Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle…
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading)
เป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้ เป้นส่วนที่บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุวันที่ เดือน ปี และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
การเขียนเนื้อหา (Content)
เนื้อหา เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโดยรวม อาจประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ
แนวการเขียนเนื้อหา
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามากให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนเนื้อหาสาระที่จะให้ผู้เรียนเรียนไว้ตามลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวการเขียนสื่อการเรียนรู้
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการ้รียนรู้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้ เช่น รูปภาพยุงลาย แผนภูมิเพลงคุณธรรมสี่ประการ
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่น กระดานดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา เป็นต้น
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่
การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การตรวจผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น
การประเมินผลเป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัด เช่น ผ่าน-ไม่ผ่าน, ดี-ปานกลาง-อ่อน หรือ กำหนดค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 เป็นต้น
แนวการเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์ คือ ข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Attitude) และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
การเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้ ที่นิยมเขียน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน
พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้แสดงออก (Terminal Behavior)
เกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น (Condition)
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง
คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง
คือ จุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง
จุดประสงค์นำทางนิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
สาระสำคัญ คือ ข้อความที่เขียนระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แนวในการเขียนสาระสำคัญ
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมายด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
กิจกรรมการเรียนรู้ คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา เช่น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
กระบวนการของศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กระบวนการเรียนภาษา กระบวนการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น ซึี่งจะพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านการคิด การแก้ปัญหา การปฏิบัติและการมีเจตคติที่ดีต่อการคิดและการปฏิบัติ
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม (Interaction)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ (Process)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก (Performance)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ (Product)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อน (Assessment)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Application)
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
เขียนเป็นลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้น
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอน และขั้นสรุปบทเรียน
เขียนโดยระบุให้รู้วากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอน หรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำ เป็นต้น
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการและการปฏิบัติ
ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดของผู้สอนและผู้เรียน