Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 เหตุการณ์สําคัญของโลกในคริสต์วรรษที่20 และ 21 - Coggle Diagram
บทที่ 8 เหตุการณ์สําคัญของโลกในคริสต์วรรษที่20 และ 21
สงครามโลกครั้งที่ 1 (War I) ค.ศ.1941-1918
สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ทําให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ผู้คนเกิดการอพยพเข้าสู่เมืองเพื่อหางานทําเพิ่มมากขึ้น ความเจริญภาคอุตสาหกรรมได้ขยายตัวออกไปทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป
ทําให้เกิดการแข่งขันเพื่อพยายามแสวงหาวัตถุดิบทางธรรมชาติโดยขยายมายังทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา จนให้ประเทศต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเหล่านี้ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของตน
การออกไปแสวงหาอาณานิคมเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับประเทศ
ตน
สภาพเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อเกิดการสร้างความเป็นมหาอํานาจขึ้นมาของประเทศต่างๆ แล้ว ต่างพยายามแสวงหาอํานาจด้วยการขยายดินแดนออกไปทั้งในภาคพื้นทวีปและภาคพื้นทะเล จึงทําให้เกิดการแบ่งแยกประเทศมหาอํานาจขึ้นอย่างชัดเจนผ่านการสร้างสนธิสัญญา โดยยุโรปถูกแบ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
คือกลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธไมตรีไตภาคี (Triple Alliances) ประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี เรียกว่ากลุ่มมหาอํานาจกลาง (Central Powers) กับกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี (Triple Entente) ประกอบด้วยฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต1และอังกฤษ หรือเรียกกลุ่มนี้ว่า ฝ่ายมหาอํานาจสัมพันธมิตร (Allied Powers)
การประทุของสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่ออาร์ชดุ๊กฟรานซิลเฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาเสด็จประพาสกรุงเซราเยโว (Sarajevo)เมืองหลวงของบอสเนีย (เป็นแคว้นหนึ่งในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี) ทั้งสองพระองค์ถูกกัฟริโล ปรินซิบ(GavriloPrincip) นักศึกษาชาวเชิร์บ (กลุ่มคนที่อยู่ในแคว้นบอสเนีย) ลอบปลงพระชนม์เพื่อเป็นการแก้แค้นที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึดครองบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา (Bosnia-Herzegovina) เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้ออสเตรีย-ฮังการีเข้าปราบปรามชาวสลาฟในเซอร์เบียทําให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ภาวะสงครามครั้งนี้ทหารของแต่ละฝ่ายคู่สงครามต้องขุดสนามเพลาะในแนวหน้าจนกลายเป็นสงครามในสนามเพลาะ
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
ด้านการเมือง เกิดความเปลี่ยนด้านพรมแดนและมีประเทศเกิดขึ้นใหม่ ประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 ได้รับความพินาศเสียหายจากสงคราม ต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินยากที่จะประมาณได้ บางส่วนของมนุษย์ต้องทุพพลภาพ ยากไร้ และกําพร้า สงครามโลกครั้งที่ 1 ทําให้สัมพันธมิตรระหว่างชาติ การเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ สังคมและศาสนา กระทบกระเทือนอย่างมาก
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
มีการสูญเสียชีวิตของทหารเป็นจํานวนมาก นั่นคือ ประมาณ 9 ล้านคน บาดเจ็บ 29 ล้านคน
เกิดความวุ่นวายสับสน เนื่องจาก มีโรคระบาด ความอดอยาก การลักขโมย สงครามกลางเมือง
เกิดความเป็นศัตรูและความเกลียดชังกันมากกว่าเดิม จนเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก (The Great Depression)
สงครามเย็น (Cold War)
สาเหตุสงครามเย็น
เกิดจากการแข่งขันขยายอิทธิพลของสองอภิมหาอํานาจ คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในด้านอุดมการณ์การปกครอง เริ่มจากสหภาพโซเวียตได้พยายามแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ออกไปโดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ทําให้สหรัฐอเมริกาหวาดกลัว จึงใช้ลัทธิแบบประชาธิปไตยสกัดกั้นแนวคิดดังกล่าว
ผลของเหตุการณ์สงครามเย็น
ค.ศ. 1962 สหรัฐอเมริกาตรวจพบฐานยิงจรวดบนเกาะคิวบา จอห์น เอฟ เคนเนดี้ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้มีคําสั่งให้ปิดล้อมคิวบาทางทะเล เพื่อกันไม่ให้โซเวียตขนอาวุธมายังคิวบา แล้วให้โซเวียตถอนจรวดออกไป
ค.ศ. 1987 มิคาอิลกอร์บาชอฟ ผู้นําของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้เสนอแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ และสังคมของโซเวียตให้มีรูปแบบเศรษฐกิจทุนนิยมของตะวันตกการปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวทําให้เกิด ความไม่พอใจในกลุ่มผู้นําคอมมิวนิสต์หัวเก่าและนําไปสู่การปฏิวัติที่ล้มเหลว การหมดอํานาจของพรรคคอมมิวนิสต์ ประเทศบริวารของสหภาพโซเวียต ในยุโรปตะวันออกต่างแยกตัวเป็นอิสระและท้ายที่สุดรัฐต่างๆ ในสหภาพโซเวียตต่างแยกตัวเป็นประเทศอิสระปกครองตนเอง มีผลทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991
สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War 2) ค.ศ.1939-1945
สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1939-1945 เนื่องจากนโยบายการต่างประเทศและการดําเนินการทางการฑูตของประเทศมหาอํานาจในยุโรป เริ่มมาตั้งแต่สนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สร้างความไม่พอใจกับประเทศผู้แพ้
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ทําให้ระบอบเผด็จการในเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นแตกสลายตัวไป เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยเข้ามาแทนที่
และมีการตั้งศาลนานาชาติ เพื่อพิจารณาโทษอาชญากรสงคราม ที่ เมืองโตเกียวและนูเรมเบิร์ก
ทําให้เกิดองค์การสหประชาชาติเพื่อจะสร้างสันติภาพถาวรของโลก และสหรัฐอเมริกาเลิกนโยบายเป็น
กลาง และกลายเป็นมหาอํานาจชั้นนําของโลกฝ่ายประชาธิปไตย
ทําให้เกิดการแข่งขันลัทธิทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต จนสงครามเย็นและ
สงครามจํากัดวง
สภาพเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ชัยชนะของฝ่ายสหประชาชาติสหประชาชาติเริ่มเป็นฝ่ายตอบโต้ฝ่ายอักษะ ในปี ค.ศ. 1942 กล่าวคือในปีค.ศ. 1943 – 1944 สหรัฐอเมริกาได้ชัยชนะที่เกาะกัวดัลคะแนล(Guadalcanal) ในหมู่เกาะโซโลมอน จากนั้นเข้ายึดหมู่เกาะกิลเบิร์ต(Gilbert) การรบทางเรือในหมู่เกาะต่างๆสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายมีชัยรวมทั้งฟิลิปปินส์ที่ยึดคืนได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นอยู่ในรัศมีทําการของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา และจากฐานทัพอากาศในประเทศจีน ญี่ปุ่นถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
ทางภาคพื้นทวีปเอเชีย ในปลายปี ค.ศ. 1944 อังกฤษและทหารอินเดียได้ร่วมมือกันขับไล่ญี่ปุ่นออกจากอินเดียและศรีลังกาได้ อังกฤษยึดพม่า และฝรั่งเศสยึดอินโดจีนกลับคืนได้ในเดือนมีนาคม ญี่ปุ่นต้องถอยทัพกลับมาอยู่ในประเทศไทย
สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาประกาศให้ญี่ปุ่นยอมจํานน แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมและเตรียมป้องกันการบุกอย่างเต็มที่ สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจยุติสงครามด้วยการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่ 1 ที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตราว 60,000คน ผู้บาดเจ็บ 100,000 คนและผู้ไร้ที่อยู่อาศัยราว 200,000 คน
ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน ขอให้ญี่ปุ่นยอมจํานนอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้รับคําตอบ ฉะนั้นในวันที่ 9 สิงหาคม สหรัฐอเมริกาจึงทิ้งลูกที่ 2 ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) มีผู้เสียชีวิตราว 35,000 – 40,000 คน ญี่ปุ่นจึงยอมเจรจาและทําสัญญาสงบศึกบนเรือรบมิสซูรี่ (Missuri) ในอ่าวโตเกียว เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 เรียกว่าวัน V.J. Day (Victory in Japan Day) สงครามกินเวลาเกือบ 6 ปีเต็มนับตั้งแต่ฮิตเลอร์เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดอย่างแท้จริง
โลกาภิวัตน์ (The Globalized World)
สาเหตุของโลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์ในยุคตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลที่ตามมาจากการวางแผนของนักเศรษฐศาสตร์และผลประโยชน์ทางธุรกิจ รวมทั้งนักการเมืองได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับลัทธิคุ้มครอง (Protectionism) การถดถอยของการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ผลงานของพวกเขาได้นําไปสู่การประชุม “เบรทตัน วูด” (BrettonWoods) ที่ทําให้เกิดสถาบันนานาชาติหลายแห่งที่มีวัตถุประสงค์คอยเฝ้ามองกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ฟื้นตัวใหม่ คอยส่งเสริมการเจริญเติบโตและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา
ผลของเหตุการณ์โลกาภิวัตน์
ด้านเศรษฐกิจ เกิดทุนนิยมทางด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือกระบวนการหรือรูปแบบการลงทุนและการผลิตเน้นในปริมาณมาก โดยใช้กลไกของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดกระแสการแข่งขันทางด้านการค้า อย่างไรก็ตามระบบเศรษฐกิจแบบยุคโลกาภิวัตน์นี้ยังมีความ “เปราะบาง” อยู่มาก เช่น การเกิดวิกฤติการณ์ทางด้านการเงินในเอเชียใน ปีค.ศ.1997
ด้านการเมือง อํานาจอธิปไตยของรัฐกลายเป็นอํานาจอธิปไตยแบบจักรวรรดิ (imperial sover-eignty) ความเป็นจักรวรรดิ
ในยุคนี้จะทําสงครามในนามของประชาธิปไตยและระเบียบโลกชุดใหม่ ทําสงครามเพื่อความถูกต้อง
ด้านสังคม โลกาภิวัตน์ทําให้เกิดความเป็น “ประชาสังคมโลก” ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาท มีส่วนในการกําหนดระเบียบ และสามารถขับเคลื่อนประเด็นปัญหาของภาคสังคมได้ นอกจากนี้ยังเกิดสมัชชาสังคมโลก คือชุมชนแบบใหม่ ที่ประกอบไปด้วยชุมชนแบบต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างกัน แต่มาอยู่รวมกันบนพื้นฐานของคุณค่าและความสนใจร่วมกัน
เหตุการณ์สําคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ได้กล่าวมาเกิดขึ้นในช่วงระหว่างค.ศ. 1841 –1970
ภัยพิบัติ(Disaster)
ประเภทแรก ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ ภัยธรรมชาติด้านน้ํา ภัยธรรมชาติด้านลม ภัยธรรมชาติด้านไฟ ภัยธรรมชาติด้านดิน
ประเภทที่สองคือภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ ภัยจากอุบัติเหตุทางคมนาคม ภัยจากการก่อสร้าง ภัยจากการประกอบอุตสาหกรรม ภัยจากการขัดแย้งทางลัทธิ หรือการการก่ออาชญากรรม ภัยที่เกิดจากจลาจล ภัยจากการปะทะด้วยกําลังอาวุธ