Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการ, นายภาณุวิชญ์ พงษ์ภมร ม5/3 เลขที่ 14 - Coggle Diagram
วิวัฒนาการ
-
หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตหลักฐานกายวิภาคเปรียบเทียบ หลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบ หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์ ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำมาสนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของกระโหลกศีรษะ และโครงกระดูก รวมทั้งการเปรียบเทียบลำดับเบสบนสาย DNA ระหว่างมนุษย์กับลิงชิมแปนซี จึงเชื่อว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการมาจากไพรเมตกลุ่มไม่มีหาง (ape) โดยมีลำดับวิวัฒนาการเริ่ม ดังนี้
- ออสตราโลพิเทคัส (Australopithecus) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่คล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด มีความจุสมอง 400-500 ลบ.ซม. มีการเดิน 2 ขา สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งพื้นดินและบนต้นไม้ สามารถกินอาหารได้หลายรูปแบบ
- โฮโม (Homo) เริ่มจาก H. habilis มีการเดิน 2 ขา มีลำตัวตรง มีความจุสมอง 600-750 ลบ. ซม. เริ่มมีการใช้สมองและมือประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้จากหิน ตามด้วย H. erectus มีร่างกายสูง มีความจุสมอง 1,100 ลบ. ซม. มีการใช้ไฟและประดิษฐ์เครื่องมือจากหิน ตามด้วย H. sapiens มีความจุสมอง 1,400 ลบ.ซม. มีกระดูกคิ้วยื่นออกมา จมูกกว้าง คางสั้น มีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ รู้จักใช้ไฟและเครื่องหนังสัตว์นุ่งห่ม และสุดท้าย คือ มนุษย์โครมายอง มีความจุสมอง 1,400 ลบ. ซม. มีความสามารถในการล่าสัตว์ ประดิษฐ์เครื่องมือจากหิน วาดภาพโดยใช้สี และมีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน
-
การเกิดสปีชีส์ใหม่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างประชากร ทำให้ประชากรทั้งสองมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันและเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ ซึ่งมี 2 แนวทาง
- การเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ (allopatric speciation) เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่โดยมีสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติ ทำให้ประชากรดั้งเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อยและไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกัน จากนั้นแต่ละกลุ่มย่อยจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงความแตกต่างทางพันธุกรรมตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนเกิดสปีชีส์ใหม่ เช่น
- การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน (sympatric speciation) เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกประชากรดั้งเดิมออกเป็นกลุ่มย่อยในเชิงการสืบพันธุ์ เชิงพฤติกรรม หรือเชิงนิเวศวิทยา ซึ่งประชากรกลุ่มย่อยอาจยังคงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน แต่ประชากรดังเดิมและประชากรกลุ่มย่อยไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้
พันธุศาสตร์ประชากร เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนหรือความถี่ของแอลลีลที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมของประชากร ซึ่งมีผลต่อการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การหาความถี่ของแอลลีลในประชากร เป็นการหาปริมาณของแอลลีลชนิดต่าง ๆ เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนแอลลีลทั้งหมดของยีนตำแหน่งเดียวกันในประชากร มีสูตร ดังนี้
กฎของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก กล่าวว่า เมื่อประชากรอยู่ในภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ความถี่ของแอลลีลหรือความถี่ของจีโนไทป์ในยีนพูลจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งผลรวมของแอลลีลของยีนหนึ่ง ๆ ในประชากรจะเท่ากับ 1 เสมอ (p + q = 1) และประชากรต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่ ประชากรมีขนาดใหญ่ ไม่มีการถ่ายเทยีนระหว่างกลุ่มประชากร ไม่มีการเกิดมิวเทชัน สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน และไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งจากกฎของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก สามารถใช้คาดคะเนความถี่ของแอลลีลเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมในยีนพูลของประชากร เช่น โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ โรคผิวเผือก
สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต มีความหมายแตกต่างกัน แบ่งออกเป็นสปีชีส์ด้านสัณฐานวิทยา (morphological species concept) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีครงสร้างภายนอกเหมือนกัน หรือมีการทำงานของโครงสร้างภายนอกคล้ายกัน และสปีชีส์ทางด้านชีววิทยา (biological species concept) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติและให้กำเนิดลูกที่ไม่เป็นหมัน
-