Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย, นางสาวดลนภา สีทอน รหัส…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย
ความหมาย
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นกลุ่มความผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีส่วนประกอบของฮีโมลโกลบิน (hemoglobin) ที่ผิดปกติ กล่าวคือ มีการสร้างสายโกลบิน (globin) ปกติลดลงหรือไม่สามารถสร้างโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินปกติได้ มีสาเหตุมาจากการสังเคราะห์ที่ไม่สมดุลกันทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและเกิดการแตกทำลายก่อนเวลา ส่งผลให้การนำออกซิเจนไปสู่ร่างกายได้ไม่ดีนอกจากนี้ยังเกิดภาวะซีดเรื้อรัง มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใบหน้า (thalassemic facies) ลักษณะสีผิวของผู้ป่วยจะเหลืองและซีดคล้ำ การเจริญเติบโตจะช้ากว่าปกติ รูปร่างแคระแกร็น ตับและม้ามโต
การวินิจฉัย การตรวจคัดกรอง
การตรวจกรองพาหะและโรคธาลัสซีเมีย (Screentry test)
2.2 การตกตะกอนด้วยดีซีไอพี (Dichloro-phenal indolphenol precipitation test)
2.1 การทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดแดงชนิดหลอดเดียว (One Tube Osmotic Fragility Test: OF Test)
2.3 การย้อมอินคลูชั่นบอดีย์ (Inclusion Bodies Staining)
2.4 การย้อมเม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบินเป็นเอฟโดยวิธีแอซิคลูชั่น
(Hb F acid elution test)
1.การทดสอบในงานประจำวัน (Routine test)
1.2 ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell Indicies)
1.1 การตรวจนับเม็ดเลือดแบบสมบูรณ์ (Complete Blood Count: CBC)
การตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA analysis)
การทดสอบยืนยันโดยวิธีมาตรฐาน (confirmatory Test)
3.1 การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin typing)
3.2 การตรวจวัดปริมาณฮีโมโกลบินเอ 2 และอี (Determination of Hb A2 และ Hb E)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ระยะคลอด
มีการคลอดที่ผิดปกติ
เสี่ยงต่อการตกเลือดได้ง่ายโดยเฉพาะในระยะคลอด
มีอาการทางหัวใจ: มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายจากภาวะ Pulmonary Edema
ระยะตั้งครรภ์
ถ้าเป็นพาหะของโรคที่มีอาการไม่รุนแรงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และหากเป็นพาหะหรือโรคที่มีอาการรุนแรงเมื่อตั้งครรภ์อาการซีดจะมากขึ้นทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยหอบง่ายกว่าเดิม
ระยะหลังคลอด
เสี่ยงต่อการตกเลือดได้ง่ายในระยะหลังคลอด
อาการและอาการแสดงมี 3 ระดับ
Thalassemia intermedia เป็นพวกที่มีภาวะของโรครุนแรงปานกลาง มีภาวะซีด ฮีโมโกลบินจะอยู่ระหว่าง 6-8 กรัม % อาจมีการเจริญเติบโตไม่สมอายุ แต่ส่วนใหญ่จะเติบโตเหมือนคนปกติ ตับและม้ามโตเกือบทุกราย ตาเหลือง
Thalassemia minor เป็นพวกที่ไม่แสดงอาการผิดปกติไม่มีภาวะซีดหรือตับม้ามโต แต่ถ้ามีการติดเชื้อหรือตั้งครรภ์จะซีดลง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่เป็นพาหะ
Thalassemia major ส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรง ซีด ตาเหลือง ตับและม้ามโต เติบโตไม่สมอายุชัดเจน มีลักษณะใบหน้าแบบธาลัสซีเมีย (thalassemic face)
ผลต่อทารก
เพิ่มอัตราตายของทารกในครรภ์/แรกคลอดโดยเฉพาะในกลุ่ม Hb. H. disease, thal-major, thal-minor, Hb. Bart's disease ทารกในครรภ์จะมีภาวะเสี่ยงดังนี้
น้ำหนักน้อย, การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
คลอดก่อนกําหนด
Fetal distress
ทารกตายปริกำเนิด
การรักษา
ให้รับประทานยาเม็ดกรดโฟลิกเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงการให้ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กโดยเฉพาะเบต้าธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกิน
ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยมีอาการซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด
ผู้ป่วยที่ต้องให้เลือดบ่อย ๆ จะมีภาวะเหล็กเกิน แพทย์จะให้ยาขับเหล็ก (iron chelation)
นางสาวดลนภา สีทอน
รหัส 61122230033 เลขที่ 30