Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case Analysis - Coggle Diagram
Case Analysis
ปัญหาสุขภาพ
ทารกในครรภ์มีขนาดตัวเล็ก (SGA)
ภาวะ Hypotermia
ภาวะ polycythemia
ภาวะ Hypoglycimia
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ
อาจใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
ภาวะคลอดยาก
มีภาวะซีด
ทารกมีโอกาสเกิด Birth Asphyxia
มีโอกาสติดเชื้อและตกเลือดหลังคลอด
Elderly Gavidarum
เกิดการแท้ง
ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย (Low Birth weight)
มีโอกาสคลอดยาก
ทารกเกิดการตายคลอด
มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มีความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก
คลอดก่อนกำหนด (Preterm labour)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความรู้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากภาวะซีด
เกณฑ์การประเมิน
หญฺิงตั้งครรภ์สามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลย้อนกลับ
วัตถุประสงค์ มีความรู้เกี่ยวกับภาวะซีด
การพยาบาล
แนะนำเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (anemia in pregnancy)หมายถึง ภาวะที่มีการลดลงของเม็ดโลหิตแดง(red cell mass) ความเข้มของฮีโมโกลบิน
บอกถึงผลกระทบของภาวะโลหิตจาง ผลต่อมารดา สุขภาพทั่วไปอ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ถ้ารุนแรงอาจทำให้เกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้การตกโลหิต หรือเสียโลหิตเท่าคนปกติ แต่จะมีอาการแสดงของการตกโลหิตรุนแรงกว่า เกิดการช็อค (shock) ได้ง่ายแม้ว่าเสียโลหิตเพียงเล็กน้อย ผลต่อลูก ทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากมารดาต้องสิ้นสุดการตั้งครรภ์อาจมีปัญหาการเจริญเติบโต และ พัฒนาการน้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่าปกติเนื่องจากการนำสารอาหารจาก มารดาสู่ทารกได้น้อยลงทารกมีภาวะโลหิตจาง พิการหรืออาจตายตั้งแต่ในครรภ์หรือตายเมื่อแรกเกิด
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบ 5 หมู่ และให้รับประทานอาหารพวกโปรตีนเพิ่มมากขึ้นการพักผ่อน ควรได้พักผ่อนเต็มที่อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง และนอนพักหลังรับประทาน
อาหารกลางวัน วันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง การรับประทานยา ควรประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์การรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็ก โดยควรรับประทานในขณะที่กระเพาะอาหารว่าง คือ ก่อนรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อช่วยในการดูดซึมได้ดีการดูแลความสะอาดของร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะการติดเชื้อการประเมินสภาพของทารกในครรภ์ โดยการนับการดิ้นของทารกในครรภ์การฟังเสียงกาว เต้นของหัวใจทารก
ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : Htc ครั้งที่ 1 30.6% ครั้งที่ 2 31%
: Hb ครั้งที่ 1 9.9 g/dL ครั้งที่ 2 10.2 g/dL
ระดับยอดมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : G2P1A0 Last 2 years, GA 37 Weeks by U/S
ระดับยอดมดลูก 2/4 > สะดือ อายุครรภ์ 32 wks.
การพยาบาล
อธิบายให้ทราบเกี่ยวกับทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แผนการรักษาและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยเพื่อให้สตรีมีครรภ์เข้าใจและให้ความร่วมมือในการรักษา
2.แนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอโดยนอนตะแคงซ้ายเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงมดลูก
รับประทานที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเพิ่มโปรตีน
ให้สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์หากดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งควรรีบมาพบแพทย์
ติดตามระดับความสูงของยอดมดลูกและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของสตรีมีครรภ์
งดสูบบุหรี่และสารเสพติดชนิดอื่น
มีความรู้ไม่เพียงพอในการตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : มารดาอายุ41 ปี Elderly Pregnancy
O : ผลตรวจปัสสาวะพบ Sugar+1 น้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้น 3.2 kg.
วัตถุประสงค์
– หญิงตัั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมินผล หญิงตั้งครรภ์สามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลย้อนกลับได้
การพยาบาล
ประเมินความรู้ที่มารดามีในการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์
อธิบายและแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวกระตุ้นและแนะนำ ให้มีการฝากครรภ์ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์หรือเมื่ออายุครรภ์น้อย
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากรับทราบและเข้าใจถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ อธิบายความจำเป็นในการตรวจคัดกรองและการวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์เช่น การตรวจอัลตราซาวด์(ultrasonography) การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) และ
การเจาะเลือดจากสายสะดือของทารก(chorionicvillus sampling: CVS) เป็นต้น
แนะนำการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ทั้งด้านโภชนาการการปฏิบัติตนกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายขณะตั้งครรภและการสังเกตอาการผิดปกติที่ควรรีบมาโรงพยาบาลขณะตั้งครรภ์
สอนและเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากและมีโรคประจำตัวหรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์พื่อเป็นการส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์ที่มีมีอายุมากและทารกในครรภ์ปลอดภัย
ไม่สุขสบายจากปวดหลัง
ข้อมูลสนับสนุน
S :
O : ใช้มือจับบริเวณด้านหลัง แสดงสีหน้าไม่สุขสบาย
วัตถุประสงค์ บรรเทาปวดลดลงและมีความรู้เกี่ยวกับการปวดหลัง
เกณฑ์การประเมิน หญิงตั้งครรภ์สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับได้
การพยาบาล
อธิบายถึงอาการปวดหลังให้มารดาทราบว่าลุ่มอาการปวดหลัง ส่วนล่าง มักพบในไตรมาสที่๒ และ ๓ ของการตั้งครรภ์ ส่วนอาการปวดหลังส่วนบน (thoracic region) จะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ ๓นอกจากนั้นอาจพบอาการปวดบริเวณท้องน้อย กระดูกก้นกบ และปวดร้าวลงบริเวณ ต้นขาด้านหลังหรือสะโพก จากการที่ทารกในครรภ์กดทับเส้นประสาทบริเวณอุ้งเชิงกราน อาจปวดต้นขาข้าง เดียวหรือปวดทั้งสองข้าง
แนะนำการป้องกันและการบรรเทาอาการ
วางท่าทางและเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกต้อง เช่น ท่ายืน ท่านอนท่านั่ง ท่าหยิบของหรือท่าก้มเพื่อป้องกันอาการเคล็ดหรือปวดหลัง
พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ไม่ควรใช้ที่นอนนุ่มเกินไปและอาจ girdle พยุงหน้าท้องเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง
ออกกำลังกายและบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้า ท้อง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อขา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหลัง และช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างระหว่างการตั้งครรภ์ได้
หลีกเลี่ยงการยกของหนักและสวมรองเท้าส้นสูง เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังและน่อง
นวดบริเวณที่ปวด เป็นการกระตุ้นปลายประสาทขนาดใหญ่เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ทำให้มีการหลั่ง สารเอนโดรฟิน ส่งผลให้ความรู้สึกปวดลดลง รวมทั้งการนวดยังช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลดอาการบวมและอักเสบ
เปลี่ยนท่านอนขณะปวด ให้นอนท่ายกสะโพกสูง (knee chest) ในรายที่มีอาการปวดร้าวลงบริเวณ ต้นขาทั้งสองข้าง ถ้าเป็นข้างเดียวให้นอนตะแคงด้านตรงกันข้ามกับข้างที่เจ็บเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
ประคบด้วยความร้อน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัวของเนื้อเยื่อส่งผลต่อ ความสามารถในการเคลื่อนไหวและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
ข้อวินิจัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลเกียวกับสุขภาพทารกในครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S: หญิงตั้งครรภ์บอกว่า รู้สึกว่าท้องเล็กกว่าครรภ์แรก
O : ขนาดยอดมดลูก 2/4 > สะดืออายุครรภ์ 32 สัปดาห์
Estimate Fetal Weight
2,250 gms
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มารดาทราบและคลายความวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมินผล มารดาเข้าใจและมีสีหน้าสดชื่นผ่อนคลายวิตกกังวลลดลดลง
การพยาบาล
อธิบายถึงกระบวนการช่่วยเหลือทารกแรกเกิดโดยมีทีมกุมารแพทย์พยาบาลและเตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดให้พร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือในภาวะวิกฤตเพื่อให้มารดาคลายความวิตกกังวล
สนับสนุนให้ผู้รับบริการและบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมประคับประคองให้กำลังใจ เพื่อความคลายความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้มารดาระบายความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการของบุตร
เเนะนําหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้งและหากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ก่อนนัดได้ทันที
เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ซักถามข้อสงสัย และให้กำลัง
ขาดความตระหนักเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ข้อมูลสนับสนุน
S : หญิงตั้งครรภ์บอกว่า ขณะปกติไม่มีการออกกำลังกายก่อนมีการตั้งครรภ์แต่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเนื่องจากยังทำงานอยู่ ขณะตั้งครรภ์ ไม่มีการออกกำลังกาย
O : -
วัตถุประสงค์ ตระหนักถึงการบริหารร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน หญิงตั้งครรภ์สามารถตอบคำถามหรือให้ข้อมูลย้อนกลับถึงการบริหารร่างกายได้
การพยาบาล
อธิบายและให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ว่า กิจกรรมทางกายสำหรับสตรีในระยะตั้งครรภ์และสตรีในระยะหลังคลอดที่มีสุขภาพดีโดยแนะนำให้ทำกิจกรรมทางกายอย่างน้อย ๑๕๐ นาทีต่อสัปดาห์โดยเป็นกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็ว ๆแต่ไม่ควรออกกำลังกายมากเกินไป จนกระทั่งรู้สึกอ่อนเพลีย หรือออกกำลังกายชนิดที่เป็นอันตรายต่อสตรีและทารกในครรภ์ เนื่องจากการออกกำลังกายอย่างหนักขณะตั้งครรภ์อาจสัมพันธ์กับการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยแต่ถ้าออกกำลังกายระดับปาน กลางจะทำให้สตรีตั้งครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง และช่วยป้องกันภาวะเลือดคั่งที่ส่วนปลายของร่างกาย
แนะนำสตรีตั้งครรภ์ให้เห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย และกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมทั้งบอกถึงข้อห้ามการออกกำลังกายของสตรีตั้งครรภ์
ข้อห้ามในการออกกำลังกายของสตรีตั้งครรภ์ ข้อห้ามอย่างเด็ดขาด (absolute contraindications) ได้แก่ โรคหัวใจที่มีการทำงานของหัวใจไม่ดีอย่างชัดเจน โรคปอดที่มีการจำกัดการ ขยายตัวของปอด ภาวะปากมดลูกบวม การตั้งครรภ์ที่มีทารกมากกว่า ๑ คนขึ้นไป การมีเลือดออกทางช่อง คลอดในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ ภาวะรกเกาะต่ำในการตั้งครรภ์ครั้งนี้มีอาการคลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตก ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และภาวะซีดรุนแรงมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า ๗ กรัม/เดซิลิตร
แนะนำแนวทางการออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรออกกำลังกายก่อนรับประทานอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ความดันโลหิตไม่ควรเกิน ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท
ควรออกกำลังกายระดับเบาถึงปานกลาง และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตลอดสัปดาห์ ดีกว่าการออกกำลังกายเป็นเวลานานๆ ภายในหนึ่งวัน
มีความรู้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด
ข้อมูลสนับสนุน
S : หญิงตัังครรภ์บอกว่าต้องการคุมกำเนิดแบบยาคุม
O : -
วัตถุประสงค์ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด
เกณฑ์การประเมินผล มารดาสามารถบอกเกี่ยวกับการใช้ยาฉีดคุมกำเนิดและระยะเวลาในการมาฉีดยาคุมกำเนิด
การพยาบาล
อธิบายและแนะนำเกี่ยวการฉีดยาคุมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ ข้อบ่งชี้ ข้อดี ข้อเสีย ข้อห้าม การแนะนำในการฉีดยาคุมฉุกเฉิน
ข้อบ่งชี้ 1. เหมาะสำหรับสตรีที่มีอายุไม่เกิน 50 ปี และมีบุตรที่มีชีวิตอยู่อย่างน้อย 1 คน 2. หากมีประวัติเลือดออกกะปริดกะปรอยหรือประจำเดือนมาไม่ปกติควรส่งพบแพทย์ก่อน 3. สำหรับผู้ที่มักลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น มารดาให้นมบุตร ผู้ที่สูบบุหรี่อายุมากกว่า 35 ปี
ข้อดี
ใช้ง่าย สะดวก
ช่วยป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และรังไข่
ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม เหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียว จะไม่มีอาการข้างเคียงจากฮอร์โมน estrogen เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หน้าเป็นฝ้า
ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมช่วยให้มีประจำเดือนมาทุกเดือน
ข้อเสีย
ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะมีอาการข้างเคียง ดังนี้
เลือดออกกะปริดกะปรอย ภายหลังฉีดเข็มแรกๆ หากเลือดออกกะปริดกะปรอยนานๆอาจทำให้เกิดโลหิตจางได้ ควรปรึกษาแพทย์
ไม่มีประจำเดือน เนื่องจากยาฉีดคุมกำเนิดทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อและบาง หลังหยุดฉีด 9-12 เดือน ร่างกายจะกลับคืนสภาพเดิม
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลของฮอร์โมนกระตุ้นต่อมความอยากอาหาร ดังนั้นสตรีที่มีรูปร่าง อ้วนอยู่แล้วไม่ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่มีน้ำหนักลดลง
อาการปวดศีรษะอาจพบได้บางราย แต่ไม่รุนแรงและหายเองได้ไม่ต้องรักษา
เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่ ดังนั้นหากฉีดยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ควรได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี ตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (emotional changes) เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ซึ่งอาการ เหล่านี้มีค่อนข้างน้อย หากมีอาการควรซักประวัติ ตรวจร่างกายหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติม
ข้อห้าม
เลือดออกผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
สตรีที่ยังไม่เคยมีบุตร
โรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์มะเร็งเต้านม
โรคเบาหวาน
โรคตับ
โรคหลอดเลือดในสมองหรือหัวใจรุนแรง
สงสัยหรือมีการตั้งครรภ์
คำแนะนำในการฉีดยาคุมกำเนิด
การมารับบริการครั้งแรก ควรเริ่มฉีดในช่วงที่มีประจำเดือน หรือภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือน
ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียว ไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนม ดังนั้นหลังคลอดสามารถฉีดได้ทันที หรือ ฉีด 4-6 สัปดาห์หลังคลอด (ยกเว้นชนิดฮอร์โมนรวม)
ฉีดได้ทันทีหลังแท้ง หรือ 2-3 สัปดาห์หลังแท้ง
ควรมาฉีดยาคุมกำเนิดตามนัด (DMPA ฉีดทุก 84 วัน และ NET-EN ฉีดทุก 60 วัน) ในกรณีไม่สามารถมาตามนัดได้ไม่ควรมาก่อนหรือหลังกำหนด 2 สัปดาห์
หากมีเลือดออกผิดปกติ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะมาก ควรปรึกษาแพทย์
แนะนำภาวะเจริญพันธุ์ภายหลังหยุดใช้ยาจะมีประจำเดือนมาปกติภายใน 6 เดือน มากกว่าร้อยละ 50 และประจำเดือนมาปกติภายใน 1 ปี ร้อยละ 85 จากการศึกษาพบว่า หลังจากหยุดฉีดยาแล้วจะตั้งครรภ์ได้ช้ากว่าผู้หยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดและห่วงอนามัย ประมาณ 2-3 เดือน
8.ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา
ข้อมูลสนับสนุน
S : หญิงตั้งครรภ์บอกว่า เลี้ยงลูกคนแรกด้วยนมแม่
O : -
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา
เกณฑ์การประเมินผล
มารดามีทักษะเกี่ยวกับเทคนิคที่
ถูกต้องในการให้นมบุตร
มารดาสามารถบอกความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ได้อย่างถูกต้อง
การพยาบาล
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา โดยให้บุตรกินนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำ และให้นมมารดาต่อเนื่องเสริมควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี เพราะนมมารดามีประโยชน์ ดังนี้
ประโยชน์ต่อทารก
1) มีโปรตีนที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เพิ่มภูมิต้านทาน
2) มีไขมันที่เป็นกรดจำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น
3) น้ำตาลแลคโตส โดยพบว่าในนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์ หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น (Human Milk Oligosaccharides หรือ HMOs) มากกว่า 200 ชนิด และมีปริมาณมากกว่าปริมาณที่พบในนมวัวถึง 5 เท่า และยังพบอีกว่า HMOs ในน้ำนมแม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้
4) มีวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K และแร่ธาตุซึ่งได้แก่ เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น
5) มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินลำไส้ เส้นเลือด ระบบประสาท และระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต
6) นมแม่ย่อยและดูมซึมง่าย ช่วยระบบขับถ่ายลดอาการท้องอืด โคลิกช่วยให้อุจจาระง่าย
ประโยชน์ต่อมารดา
1) สะดวก ประหยัดรายจ่าย
2) ในช่วงที่แม่ให้นมลูกจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) ออกมาเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่หรือกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วยิ่งขึ้น
3) ขณะที่ร่างกายของแม่ผลิตนมให้แก่ลูกร่างกายจะต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติถึงเกือบ 500 Kcal ทำให้มีการดึงพลังงานจากไขมันที่สะสมในช่วงตั้งครรภ์มาใช้งาน ทำให้แม่กลับมามีรูปร่างที่ดีขึ้นเหมือนก่อนตั้งท้องได้
4) ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่
5) เป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติได้ประมาณ 70 วัน นับจากหลังคลอด และยังช่วยให้มารดาไม่ขาดธาตุเหล็ก เพราะมีระยะปลอดประจำเดือนนานขึ้น
6) เกิดความรักความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดา
อธิบายวิธีอุ้มบุตรอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้บุตรดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพและกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ ดังนี้
ใช้หลัก four key signs ของท่าในการให้นม ได้แก่
1) ศรีษะและลำตัวทารกอยู่ในแนวเดียวกัน
2) ตัวทารกหันเข้าหาเต้านม จมูกของทารกตรงกับหัวนมมารดา
3) ตัวของทารกชิดกับตัวของมารดา
4) นิ้วของมารดาไม่อยู่บนลานนมหรือใกล้กับหัวนม
ใช้หลัก four key signs ของการอมหัวนม ได้แก่
1) มองเห็นลานนมด้านบนมากกว่าด้านล่าง
2) ทารกอ้าปากกว้าง
3) ริมฝีปากล่างของทารกบานออก
4) คางทารกแนบหรือเกือบแนบกับเต้านมของมารดา
ความสำคัญของการดูดเร็ว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี จะช่วยกระตุ้นการสร้างและหลั่งน้ำนม ทำให้น้ำนมมาเร็วและเพียงพอต่อความต้องการของบุตร
แนะนำให้มารดารักษาเต้านมให้คงรูปทรง ด้วยการใส่ยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะ และสามารถพยุงเต้านมได้ดี เพื่อป้องกันการกดทับท่อน้ำนมและเต้านม
Diagnosis
G2P1 GA37 wks. by U/S termpregnancy,Elderly Gavidarum,malposition,right scapula Anterior, Small for gestational age,Anemia
หญิงไทย อายุ 41 ปี รูปร่างสมส่วน มีสีหน้ายิ้มแย้มขณะพูดคุย สวมชุดคลุมท้องหลวมๆ สวมรองเท้า
ส้นเตี้ย ขณะเดินหน้าท้องโย้ไปทางด้านหน้า ใช้มือจับบริเวณด้านหลัง แสดงสีหน้าไม่สุขสบาย
การตรวจครรภ์ทารกอยู่ในท่า RtScA, FHS = 150 bpm., Height of fundus = 32 cm., Estimate
Fetal Weight 2,250 gms.