Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The lived experiences of pregnant women during COVID-19 pandemic: a…
The lived experiences of pregnant women during COVID-19 pandemic: a descriptive phenomenological study
Background
จากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวล ในเรื่อง การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดนี้ การขาดแคลนหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอ รวมถึงข่าวสารต่างๆในออนไลน์ที่ไม่เป็นความจริง ผลวิจัยพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโรคซาร์สในฮ่องกง พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซึมเศร้า มีปัญหาในการนอนเนื่องจากมีความวิตกกังวล หญิงตั้งครรภ์กลัวการที่จะไปโรงพยาบาลเนื่องจากกลัวการติดเชื้อ และพวกเธอรู้สึกกังวลเรื่องกลัวคนในครอบครัวติดชิ้อไปด้วย ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของ H1N1 พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลในการที่จะออกไปทำงาน และกังวลว่าลูกในครรภ์ของเธอจะติดเชื้อ ช่วงช่วงทีมีการระบาดของโรคอีโบล่า หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพเพราะพวกเธอกลัวติดเชื่อจากที่นั่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ปฎิเสธการให้บริการในหญิงตั้งครรภ์เพราะหญิงตั้งครรภ์อาจติดเชื้อและนำเชื้อไปสู่เจ้าหน้าที่ได้ จากการสรุปพบว่าในช่วงที่มีการระบาดในแต่ละโรคหญิงตั้งครรภ์จะมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ ความวิตกกังวลในระหว่างตั้งครรภ์ ในวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านต่างๆ เช่น สภาพจิตใจ ผลกระทบของโรคระบาดต่อชีวิตส่วนตัว ประสบการณ์การกักตัวอยู่ที่บ้าน และผลกระทบของข่าวจากการระบาดของ โควิด-19 การที่ศึกษาเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจประสบการณ์การตั้งครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ได้ดีขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 ได้ดีขึ้น
Methods
เป็นวิธีการอธิบายเชิงปรากฎการณ์เชิงพรรณนาเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ผู้วิจัยจะตรวจสอบแนวคิดของจากมุมมองของผู้เข้าร่วมวิจัย
Participants and setting
วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกในไซเบอร์สเปซ โดยมีผดุงครรภ์ 4 คน ที่ทำงานที่ศุนย์สุขภาพในแต่ละพื้นที่ติดต่อผู้หยิงที่มีคุรสมบัติที่จะเข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ โดยหาใน WhatsApp ใช้เวลาสัมภาษณ์แต่ละครั้ง 25-30 นาที่ เกณฑ์การคัดเลือกสำหรับการตั้งครรภ์และตกลงที่จะเข้าร่วมในการวิจัยจะเริ่มด้วยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์และผลกระทบเกี่ยวกับชีวิตที่พวกเธอได้เจอ ผุ้วิจัยได้พัฒนาคู่มือการสัมภาษณ์ตามประสบการณ์ของหญิงตั้งครรภ์ โดยราใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แต่ละครั้งเพื่อเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ครั้งต่อไป
Data analysis
ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเจ็ดขั้นตอนของ Colaizzi’s ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง การสนทนาจะถูกคัดลอกจากโซเชียลมีเดียของ WhatsApp ไปยังไฟล์คำ
- ในขั้นตอนที่ 1 ผุ้วิจัยจะอ่านไฟล์หลายๆ ครั้งเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้หญิงโดยทางผู้วิจัยได้พยายามระงับความคิด ความรู้สึก หรือความคิด ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่กำลังศึกษาอยู่
- ขั้นตอนที่ 2 เราได้เน้นวลีที่สำคัญในเนื้อหาบทสัมภาษณ์
- ขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจะยได้แยกแนวคิด
- ขั้นตอนที่สี่ ผู้วิจัยได้จัดหมวดหมู่แนวคิดออกเป็นเรื่องที่มีความคลายคลึงกัน
- ขั้นตอนที่ 5 รวบรวมผลลัพธ์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่กำลังศึกษา
- ขั้นตอนที่ 6 นำเสนอคำอธิบายที่เกี่ยวกับโครงสร้างของปรากฏการณ์ที่กำลังศึกษาอยู่
- ขั้นตอนสุดท้าย ตรวจสอบโครงสร้างโดยเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม
Credibility& reliability
นักวิจัยสองคนได้อ่านไฟล์และวิเคราะห์ข้อมูลหลายๆครั้ง จากนั้น เราได้หารือเกี่ยวกับโค้ด คลัสเตอร์ของธีม และธีมในกรณีที่มีความคลาดเคลื่อน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
Ethical considerations
ผู้หญิงที่ตกลงเข้าร่วมในการศึกษาวิจัยจะได้รับแบบฟอร์มความยินยอมผ่านทางข้อความ ให้ผุ้หญิงที่ต้องการเข้าร่วมในการศึกษาโดยตอบกลับด้วยข้อความ "ฉันยินยอม" และทางผู้วิจัยจะแจ้งให้พวกเธอทราบว่าพวกเธอสามารถเข้าร่วมการวิจัยนี้ ในการศึกษาวิจัยจะมีการเปลี่ยนชื่อโปรไฟลืเป็นนามแฝงและตอบคำถามโดยการพิมพ์
Results
มีหญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งกล่าวว่า '' ฉันพูดได้เลยว่าความกลัวของฉันเพิ่มเป็นสองเท่า" เธอถูกส่งตัวไปเป็นจิตแพทย์เนื่องจากมีความเป็นไปได้ของการเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งผู้วิจัยได้รับหัวข้อจากที่เธอไปพบจิตแพทย์ดังนี้ ความสงบและกิจวัตรประจำวันในชีวิตประจำวันของพวกเธอได้หยุดชะงักลง ความท้าทายใหม่ๆที่เกิดจากโรคระบาด การฟื้นตัวและความเข้มแข็งในการเผชิญกับวิกฤตของโรคระบาด และการปรับตัวให้เข้ากับโรคระบาด