Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การสริมสร้างคุณธรรมด้านการป้องกันการทุจริต : การทุจริตภัยคุกคามต่…
บทที่ 10 การสริมสร้างคุณธรรมด้านการป้องกันการทุจริต : การทุจริตภัยคุกคามต่อแผ่นดิน
ความหมายของคอร์รัปชั่น
คอร์รัปชัน (Corruption) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Corruption เป็นคำที่รู้จักกันดีทั่วไปมานาน แต่ความหมายของคำนี้มีหลากหลายต่างๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้ หลักการหรือมุมมองในทางศีลธรรม ทางการเมืองหรือทางเศรษฐศาสตร์ (Magavilla, 2012) ในมุมมองของพฤติกรรมหรือการกระทำนั้นคอร์รัปชัน อาจจัดเป็นอาชญากรรม (crime) ประเภทหนึ่ง ในบางกรณีคอร์รัปชันอาจจะถูกมองในความหมายที่แคบและต่างจากการโกง ยักยอก รีดไถ การขู่ โดยมองว่าคอร์รัปชันเป็นการกระทำของคนสองฝ่ายที่หาประโยชน์ร่วมกันจากฝ่ายที่สาม (Bowles, 1999) เช่น การติดสินบน
ดังนั้นคอรัปชั่น จึงเป็นการทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น การเห็นแก่ญาติพี่น้อง กินสินบน ฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ ที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรม
นิยามของการทุจริตคอร์รัปชัน อาจแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) นิยามการทุจริตคอร์รัปชันในบริบทสากลนิยามของ “การทุจริตคอร์รัปชัน” โดย พิจารณาในบริบทสากลนั้นอาจพิจารณาได้จากการให้ความหมายไว้ในพจนานุกรมต่างๆ เช่น ความหมาย ใน Black Law Dictionary (1979:50) ให้ความหมายของการคอร์รัปชันไว้ว่าหมายถึง “การกระทำที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำที่ชั่วช้าและฉ้อโกงโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่ขัดต่อตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิของผู้อื่นนอกจากนี้ยังหมายถึงการที่ข้าราชการบุคคลใด บุคคลหนึ่งซึ่งประชาชนไว้วางใจกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่โดยการรับหรือยอมรับประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น”
(2) นิยามการทุจริตคอร์รัปชันในบริบทสังคมไทยนิยามการทุจริตคอร์รัปชันในบริบท สังคมไทยในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 หน้า534 ระบุไว้ว่าทุจริตเป็นค านาม หมายถึง “ความประพฤติชั่ว คดโกง ฉ้อโกง” ส่วนสำนักงานก.พ. (2544:79) ได้ให้ความหมายของ คำว่า “คอร์รัปชัน” (ส านักงาน ก.พ. 2544 : 79) ว่ามาจากภาษาลาตินว่า Corrumpere ซึ่งม าจากค า 2 คำรวม กันคื อ To Ruin-Com (together) + Rumpere (to break)หมายถึง“การทำลาย หรือละเมิด จริยธรรม หรือธรรมเนียมปฏิบัติในการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ทำน้อยกว่า หรือไม่ดีเท่าที่กฎหมายระบุไว้หรือแม้แต่ทำตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย แต่ใช้ วิธีการที่ผิดกฎหมาย”
การทุจริตคอร์รัปชันในความหมายในบริบทสังคมไทย มีความหมายเช่นเดียวกันกับความหมายในบริบทสากล อันรวมถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวง การทุจริตในหน้าที่ราชการ การรีดนา ทาเร้นประชาชน การกินสินบน ตลอดจนความไม่ยุติธรรมอื่น ๆ ที่ข้าราชการหรือบุคคลอื่นใดใช้เป็น เครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรมและความถูกต้องตามกฎหมายของสังคม
วงจรแห่งการคอร์รัปชั่น
สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชัน การทุจริตคอร์รัปชันได้ฝังรากลึกในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครอง ในรูปแบบสมบูรณายาสิทธิราช ที่สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจ สังคมแนวดิ่งระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง มีการเอื้อเฟื้อ เอื้อประโยชน์ จุนเจือกันในวงญาติ ภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ ประเมินการทุจริตคอร์รัปชันของทั่วโลก โดยสามารถสะท้อนภาพการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศได้อย่างชัดเจนเพื่อให้รัฐบาลได้ตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญของปัญหา อันจะน ามาสู่การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปนี้
ประเภทของคอร์รัปชัน มีอยู่3 ประเภท ได้แก่
1) การคอร์รัปชันขนาดเล็กน้อย (Petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้อง
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจ านวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อด าเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน
2) การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ (Big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับ
เงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆเช่น บริษัทต่างๆ
3) การให้ของขวัญ (Gift) เป็นการคอร์รัปชันอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของหรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
สาเหตุของการคอร์รัปชัน
1) คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ ารวย ย่อมเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง
2) ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์
3) ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่าง ๆ
4) ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ
5) สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพื่อช่วงชิงต าแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์
ผลกระทบการคอร์รัปชั่นในสังคมโลก
การทุจริตคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีรูปแบบกลวิธีที่หลากหลาย มีความสลับ ซับซ้อน และยากที่จะตรวจสอบได้ สถานการณ์ด้านการทุจริตคอร์รัปชันในแต่ละประเทศจึงมีระดับ ความรุนแรงแตกต่างกันออกไปตามบริบท และปัจจัยเกื้อหนุนของประเทศนั้นๆ จึงมีความพยายามในการสร้างเครื่องมือวัดการทุจริตคอร์รัปชันในระดับสากลซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือวัดการคอร์รัปชันในระดับสากล ดังนี้
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) องค์กรความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ได้ทำการประเมินและสร้างดัชนี ชี้วัดภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ จัดทำเป็นครั้งแรกในปี 2538 โดยจัดเป็น คะแนน 0 - 10 คะแนน ประเทศที่ได้คะแนน 0 หมายถึง มีการทุจริตคอร์รัปชันสูง ส่วนประเทศที่ได้ 61 คะแนน 10 หมายถึง มีความโปร่งใสปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน
การประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมืองในเชิงการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศในภูมิภาคเอเชีย บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (Political & Economic RiskConsulting, Ltd.: PERC) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจต่างชาติที่ทำธุรกิจในประเทศต่างๆ ใน 12 ประเทศในเอเชียปัจจุบันได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจต่างชาติที่ทำธุรกิจในประเทศต่างๆ ใน 13 ประเทศในเอเชีย(เพิ่มมาเก๊า)
โดยใช้คำถามในลักษณะที่ว่าหากท่านยื่นขออนุญาตเพื่อดำเนินการ ทางธุรกิจไปแล้วระยะหนึ่งยังไม่ได้รับอนุญาต เมื่อท่านให้เงินแก่เจ้าหน้าที่แล้วท่านจะได้รับอนุญาตให้ ดำเนินการเรืองนั้นแน่นอน จากนั้นได้นำมาคิดค่าคะแนนความเสี่ยง(โอกาส) การทุจริตคอร์รัปชัน (เสียงน้อย = 0 คะแนน, เสียงมาก = 10 คะแนน)PERC มีวิธีการให้คะแนนที่แตกต่างไปจาก CPI โดยให้เป็นการวัดระดับการทุจริตคอร์รัปชัน หรือความไม่โปร่งใส ดังนั้น ถ้าคะแนนต่ำถือว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันน้อย ถ้ามีคะแนนสูงจะหมายถึง ที่นั่นมีระดับการทุจริตคอร์รัปชันสูง
ดัชนีธรรมาภิบาลโลก ธนาคารโลก ได้ทำการพัฒนา และสร้างฐานข้อมูลดัชนีชี้วัดคุณภาพของภาครัฐในประเทศต่างๆ ดัชนี ชุดนี้ครอบคลุมประเทศและเขตปกครองพิเศษรวมทั้งสิ้น 212 ประเทศ โดยใช้ดัชนีชี้สภาวะธรรมาภิบาล 6 มิติ ได้แก่
(1) การมีสิทธิมีเสียงและการตรวจสอบ (2)เสถียรภาพทางการเมืองและการไม่มีสถานการณ์ความรุนแรง (3) ประสิทธิผลของภาครัฐ (4) คุณภาพของกฎระเบียบต่างๆ (5) การบังคับใช้กฎหมาย และ (6) การควบคุมปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบ แต่ละประเภทมีการให้ค่าคะแนนเป็นลำดับร้อยละซึ่งมีค่าระหว่าง 0 - 100 ค่าเข้าใกล้ 0 แสดงว่าระดับธรรมาภิบาลต่ำ แต่ถ้าใกล้ 100 ระดับธรรมาภิบาลจะสูง
เครื่องวัดการทุจริตคอร์รัป ชัน ทั่วโลก ได้จัดทำเครื่องวัดการทุจริตคอร์รัปชันทั่วโลก เป็นเครื่องมือหนึ่งขององค์กรความโปร่งใสนานาชาติ แม้ว่าเครื่องมือวัดจะมุ่งไปที่ความคิดเห็นของประชาชน แต่ก็เติมเต็มด้วย CPI และ BPI ซึ่งเป็นความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางธุรกิจ โดยมีการทำครั้งแรกในปี2546 ทำการสำรวจทั้งหมด 45ประเทศทั่วโลก และเพิ่มเป็น 64 ประเทศในปี 2547 และเพิ่มมาเป็นเกือบ 70 ประเทศในปี 2548 ซึ่งเป็นปีที่ได้ทeการสำรวจครั้งแรกในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ชิลี เอธิโอเปีย ปารากวัยเซเนกัล เซอร์เบีย และยูเครน โดย เป็นการประเมินการรับรู้และประสบการณ์ด้านการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนกับองค์กร/ หน่วยงานราชการต่างๆ
แนวโน้มการทุจริตคอร์รัปชันทั่วโลกของหน่วยงานความซื่อสัตย์โปร่งใสสากล หน่วยงานความซื่อสัตย์โปร่งใสสากล เป็นองค์กรอิสระ ไม่แสวงหากำไรทำงานติดตาม แนวโน้มในการทุจริตคอร์รัปชันทั่วโลก โดยทำงานร่วมกับทีมท้องถิ่น โดยมีนักวิจัย นักข่าวหนังสือพิมพ์ ลงพื้นที่ติดตามการเปิดเผยและการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งมีการทำงานร่วมกับทีมจ านวน 100 คน ใน 90 ประเทศทั่วโลก
ผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแบบทันท่วงที โดยมีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญควบคุม การจัดทำข้อมูล รวมทั้งมีการจ่ายค่าตอบแทนทีมอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือด้อยพัฒนา โครงการของศูนย์เพื่อความซื่อสัตย์โปร่งใสของรัฐ ได้เริ่มต้นตั้งขึ้นในปี 2542 ต่อมาได้จัดตั้งหน่วยงานความซื่อสัตย์โปร่งใสสากล (Global Integrity) ในปี2548 เริ่มแรกมีการสำรวจข้อมูล 3 ประเทศในปี 2545 แล้วเพิ่มเป็น 25 ประเทศในปี 2548 เพิ่มเป็น 43ประเทศในปี 2549 และ เพิ่มเป็น 55 ประเทศในปี2550