Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่13 การตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยงภาครัฐ - Coggle Diagram
บทที่13 การตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยงภาครัฐ
แนวคิดเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สาคัญของฝ่ายบริหารในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในขององค์กรทั้งนี้ปัจจัยสาคัญประการหนึ่งที่จะทาให้งานตรวจสอบภายในประสบความสำเร็จ คือผู้บริหารสามารถนำผลผลิตของงานตรวจสอบภายใน ไปใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้เกิดคุณค่าเพิ่มและความสาเร็จแก่องค์กรโดยผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินผล วิเคราะห์ เสนอแนะ และให้คำปรึกษาจากกระบวนการ ตรวจสอบภายใน ปัจจุบันการตรวจสอบภายในได้พัฒนาบทบาทและรูปแบบการตรวจสอบโดยมุ่งเน้นที่ จะเปลี่ยนทัศนคติที่บุคคลภายนอกมักมองในด้านลบจากการจับผิดมาเป็นการส่งเสริมให้งานประสบความสาเร็จหรือเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร
ความหมายของการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing) หมายถึงกิจกรรมการให้หลักประกันอย่างเที่ยงธรรมและการให้คาปรึกษาอย่างเป็นอิสระซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้นการตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยงการควบคุมและการกากับดูแลอย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน คือ การปฏิบัติงานโดยอิสระ ปราศจากการแทรกแซงในการทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในองค์กรด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประเมินให้คำปรึกษาให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานทุกระดับขององค์กรสามารถปฏิบัติหน้าที่และดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผลการดำเนินงานตรวจสอบภายในจะอยู่ในรูปของรายงานผลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารรวมถึงการสนับสนุนให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
ประเภทของการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing)
การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing)
ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
ความมีประสิทธิผล (Effectiveness)
ความคุ้มค่า(Economy)
การตรวจสอบการบริหาร (Management Auditing)
การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกาหนด(Compliance Auditing)
การตรวจสอบพิเศษ (Special Auditing)
การตรวจสอบระบบงานสารสนเทศ (Information System Auditing)
ประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน
ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกากับดูแลที่ดี(Good Governance) และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน (Transparency) ป้องกันการประพฤติมิชอบหรือการทุจริตและเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่(Accountability and Responsibility) แบ่งความรับผิดชอบงานที่ชัดเจน ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใส(Transparency) และความสามารถตรวจสอบได้(Audittability)
เป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอานาจ(Check and Balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรรการใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามลาดับความสาคัญเพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
เป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า(Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบหรือการทุจริตในองค์กรให้กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานลดโอกาสความร้ายแรงและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสของความำเร็จของงาน
ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน(Efficiency and Effectiveness of Performance) ขององค์กร เนื่องจากการตรวจสอบภายในเป็นการประเมิน วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทุกด้าน ในการปฏิบัติงานจึงเป็นข้อมูลที่สาคัญที่ช่วยปรับปรุงระบบงานให้สะดวกรัดกุมลดขั้นตอนที่ซ้าซ้อนและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลาช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการประสานและลดปัญหาความไม่เข้าใจในนโยบาย
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
การระบุความเสี่ยง
การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง
การสื่อสาร
การประเมินผลการควบคุมและการจัดการความเสี่ยง
การติดตามประเมินผล และการรายงานผล
การทบทวนการบริหารความเสี่ยง