Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่12 การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลภาครัฐ - Coggle…
บทที่12 การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลภาครัฐ
ความเป็นมาของรัฐบาลดิจิทัลในประเทศไทย
“ดิจิทัลไทยแลนด์” หมายถึงประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์และทรัพยากรอื่นใดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
“ดิจิทัล” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการน าสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่ง หรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อสร้างหรือก่อให้เกิดระบบการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐส าหรับใช้ประโยชน์ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึงเทคโนโลยีรูปแบบอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง
“แผนพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล” หมายความว่า แผนการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
“คณะกรรมการพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล” หมายความว่า คณะกรรมการการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
“กรรมการพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล” หมายความว่า กรรมการการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหน่วยงานอิสระของรัฐ และให้หมายความรวมถึงสถาบันอุดมศึกษาเอกชน นิติบุคคล คณะบุคคลหรือบุคคล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานของรัฐไม่ว่าการใด ๆ
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
การปรับเปลี่ยนภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
แผนพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล
กำหนดให้มีแผนพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัลเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศมีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ
หน้าที่ของสานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน)
กำหนดให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการอำนวยการ สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล และทำหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัลมอบหมายรวมทั้งรับผิดชอบงานธุรการและวิชาการของคณะกรรมการพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล
แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ
เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
การแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล
เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ในกรณีหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน นิติบุคคล คณะบุคคลหรือบุคคล ซึ่งมีอำนาจดำเนินงานของรัฐจะดำเนินการร้องขอข้อมูลดังกล่าว นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบของหน่วยงานของรัฐเจ้าของข้อมูลแล้ว คณะกรรมการพัฒนา ระบบรัฐบาลดิจิทัลจะกำหนดเงื่อนไขให้หน่วยงานดังกล่าวต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ระบบ GFMIS
การบริหารงานด้านการคลัง
ระบบการบริหารและการปฏิบัติงานทางด้านการเงินการคลัง เป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ริเริ่มให้มี“ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์”หรือ ระบบGFMIS (Government Fiscal Management System) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของระบบGFMIS
วัตถุประสงค์หลักของระบบGFMISคือ เพื่อออกแบบและจัดสร้างระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ ของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งในด้านรายรับรายจ่ายเงินคงคลังบัญชีการเงินตามเกณฑ์คงค้าง บัญชีทรัพย์สินถาวรบัญชีต้นทุนบัญชีบริหารรวมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทำการอนุมัติ การเบิกจ่าย การปรับปรุง และการติดตามการใช้งบประมาณที่เน้นการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแบบOutput –Outcomeเพื่อให้เกิดฐานข้อมูลกลางด้านการเงินการคลังภาครัฐแบบMatrixและOnline Real Timeตามโครงสร้างกระทรวงกรม และพื้นที่จังหวัด
ขอบเขตของระบบGFMIS
ระบบด้านปฏิบัติการ หรือOperation Systemซึ่งรองรับโดยSoftware SAP R/3ประกอบด้วยงานด้านระบบการบริหารงบประมาณ การรับ-จ่ายและติดตามการใช้งบประมาณบัญชีแบบเกณฑ์คงค้าง บัญชีทรัพย์สินถาวร บัญชีต้นทุน บัญชีบริหาร การจัดซื้อจัดจ้างการบริหารเงินสดและเงินคงคลัง ตลอดจนข้อมูลบุคคล
ระบบข้อมูลด้านการบริหาร หรือBusiness Warehouseซึ่งรองรับโดยSoftwareSAP BWประกอบด้วยข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ ได้แก่ ข้อมูลเพื่อการบริหารด้านการเงินการคลังแบบOnline Real Timeสำหรับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารด้านการเงินทั้งนี้ ในด้านภาพรวม ระบบGFMISจะแบ่งออกเป็น 5 ระบบงาน
ระบบบริหารงบประมาณ
ระบบจัดซื้อจัดจ้าง
ระบบการเงินและบัญชี
ระบบบัญชีต้นทุน
ระบบบริหารบุคคล
เป้าหมายในการน าระบบ GFMIS-SOE มาใช้ในการจัดการข้อมูลของรัฐวิสาหกิจ
เพื่อจัดทำโครงการผังบัญชีมาตรฐานสำหรับรัฐวิสาหกิจ และรับข้อมูลด้านการบัญชีเพื่อการจัดทำงบการเงินรวมรัฐวิสาหกิจ และ Consolidate ข้อมูลของรัฐวิสาหกิจเข้าสู่งบการเงินแผ่นดิน
เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารและการวิเคราะห์ทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ เพื่อสนับสนุนระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยเชื่อมต่อฐานข้อมูลการบริหารการเงินการคลังของประเทศในระบบ GFMIS Management Cockpit ปัจจุบัน
เพื่อจัดทำระบบข้อมูลหลักเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจที่สามารถรวบรวมข้อมูลด้านการเงิน การบัญชี การลงทุน สินทรัพย์หนี้สิน หลักทรัพย์ การกู้ยืม เงินน าส่งรายได้แผ่นดิน การเบิกจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง รวมทั้งข้อมูลสภาพทั่วไปขององค์กร ข้อมูลด้านบุคลากรทั้งระดับบริหารและปฏิบัติการ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการเป็นระบบเดียว มีความถูกต้องเป็นเอกเทศและภาครัฐสามารถควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจได้