Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ที่ปรึกษาและข้าราชการต่างชาติในสมัยรัชกาลที่ 5 - Coggle Diagram
ที่ปรึกษาและข้าราชการต่างชาติในสมัยรัชกาลที่ 5
ประเภทของข้าราชการต่างชาติ
1.ที่ปรึกษาราชการทั่วไป
ตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะการกราบบังคมวายข้อแนะนำกับการเกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติทั้งยังทําหน้าที่ประสานการดำเนินงานกับเสนาบดีกรมพรางต่างๆ
2.ที่ปรึกษาประจำกระทรวงและกรมต่างๆ
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงเกษตราธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
3.ข้าราชการต่างชาติประจำกรมกองต่างๆ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงนครบาล
นโยบายการว่าจ้างชาวต่างชาติ
พระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการคัดเลือกชาวต่างชาติเข้ารับราชการนั้นรัฐบาลสยามจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าผู้ใดควรดำรงตำแหน่งไหนเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศมิใช่แต่งตั้งตามความต้องการของประเทศนั้น ๆ ดังนั้นการคัดเลือกข้าราชการต่างชาติแต่ละครั้งจึงแสดงถึงนโยบายต่างประเทศอันฉลาดหลักแหลมของสยามเช่นการจ้างชาวเยอรมันในหน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติเช่นกรมรถไฟกรมไปรษณีย์โทรเลขเนื่องจากเยอรมันไม่มีท่าที่แสวงหาผลประโยชน์หรือแทรกแซงกิจการภายในของสยามสร้างความรู้สึกปลอดภัยแก่รัฐบาลสยามมากกว่าการจ้างชาวอังกฤษและฝรั่งเศสประกอบกับคุณสมบัติความสามารถเฉพาะตัว
มูลเหตุการว่าจ้างชาวต่างชาติ
นโยบายของสยามในรัชสมัยรัชกาลที่5 คือการสร้างเสถียรภาพของบ้านเมืองเพื่อรักษาเอกราชของชาติให้รอดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องจ้างชาวต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษาเฉพาะด้านเข้ามารับราชการ
ปัญหาและอุปสรรค์
ปัญหาฝ่ายไทย
ปัญหาจากผู้บริหารเนื่องจากการบริหารราชการแบบไทยจะผูกพันกับตัวบุคคลมากกว่าผลงานผู้บังคับบัญชาจะใช้อำนาจในการพิจารณาความดีความชอบหรือตัดสินลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาโดยอาศัยความสนิทสนมในระบบอุปถัมภ์เป็นรากฐานเป็นผลให้เกิดภาวะความขัดแย้งกับข้าราชการต่างชาติในระดับรองลงไปซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือผลงานเป็นหลักนอกจากนี้ผู้บริหารไทยบางคนก็เป็นพวกอนุรักษ์นิยมไม่พอใจและไม่สามารถสื่อสารกับข้าราชการต่างชาติในหน่วยงานของตนทำให้เกิดความไม่เข้าใจและหวาดเกรงการทำงานกับชาวต่างชาติ
ปัญหาจากนโยบายของรัฐสืบเนื่องจากนโยบายการ จำกัด ขอบเขตของข้าราชการต่างชาติคือให้มีตำแหน่งสูงสุดเพียงแค่ระดับเจ้ากรมและที่ปรึกษาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ โดยมิได้รับอนุมัติจากเสนาบดีเจ้ากระทรวงเป็นผลให้ข้าราชการต่างชาติที่มีความสามารถเกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายโดยเฉพาะในกรณีที่เจ้ากระทรวงไม่เข้าใจในความคิดริเริ่มของชาวต่างชาติเหล่านี้อนึ่งข้าราชการต่างชาติเหล่านี้ยังเกิดความไม่มั่นใจในตำแหน่งและการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนเพราะต้องมีการต่อสัญญาว่าจ้างเป็นระยะ ๆ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ระหว่างประเทศและการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาฝ่ายไทยด้วย
ปัญหาฝ่ายต่างชาติ
ปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ของข้าราชการต่างชายชาวต่างชาติที่มารับราชการส่วนใหญ่ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ทั้งผู้ที่มารับราชการระยะสั้นและระยะยาวกล่าวติดผู้ที่เข้ามาในระยะสั้นก็จะรีบเรียกร้องสิ่งตอบแทนอย่างเต็มที่ทั้งในเรื่องของเงินเดือนค่าเช่าบ้านในลาป่าเหน็จรางวัลและเมื่อกลับไปบ้านเมืองของตนก็ยังน่าเรื่องราวเกี่ยวในเมืองไทยและคนไทยไปแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง