Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท กล้ามเนื้อ…
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
7.1 การพยาบาลเด็กที่มีอาการชัก
ภาวะชักและโรคลมชัก (Seizure and Epilepsy)
-
Seizure (อาการชัก)
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของคลื่นไฟฟ้าสมอง
-Epilepsy (โรคลมชัก)
เกิดอาการ Seizure ตั้งแต่ 2 episodes ขึ้นไป โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง
-
Convulsion (อาการเกร็งและ/หรือกระตุก)
อาการแสดงทาง motor ผิดปกติ
-
Status epilepticus
การชักต่อเนื่องนานมากกว่า 30 นาที
สาเหตุของอาการชักที่พบบ่อย
1.ติดเชื้อที่กะโหลกศีรษะ
2.เลือดออกในกะโหลกศีรษะ
3.ภาวะผิดปกติทาง metabolism
4.ภาวะผิดปกติทางไต
5.เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ
6.โรคบาดทะยัก
7.ภาวะไข้สูงในเด็กเล็ก
8.ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด
9.โรคลมบ้าหมู/โรคลมชัก
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
การแบ่งชนิดของภาวะชักแบ่งได้เป็นการชักเฉพาะส่วน (focal seizure) และการชักทั้งตัว (generalized seizure)
1.Partial seizure เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่ ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทเฉพาะที่หลังชัก (post-ictal focal neurologicaal deficit) แบ่ง partial seizure ได้เป็น
1.1 Simple partial seizure ผู้ป่วยไม่เสียการรู้สึกตัวขณะมีอาการชัก
1.2 Complex partial seizure ผู้ป่วยจะเสียการรู้สึกตัวขณะมีอาการชัก
2.Generalized seizure เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน แบ่งได้เป็น
2.1 Generalized tonic-clonic seizure อาการหมดสติเกร็งทั้งตัวตามด้วยกระตุกเป็นจังหวะ
2.2 Absence อาการเหม่อ ตาลอย เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
2.3 Myoclonic กระตุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคล้ายสะดุ้ง
2.4 Clonic กระตุกเป็นจังหวะ
2.5 Tonic กล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง
2.6 Atonic สูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นทันที
3.Unclassified epileptic seizure ไม่สามารถจัดกลุ่มได้เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอหรือเนื่องจากการไม่สมบูรณ์ของสมอง
การตรวจระบบประสาทและสมองในเด็ก
การประเมินด้านร่างกาย
1.Muscle tone เป็นการประเมินระบบมอเตอร์โดยการตรวจดูความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ประเมินต้านต่อการเคลื่อนไหวที่ผู้ป่วยต้องออกแรง
2.Babinski's sign ทดสอบโดยใช้อุปรณ์ปลายทู่ ขีดริมฝ่าเท้าั้งต้นที่ส้นเท้าถึงนิ้วเท้า ได้ผลบวกแสดงว่ามี upper motor neuron lesion
3.Brudzinski's sign ให้เด็กนอนหงายใช้มือช้อนหลังศีรษะคางชิดอก ทดสอบในเด็กที่มีการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
4.Kerning's sign ให้เด็กนอนหงายและงอเข่าทั้งสองข้าง ยกต้นขาตั้งฉากกับลำตัวทีละข้างแล้วเหยีบดขานั้นออก เด็กที่ติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะทำไม่ได้เพราะมีอาการปวด
5.Tendon reflex เป็นการตรวจปฏิกิริยาตอบสนองทางระบบประสาท ใช้ไม้เคาะเข่าเอ็นแล้วสังเกตดู reflex ค่าปกติคือ 2+ ถ้าเร็วคือได้ 4+
6.การประเมินระดับความรู้สติ ประเมินด้วย Glasgow coma scale
อาการสำคัญทางระบบประสาท (Neurological Signs)
1.ระดับความรู้สึกตัว (Level of Conscious)
2.อาการทางตา (Ocular Signs)
3.ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว (Motor Response)
4.การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ (Vital Signs)
ชักจากไข้สูง Febrile convulsion (Febrile Seizure)
อาการและอาการแสดง
ไข้
ไม่มีข้อสรุปที่แน่อนว่าระดับใดจึงทำให้เกิด Febrile eizure ทั่วไปเชื่อว่าระดับไข้จะสูงกว่าหรือเท่ากับ 38°C
ลักษณะการชัก
พบมากคือ generalized tonic-clonic ร้อยละ 3 หรือ focal ร้อยละ 4 ชักเป็นเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 นาที
ช่วงเวลาที่ชัก
ก่อนตรวจพบไข้หรือภานใน 1 ชั่วโมงของไข้ (21%) ชักใน 1-24 ชั่วโมงของไข้ (57%) หลังจากมีไข้ 24 ชั่วโมง (22%)
การรักษา
1.รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ 2.ระงับอาการชักด้วยการให้ Diazepam 3.Paracemol 10-20 mg/kg/dose
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล-ชักจากไข้สูง
1.เสี่ยงต่อเซลล์สมองถูกทำลายจากการชักนาน
2.เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ และหรืออันตรายจากการชัก
3.บิดามารดามีข้อจำกัดในการดูแลเด็กเนื่องจากขาดความรู้
7.2 การพยาบาลเด็กที่มีภาวะความดันในช่องกะโหลกศีรษะสูง
ภาวะนำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalous)
-เป็นภาวะที่มีน้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะบริเวณ Ventricle และชั้น subarachnoid
-ในภาวะปกติจะมีน้ำไขสันหลังอยู่ประมาณ 50-150 cc/min อัตราการสร้าง 0.35 cc/min or 500 cc/day
สาเหตุ
1.มีการสร้าง CSF มากกว่าปกติ พบบ่อยคือเนื้องอก Choroid Plexus 2.มีการอุดตันของทางเดินน้ำไขสันหลังระหว่างจุดที่ผลิตและจุดดูดซึม เกิดจากผิดปกติแต่กำเนิด เนื้องอก การติดเชื้อ 3.ความผิดปกติของการดูดซึมของน้ำไขสันหลังจากการอักเสบจาก Congenital Hypoplasia
อาการและอาการแสดง
1.เริ่มมีอาการภายใน 2-3 เดือน เมื่อวัดรอบอกและรอบศีรษะ ปกติจะต่างกันประมาณ 2 cm. หัวโตเมื่อเทียบกับลำตัว รอบศีรษะโตกว่ารอบอกเกิน 2-5 cm.
2.มีอาการเมื่อมองลงล่างจะเห็นตาขาวมาก (Sun Set Eye หรือ Setting Sun Sign) กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ซึม อาเจียน
3.เบื่ออาหาร เลี้ยงไม่โต สั่น ร้องเสียงแหลม เมื่อมีอาการมากขึ้น ดูดน้ำลำบาก ตัวผอม หัวโต มีความต้านทานโรคน้อย
การวินิจฉัย
1.เปรียบเทียบศีรษะกับขนาดปกติของเด็กแต่ละวัย โดยการวัดรอบศีรษะจะเพิ่มรวดเร็ว
2.ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะจะเห็นการแยกของ Suture และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
3.Transillumination จะเห็นการแยกของ Suture และกระดูกกะโหลกบาง
4.CT Scan หรือ Ventriculography
แนวทางการรักษา
การรักษาขึ้นกับสาเหตุและขนาดศีรษะ
1.ถ้าศีรษะโตไม่มากนัก เกิดจากการมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย เจาะหลังใส่ยา อาจให้ความดันของน้ำไขสันหลังปกติ
2.ถ้าศีรษะโตมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องผ่าตัดเอาส่วนที่อุดตันออก
3.ทำ Shunt ให้น้ำไขสันหลังจาก Ventricle ไปดูดซึมที่ peritoneal เรียก V-P shunt
การพยาบาลภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ (Hydrocephalous)
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
1.มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง และเปลี่ยนแปลงทางประสาท เนื่องจากมีการสะสมของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ
2.อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอาหาร เนื่องจากดูดกลืนลำบาก อาเจียน-จับให้เด็กเรอหลังดื่มนม
3.ความแข็งแรงของผิวหนังผิดไปจากคนปกติ เนื่องจากศีรษะโตดูแลผิวหนังป้องกันระคายเคือง
4.ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและเด็ก อาจไม่เป็นไปตามปกติ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
1.มีโอก่สเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในระยะ 1-3 วันแรกหลังผ่าตัด เนื่องจากอาจมีการขัดขวางของน้ำไขสันหลังไปสู่ช่องท้อง
2.มีโอกาสเกิด subdural hematoma ในระยะ 1-3 วันแรกหลังผ่าตัด V-P shunt
3.มีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณ Shunt ทั้งในระยะแรกหลังผ่าตัดและเมื่อกลับไปดูแลที่บ้าน
4.มีโอกาสเกิดภาวะ Shunt ทำหน้าที่ผิดปกติจากการใส่เป้นเวลานาน เช่น การอุดตันของ catheter หรือ การหลุดของ catheter
5.บิดามารดามีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความเข้าใจใการดูแลบุตร
คำแนะนำแก่บิดามารดาเมื่อเด็กมี Shunt
1.แนะนำให้สังเกตอาการของความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม 2.สังเกตบริเวณที่มี Pump ว่าบวมหรือไม่
3.จัดท่านอนให้เด็กนอนศีรษะสูงเล็กน้อย 30 องศา ห้ามนอนศีรษะต่ำ
4.แนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาหาร
5.ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย พาเด็กมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ
ภาวะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วความดันโดยเฉลี่ยจะประมาณ 100-160 มิลลิเมตร ซึ่งวัดได้จากการเจาะตรวจดูน้ำไขสันหลังถ้าความดันของน้ำไขสันหลังที่เจาะได้สูงเกินกว่า 200 มิลลิเมตรน้ำ ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีความดันในกะโหลกศีรษะ
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
1.จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 15-30 องศา
2.ประเมินสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง
3.เพิ่มอัตราการหายใจให้มากกว่าปกติ (Hyperventilation) โดยให้ bag-mask ventilation 100%
4.จำกัดน้ำ โดยอาศัยหลักว่าถ้าน้ำภายในเซลล์ลดลงแล้วความดันภายในสมองก็จะลดลง
5.Hypothermia เป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 32-33 องศาเซลเซียส
6.ให้ผู้ป่วยได้รับยา Acetazolamine (diamox)
7.ผู้ป่วยที่ทำ Ventriculostomy เพื่อระบายน้ำไขสันหลัง
8.ผู้ป่วยโรคสมองบวมน้ำ (Hydrocephalus) ก่อนผ่าตัดต้องเฝ้าระวังภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
9.การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ CO2 คั่ง