Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 องค์การระหว่างประเทศ - Coggle Diagram
บทที่ 7 องค์การระหว่างประเทศ
ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษย์ชาติ
การพัฒนาการขององค์การระหว่างประเทศ
นักปราชญ์ยุโรปได้เสนอแผนการ
ขององค์การระหว่างประเทศขึ้นมาที่สำคัญคือ
พัฒนาการทางด้านแนวความคิด
ดันเด อาลิเกียเร เสนอให้มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในลักษณะที่เป็นรัฐโลก โดยเสนอว่า ทั้งโลกควรจะอยู่ร่วมกัน อยู่ในการปกครองของรัฐเพียงรัฐเดียว ซึ่งมีอำนาจเหนือประชากรทั้งโลก ในการนี้จะต้องมีระเบียบแบบแผนและวัฒนธรรมต่างๆ เหมือนกันหมดทั้งโลก เน้นลัทธิชาตินิยมอย่างสูงสุด ถือได้ว่า ความคิดของดันเด อาลิเกียเร เป็นความคิดแรกเริ่มอันหนึ่งขององค์การระหว่างประเทศ
พัฒนาการในการจัดตั้ง
องค์การระหว่าประเทศที่สำคัญที่ปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติ มิได้เกิดจากแนวความคิดเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศโดยตรง แต่เป็นปรากฏการณ์จากการขยายขอบเขตของการประชุมปรึกษาหารือระหว่างประเทศ เพื่อพิจารณาและลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
ประเภทขององค์การระหว่างประเทศ
เมื่อพิจารณาองค์การระหว่างประเทศในฐานะสถาบันระหว่างประเทศในด้านขนาดของสมาชิกและบทบาทขององค์การต่างๆที่เดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศแล้ว สามารถแยกองค์การระหว่างประเทศออกเป็นได้ 2 ระดับดังนี้
องค์การระหว่างประเทศสากล เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีสมาชิกจำนวนมากจากส่วนต่างๆ ของโลก ในเรื่องสมาชิกภาพแม้ทุกประเทศในโลกอาจจะไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การระหว่าประเทศแบบนี้ แต่ประเทศเกือบทั้งหมดก็ร่วมเป็นสมาชิก องค์การระหว่างประเทศสากลนี้อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นองค์โลก เพราะมีสมาชิกทั่วโลก องค์การนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของวัตถุประสงค์คือ
องค์การระหว่างประเทศสากลที่มีสมาชิกทั่วโลกและมีวัตถุประสงค์กว้างขวางทั่วไป
องค์การระหว่างประเทศสากลที่มีสมาชิกทั่วโลกแต่มีวัตถุประสงค์จำกัด
องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศที่เกิดจากการรวมกลุ่มจัดตั้งของรัฐในภูมิภาค ประกอบด้วยประเทศที่อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของโลก เช่น เอเซียอาคเนย์ ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก เป็นต้น องค์การนี้แบ่งออกตามลักษณะของวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งได้เป็น 2 ประเภทคือ
องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป
องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์จำกัด
ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ
รักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศร่วมกัน โดยหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของรัฐมาประชุม
พบปะกัน
ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่างๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์
ระหว่างกัน
จัดระเบียบความสัมพันธ์และวางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ปฏิบัติร่วมกันในกาลต่อไป
องค์การระหว่างประเทศด้านสังคม
องค์การ
ระหว่างประเทศด้านสังคมที่สำคัญมีดังนี้
1.สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(United Nations
High Commissioner for Refugees, UNHCR)
2.องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO)
3.องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO)
4.องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and
Agriculture Organization of the United Nations, FAO)
บทบาทองค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ เป็นการรวมกลุ่มของรัฐต่างๆ ที่มีอำนาจอธิปไตยเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยมีบทบาทที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้
บทบาทองค์การระหว่างประเทศด้านสังคม เป็นบทบาทที่มุ่งแก้ปัญหาต่างๆ ทางสังคม อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขของมวลมนุษย์ชาติ
บทบาทองค์การระหว่างประเทศด้านการเมือง โดยหลักการสำคัญทั่วไปองค์การระหว่างประเทศมีบทบาทที่สำคัญคือ การแสวงหาสันติภาพแก่มวลสมาชิกและประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคง
บทบาทองค์การระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจเป็นบทบาทที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจและมุ่งพัฒนาส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
องค์การระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้
1.องค์การการค้าโลก (World Trade Organization, WTO)
2.กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund, IMF)
3.เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area, AFTA)
4.องค์การของประเทศผู้ส่งน้ำเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting
Countries, OPEC)
องค์การะหว่างประเทศด้านการเมืองที่สำคัญมีดังนี้
1.องค์การสหประชาชาติ(United Nations, UN)
2.องค์สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization, NATO)