Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรุนแรงในสตรีมีครรภ์ (abuse during pregnancy) - Coggle Diagram
ความรุนแรงในสตรีมีครรภ์
(abuse during pregnancy)
ความหมาย
พฤติกรรมหรือการกระท ใดๆ ก็ตามที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางกาย วาจา จิตใจ และทางเพศ จำกัดกีดกันเสรีภาพทั้งใน สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลให้เกิดให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีมีครรภ์ทั้ง ด้านร่างกายและจิตใจ
รูปแบบความรุนแรงในสตรีมีครรภ์
1.การทำร้ายร่างกาย เป็นการกระทำรุนแรงที่เห็นชัดเจนที่สุด
2.การข่มเหงทางเพศ เช่น การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจ การบังคับให้เปลื้องผ้า
3.การทำร้ายจิตใจ (verbal or emotional abuse) ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้วาจาคุกคามทางอารมณ์
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ปัญหาทางครอบครัวของสามี ได้แก่ เคยถูกใช้ความรุนแรงในวัยเด็ก ครอบครัวขาดความอบอุ่น
มีความเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิต โรคประสาท
สามีบางรายมีความอิจฉาทารกที่กำลังจะเกิด
กลัวภรรยาจะสนใจทารกที่อยู่ในครรภ์มากกว่าตนเอง กลัวถูกแย่งความรัก
อายุและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายโอกาสเกิดความรุนแรงได้
การใช้ความรุนแรงสามารถเกิดได้กับสตรีทุกคน
ทุกอาชีพ ทุกระดับการศึกษา และทุกฐานะ
วินิจฉัย
การชักประวัติและการสังเกต
มีรอยฟกช้ำตามร่างกาย มีอาการซึมเศร้า รู้สึกตนเองไร้ค่า น้ำหนักไม่เพิ่ม หรือสตรีมีครรภ์อาจให้ข้อมูลเรื่องการถูกทำร้ายร่างกาย
การตรวจร่างกาย พบร่องรอยของการถูกทำร้ายร่างกาย หรือร่องรอยของการถูกข่มขืน
ผลกระทบ
ต่อมารดา
ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิต สตรีที่ถูกทารุณกรรมจะมีโอกาส
มาฝากครรภ์ช้าหรือมาฝากครรภ์ไม่สม่ำเสมอเนื่องจากกลัว abuser จะทำร้ายร่างกาย รู้สึกตนเองไร้คุณค่า
ทำให้เกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความรุนแรงทางด้านร่างกาย ได้แก่ การแท้ง รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ด้านจิตสังคม
1.รู้สึกเสียใจ ซึมเศร้า รู้สึกตนเองไร้คุณค่า
2.รู้สึกโกรธ อับอาย เครียด วิตกกังวล
3.ทำร้ายร่างกาย บางคนคิดฆ่าตัวตาย
4.หันมาใช้ความรุนแรงในการตอบโต้
ต่อทารก
ทารกอาจตายในครรภ์ได้
ทารกที่เติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง มักมีปัญหาทางด้านจิตใจและกลายเป็นผู้ใช้ ความรุนแรงในที่สุด
แนวทางการช่วยเหลือ
ประเมินสัญญาณชีพ การเพิ่มของน้ำหนัก ความสูงของยอดมดลูก การบาดเจ็บตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาการผิดปกติอื่น ๆ
ประเมินการดิ้นและเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ติดตามผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์จากการทำ non stress test หรือ biophysical profile
ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเพียงพอ
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หลีกเลี่ยงการเดินทางไกล และไม่ออกกำลังกายหักโหม
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด
การดูแลในระยะหลังคลอด ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบิดามารดา ทารก และ ครอบครัว ก่อนกลับบ้านประเมินความสามารถในการดูแลทารกและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงบุตร และอธิบายให้เห็นความสำคัญของการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัว