าภาวะขาดสารอาหารเป็นอย่างไรบ้างคะ”
“คุณป้าต้องทานอาหารประเภทไหนบ้างเพื่อไม่ให้มีภาวะขาดสารอาหาร”
“คุณป้าลองบอกหนูได้ไหมคะว่า (ชื่อสารอาหารที่ป้าตอบข้อข้างต้น) มีอะไรบ้าง”
ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหารโดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment: MNA)
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
รับฟัง ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำ
กิจกรรมของผู้ดูแล
อำนวยความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบในการประกอบอาหาร
ประเมินผล
7 ต.ค. 64
ผู้สูงอายุมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของภาวะโภชนาการ และสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง