Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กชาย กร ใจดี อายุ2เดือน - Coggle Diagram
เด็กชาย กร ใจดี อายุ2เดือน
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล :ถ่ายเหลว10ครั้ง 1วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน. :4วันก่อนมาโรงพยาบาล น้องไปฉีดวัคซีน มีตัวอุ่น ไม่มีไข้ ไอแห้ง ไม่มีน้ำมูก กินนมไม่ได้ อาเจียน 1วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาเจียนหลังกินนม2 ครั้ง ถ่ายเหลว10ครั้งไม่มีเลือดปน มารดาจึงพามาโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
A1:มีภาวะเสียสมดุลของน้ำและอิเล็คโตรลัยท์เนื่องจากมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร
A2ผิวหนังสูญเสียหน้าที่เนื่องจากการระคายเคือง บริเวณก้นจากการขับถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
A6:ผู้ดูแลวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยของเด็ก
A5:เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากผู้ดูแลพร่องความรู้ในการดูแลเด็ก
A3:ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกายเนื่องจากรับประทานได้น้อยและสูญเสียจากการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
A4: เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักเนื่องจากมีไข้
A1:มีภาวะเสียสมดุลของน้ำและอิเล็คโตรลัยท์เนื่องจากมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ดูแลบอกว่า “น้องรับประทานนมได้มากขึ้น”
:ผู้ดูแลบอกว่า “น้องถ่ายเป็นสีเหลืองๆ”
:ผู้ดูแลบอกว่า “น้องถ่ายเปลี่ยนแพมเพิส5ครั้ง”
O: จากการตรวจร่างกายน้องปากแห้ง และเลียริมฝีปากบ่อยๆ
Intake=610ml
Output 1200ml
จากการประเมินพบการขาดน้ำอยู่ในรับปานกลาง Moderate dehydration
น้องควรได้รับสารน้ำ 2,100ใน24ชั่วโมง 8ชั่วโมงควรได้ 700ml
เป้าหมาย
มีภาวะสมดุลของน้ำและอิเล็คโตรลัยท์
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการของการขาดน้ำผิวหนังไม่แห้งปากไม่แห้งแตก
ปริมาณน้ำที่ได้รับและขับออกสมดุลกัน
ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะไม่น้อยกว่า 1.001-1.015
สัญญาณชีพปกติตามวัย
ผลอิเล็คโตรลัยต์ปกติตามวัย
การพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงในรายที่ขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรงให้บันทึกทุก 1-2 ชั่วโมง
2.ประเมินภาวะขาดน้ำ
3.ประเมินภาวะเสียสมดุลของอิเล็กโตรไลต์
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ5%DN/3 1000ml vien 20 cc/hrตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณน้ำที่ได้รับและขับออก (I/O) ปัสสาวะอุจจาระอาเจียนทุก 4 ชั่วโมง
ติดตามผลความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะcefoxazine 250 mg vien ทุก 8 ชม ตามแผนการรักษา
A3:เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกายเนื่องจากรับประทานได้น้อยและสูญเสียจากการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ดูแลบอกว่า “ได้รับนม12ออนซ์ ใน8ชั่วโมง
:ผู้ดูแลบอกว่าน้องถ่ายเปลี่ยนแพมเพิสไป5ครั้ง
:ผู้ดูแลบอกว่าน้องทานนมได้ดีขึ้น ไม่มีอาเจียน
O:จากการคำนวนน้องควรได้รับนม20 ออนซ์ต่อวัน
เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 10 กรัม
รับประทานอาหาร / นมได้ไม่อาเจียน
ไม่มีถ่ายเหลว
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับนมlactose free formular ตามความต้องการของร่างกายวันละ20ออนซ์
สังเกตและบันทึกการตอบสนองต่อการได้รับสารอาหารเช่นอาเจียนถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้น
ชั่งน้ำหนักทุกวันด้วยเครื่องชั่งเดียวกันและเวลาเดียวกันเพื่อประเมินน้ำหนัก
A4: เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักเนื่องจากมีไข้
ข้อมูลสนับสนุน
O: น้องมีไข้ จากการวัดไข้ตอน10โมงเช้าอุณหภูมิอยู่ที่ 37.5
:จากการวัดไข้ตอน14โมงเช้าอุณหภูมิอยู่ที่ 37.7
เป้าหมาย :
เพื่อลดอาการไข้ของผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการแสดงของภาวะไข้สูง ได้แก่ หน้าแดง ปวดศีรษะ หนาวสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว
อุณหภูมิปกติ
36.5-37.4 องศาเซลเซียส
การพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อประเมินภาวะไข้
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
เช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำอุ่น ดูแลให้ผู้ป่วยเด็ก
เด็กสวมเสื้อผ้าหลวม ไม่หนาเกินไปเพื่อให้ระบายความร้อนได้ดี
ดูแลให้พักผ่อนอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง
ดูแลให้ยาลดไข้paraceltamal drop 0.6mlตามแผนการรักษา
แนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการชัก
A2:ผิวหนังสูญเสียหน้าที่เนื่องจากการระคายเคือง บริเวณก้นจากการขับถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
ข้อมูลสนับสนุน
S: มารดาบอกว่า เปลี่ยนแพมเพิสให้น้องวันละ5ครั้ง
O: จากการตรวจร่างกายพบรอยแดงบริเวณก้น
วัตถุประสงค์
ผิวหนังบริเวณก้นเกิดการระคายเคืองน้อยที่สุด
เกณฑ์การประเมิน
รอยแดงบริเวณก้นลดลง
การพยาบาล
1.ทำความสะอาดบริเวณที่ระคายเคืองด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาดเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่ปัสสาวะอุจจาระ
ทาซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) บริเวณที่เกิดการระคายเคือง
ให้บริเวณที่ระคายเคืองได้ถูกอากาศเพื่อให้แห้งและไม่อับชื้น
หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าที่ผสมแอลกอฮอล์เช็ดหรือสัมผัสผิวหนัง
สังเกตการติดเชื้อบริเวณก้นและฝีเย็บเช่นมีผื่นตุ่ม
หนองเชื้อราบวมแดงอักเสบบ่นเจ็บร้องกวน
A6:ผู้ดูแลวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยของเด็ก
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ดูแลบอกว่า กังวลเกี่ยวกับโรคที่ลูกเป็นอยู่ อยู่โรงพยาบาลมาหลายวันแล้ว
:จากการสังเกตุ พบว่ามารดามีสีหน้าอ่อนเพลีย มีใต้ตาคล้ำ และลึก
:เป็นห่วงลูก เฝ้าลูกตลอด
มาอยู่หลายวันละไม่รู้เมื่อไหร่จะได้กลับ
วัตถุประสงค์
เพื่อลดความวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมิน
:ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการรักษา
:ผู้ปกครองมีสีหน้าสดชื่นขึ้น
การพยาบาล
1ประเมินความเครียดและความวิตกกังวลของมารดา
อธิบายสาเหตุ อาการ การดำเนินโรคและแผนการรักษา
3.เปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามเกี่ยวกับโรคที่ลูกเป็น
4.เปิดโอกาสให้มารดาได้ระบายความรู้สึก ยอมรับในความคิด ความรู้สึกของมารดา รับฟังอย่างจริงใจ และแสดงถึงความ เข้าใจในความรู้สึกของมารดาอย่างแท้จริง
5.ให้กำลังใจเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ รวมถึงการให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และหลักปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย
6.จัดสภาพแวดล้อม ให้มารดารู้สึกปลอดภัย มีความสุขสบาย
7.ฝึกทักษะทางจิตวิทยา เพื่อควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเอง การฝึก ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxation)
A5:เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากมารดาพร่องความรู้ในการดูแลบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
S:มารดาบอกว่า ระหว่างไปเข้าห้องน้ำ วางน้องไว้กลางเตียง ไม่นำไม้กั้นเตียงขึ้น
:แม่มีการห่มผ้าให้น้องโดนผ้ามีขนาดใหญ่
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุขณะอยู่โรงพยาบาล
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยไม่ตกจากเตียง
-ผู้ป่วยไม่มีผ้าคลุมหน้า
-ผู้ป่วยไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจจากสิ่งของ
การพยาบาล
1ประเมินและจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กปลอดภัย
2ไม่ให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่นุ่มเกินไป
3.ไม่ปล่อยให้เด็กนอนคว่ำหน้าโดยไม่มีผู้ดูแล
4ให้นำหมอนกั้นตัวเด็กเวลาที่เด็กนอนหลับพักผ่อนอยู่บนเตียง
5.แนะนำไม่ควรปล่อยผู้ป่วยให้อยู่คนเดียว