Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 ผู้นำกับการบริหารในองค์กร - Coggle Diagram
บทที่ 7 ผู้นำกับการบริหารในองค์กร
ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีตำแหน่งมีบทบาทหรือมีอิทธิพลที่จะควบคุมหรือชี้นำให้ผู้อื่นมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายทั้งส่วนบุคคลและองค์การ* :silhouette:
ภาวะผู้นำ หมายถึง บุคลิกลักษณะและความสามารถของผู้นำที่จะโน้มน้าว กระตุ้น จูงใจ ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และกลุ่มคนในองค์การให้ดำเนินกิจกรรมขององค์การให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้โดยสมัครใจ
ประเภทของผู้นำ
1. การแบ่งประเภทผู้นำตามลักษณะการปฏิบัติงาน
1.1 ผู้นำตามกฎหมาย (Legal Leader) เป็นผู้นำที่เป็นไปตามที่กฎหมายหรือกฎระเบียบกำหนดไว้
1.2 ผู้นำที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (Charismatic Leader) เป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติมีท่าทางบุคลิกลักษณะหรือความสามารถพิเศษเฉพาะตัว
1.3 ผู้นำในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic Leader) เป็นผู้นำที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งอันควรแก่การเคารพ นับถือ และเทิดทูน เช่น พระมหากษัตริย์
2. การแบ่งประเภทผู้นำตามวิธีการใช้อำนาจฟลิปโป
ได้แบ่งประเภทของผู้นำการใช้อำนาจเป็น 3 ประเภท ได้แก่
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการหรือผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic or Authoritarian Leader) เป็นผู้นำที่ให้ผู้อื่นทำตามคำสั่งของตนเอง มักใช้วิธีการขู่เข็ญให้เกิดความกลัว
2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-aire Leader) เป็นผู้นำที่มอบอำนาจและเสรีภาพให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเต็มที่ ไม่ใช้อำนาจในการบริหารงาน
2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader) เป็นผู้นำที่พยายามให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ มีส่วนร่วมในการตัดสินปัญหาต่างๆมีการร่วมปรึกษาหารือกันอย่างฉันมิตร
3. การแบ่งประเภทผู้นำตามลักษณะวิธีการทำงาน สมพงษ์ เกษมสิน
3.1 แบ่งผู้นำที่ถือระเบียบแบบแผนเป็นสำคัญ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง มักยกกฎระเบียบมาเป็นข้ออ้าง
3.2 ผู้นำแบบบงการ (Directive Leader) เป็นผู้นำที่ชอบปฏิบัติงานแบบใช้อำนาจรู้จักแต่สั่งอย่างเดียว 3.3 ผู้นำแบบจูงใจ (Persuasive Leader) เป็นผู้นำที่นิยมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันปรึกษาหารือในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
3.4 ผู้นำแบบร่วมใจ (Participative Leader) เป็นผู้นำที่นิยมการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบรรดาสมาชิกในกลุ่ม
4. การแบ่งประเภทผู้นำจากแหล่งอำนาจอันเป็นที่มาของผู้นำ กัสติน
*4.1 ผู้นำที่เป็นทางการ (Formal Leader) เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับและได้รับการแต่งตั้งจากผู้ที่มีอำนาจตามกฎหมายหรือระเบียบขององค์การนั้น ๆ เช่น ประธานบริษัท
4.2 ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ (Informal Leader) เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับ ศรัทธา เชื่อถือจากสมาชิกในองค์การธุรกิจ เช่น ตัวแทนพนักงาน
5. การแบ่งประเภทผู้นำโดยอาศัยลักษณะของการจูงใจ ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
5.1 ผู้นำแบบนิยมความนุ่มนวล (Positive Leader) เป็นผู้นำที่ใช้วิธีการสั่งการด้วยการให้ผลตอบแทนสามารถให้คนเชื่อถือได้โดยการจูงใจในแง่เศรษฐกิจ
5.2 ผู้นำแบบนิยมความรุนแรง (Negative Leader) เป็นผู้นำที่นิยมใช้การลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำความผิด ผู้ใต้บังคับบัญชาจะเกิดความเกรงกลัว จำเป็นต้องปฏิบัติตามที่ผู้นำปรารถนา
6. การแบ่งประเภทผู้นำโดยพิจารณาจากประสิทธิภาพในการทำงาน วิจิตร วรุตบางกูร
6.1 ผู้นำที่มีประสิทธิภาพน้อย ได้แก่
6.1.1 ผู้นำแบบเลี่ยงงาน (Deserter) เป็นผู้นำที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการทำงาน ไม่สนใจความก้าวหน้าของหน่วยงาน
6.1.2 ผู้นำแบบนักบุญ (Missionary) เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพของหมู่คณะ
6.1.3 ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocrat) เป็นผู้นำที่คำนึงถึง แต่การใช้อำนาจมากกว่าสัมพันธภาพของตนกับเพื่อนร่วมงาน
6.1.4 ผู้นำแบบประนีประนอม (Compromiser) คำนึงถึงความสำเร็จของงานเท่า ๆ กับความสัมพันธ์ของผู้ร่วม
6.2 ผู้นำที่มีประสิทธิภาพมาก ได้แก่
6.2.1 ผู้นำที่ยึดมั่นในคำสั่ง (Bureaucrat) เป็นผู้นำที่ชอบรักษาระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ไม่ค่อยสนใจกับความคิดใหม่
6.2.2 ผู้นำนักพัฒนา (Developer) เป็นผู้นำที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เขาเห็นความสำคัญของการพัฒนาเพื่อนร่วมงานให้มีความสามารถในการทำงาน
6.2.3 ผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ (Benevolent Autocrat) เป็นผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในความคิดและวิธีการของตนเอง :
6.2.4 ผู้นำแบบนักบริหาร (Executive) ลักษณะผู้นำที่ตระหนักถึงความพยายามที่จะดึงเอาความสามารถของผู้ร่วมงานมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด
7. การแบ่งประเภทผู้นำโดยคำนึงถึงหลักความสำคัญในการทำงาน ศิริโสภาคย์ บูรพาเดช
ะ
7.1 ผู้นำที่ถือว่าผู้ปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญ (Employee-Oriented Leader) ถือหลักว่าความยากง่ายของงานไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญคือผู้ปฏิบัติงาน (มั่งคน)
7.2 ผู้นำที่ถือว่างานเป็นสำคัญ (Task-Oriented Leader) ผู้นำชนิดนี้จะพยายามให้ได้ผลงานมากที่สุด ไม่คำนึงถึงความลำบากของผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายงานให้คนงานทำจนล้นมือ (มุ่งงาน)
ระดับของผู้นำในองค์การและบทบาทหน้าที่มาลินี จุฑะรพ
แบ่งได้ 3 ระดับ
ผู้บริหารระดับต้นหรือหัวหน้างาน (Foreman) ทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลพนักงานในองค์การ เช่น หัวหน้างาน
ผู้บริหารระดับกลาง (Manager) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการวางแผน เช่น ผู้จัดการ
ผู้บริหารระดับสูง (Executive) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการในเรื่องที่สำคัญ ๆ เช่น เจ้าของบริษัท
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง
ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของผู้นำ (Trait Theory) เป็นแนวความคิดในสมัยเริ่มต้นที่สนใจศึกษาเรื่องของผู้นำและภาวะผู้นำอย่างเป็นระบบ โดยมีความเชื่อว่าผู้นำที่ดีจะมีคุณสมบัติเฉพาะ
ทฤษฎีพฤติกรรม (Behavioral Theory) เป็นแนวความคิดในสมัยต่อมาที่ศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการนำของเขา
ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory) เป็นการศึกษาความสำคัญของปัจจัยสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่มีผลต่อการแสดงออกของผู้นำ