Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก,…
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก
7.1 การพยาบาลเด็กที่มีอาการชัก
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile seizure)
สาเหตุของอาการชักทพี่บบ่อยในเด็ก
ติดเชื้อที่กะโหลกศีรษะ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ
ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ภาวะผิดปกติทาง metabolism เช่น Hypocalcemia, Hypoglycemia
เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ
ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น Hydrocephalus
โรคบาดทะยัก , โรคคลมบ้าหมู/โรคลมชัก (Epilepsy)
ภาวะไข้สูงในเด็กเล็ก
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
Partial seizure
คือการชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่
Simple partial seizure ผู้ป่วยไม่เสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก
Complex partial seizure ผู้ป่วยจะเสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก
Generalized seizure
คือการชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน
Generalized tonic-clonic seizure ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติเกร็งท้ั้งตัวตามดว้ยการกระตุกเป็นจังหวะ
Absence ผู้ป่วยมีอาการเหม่อ ตาลอยอาการจะเกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
Myoclonic มีลักษณะกระตุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคล้ายสะดุ้ง
Clonic มีลักษณะกระตุกเป็นจังหวะ
Tonic มีลกัษณะกล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง
Atonic มีลักษณะสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
Unclassified epileptic seizure
การชักที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้เนื่องจากข้อมูลไม่พอเพียงหรือเนื่องจากการไม่ สมบูรณ์ของสมอง
ชักจากไข้สูง Febrile convulsion (Febrile Seizure)
สาเหตุ
มีปัจจัยร่วมกันหลายชนิดพันธุกรรม ภาวะที่สมองเด็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และมีไข้เป็นปัจจัยกระตุ้น
พี่น้องของเด็กที่เป็น Febrile Seizure มีความเสี่ยงในการเกิด Febrile Seizure สูงกว่าเด็กทั่วไป 4-5 เท่า
febrile seizure ยังเกิดในเด็กบางคนหลังที่ได้รับวัคซีน DPT หรือ Measles
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร
อาการและอาการแสดง
ระดับไข้จะสูงกว่าหรือเท่ากับ 38ºC รายงานพบร้อยละ 75 ของผู้ป่วยมีไข้มากกว่าหรือเท่ากับ 39 ºC
ลักษณะการชัก
ที่พบมากคือ generalized tonic- clonic ระยะเวลาชักเป็นเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 นาที
ช่วงเวลาที่ชัก
ชักก่อนตรวจพบไข้หรือภายในเวลา 1 ชั่วโมงของไข้(21%) ชักใน 1-24 ชั่วโมงของไข้ (57%) ชักหลังจากมีไข้ 24 ชั่วโมง (22%)
การชักซ้ำ
ภายใน 24 ชั่วโมง
การรักษา
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้
ให้ Diazepam ทาง vein or anus ให้ซ้ำได้ทุก 6-8ชม
Paracetamol 10-20 mg/kg/dose ให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ช.ม.
ลักษณะอาการชักจากไข้สูง
Simple Febrile Convulsion
เป็นแบบชักทั้งตัว
ระยะเวลาของการชัก
เกิดขึ้นไม่เกิน 15 นาที(มักไม่เกิน 5 นาที)
การชักซ้ำ
ไม่มีการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
อาการหลังชัก
ไม่พบความผิดปกติทางระบบประสาท
Complex Febrile Convulsion
เป็นแบบเฉพาะที่ (focal seizure)
ระยะเวลาของการชักเกิดนานกว่า 15 นาที
การชักซ้ำ
มีการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
อาการหลังชัก พบความผิดปกติทางระบบประสาท
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล-ชักจากไข้สูง
เสี่ยงต่อเซลล์สมองถูกทำลายจากการชักนาน
เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุและหรืออันตรายจากการชัก
บิดามารดามีข้อจำกัดในการดแูลเดก็เนื่องจากขาดความรู้
7.2 การพยาบาลเด็กที่มี ภาวะความดันในช่องกะโหลกศีรษะสูง
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง(Hydrocephalous)
มีน้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะบริเวณ Ventricle(โพรงสมอง) และชั้น subarachnoid
ภาวะปกติจะมีน้ำไขสันหลังอยู่ประมาณ 50-150 cc/min และมีอัตราการสร้าง 0.35 cc/min or 500 cc/day
สาเหตุ
มีการสร้าง CSF มากกว่าปกติ
มีการอุดตันของทางเดินน้ำไขสันหลังระหว่างจุดที่ผลิตและจุดที่ดูดซึม เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ความผิดปกติของการดูดซึมของน้ำไขสันหลังจากการอักเสบจาก Congenital Hypoplasia ของ Arachnoid Villi แต่ กำเนิด
มีทางผ่านของน้ำระหว่าง Ventricle และ Spinal cord ความผิดปกติเรียก Communication หรือ Extraventricular Hydrocephalus
ทางผ่านของน้ำถูกกั้นความผิดปกติเรียกว่า Obstructive หรือ Intraventricular Hydrocephalus
อาการและอาการแสดง
ทารกและเด็กเล็ก ที่มีภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะอาจจะเริ่มมีอาการภายใน 2-3เดือน เมื่อวัดรอบอกและรอบศีรษะ
มองลงล่างจะเห็นตาขาวมาก ( Sun Set Eye หรือ Setting Sun Sign) ซึ่งปกติจะมองไม่เห็น กล้ามเนื้อแขนขากว้าง ซึม อาเจียน
เบื่ออาหาร เลี้ยงไม่โต สั่น ร้องเสียงแหลม เมื่อมีอาการมากขึ้น ดูดนมลำบาก ตัวผอม หัวโต มีความต้านทานโรคน้อย
การวินิจฉัย
รอบศีรษะกับขนาดปกติของเด็กแต่ละวัยโดยการวัดรอบศีรษะจะเพิ่มรวดเร็ว
ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะจะเห็นการแยกของ Suture และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
Transillumination จะเห็นการแยกของ Suture และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
CT Scan หรือVentriculography จะเห็น Ventricle ขยายถ้าเป็นชนิด Non Communicating
แนวทางการรักษา
ถ้าศีรษะโตไม่มากนัก เกิดจากการมีเยื่อหุ้มสมอง อักเสบจากแบคทีเรีย เจาะหลังใส่ยาก็อาจให้ความดันของน้ำไขสันหลังปกติ
ถ้าศีรษะโตมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องผ่าตัดเอาส่วนที่อุดตัน ออก เช่น เนื้องอก
ทำShunt ให้น้ำไขสันหลังจาก Ventricle ไปดูดซึมที่ peritoneal เรียก V-P shunt
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง และเปลี่ยนแปลงทางประสาท เนื่องจากมีการสะสมของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ
อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอาหาร เนื่องจากดูดกลืนลำบาก อาเจียน
ความแข็งแรงของผิวหนังผิดไปจากคนปกติ เนื่องจากศีรษะโตดูแลผิวหนังป้องกันระคายเคือง ป้องกันการติดเชื้อ
ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและเด็ก อาจไม่เป็นไปตามปกติ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในระยะ 1-3 วันแรกหลังผ่าตัดเนื่องจากอาจมีการขัดขวางของน้ำไขสันหลงัไปสู่ช่องท้อง
มีโอกาสเกิด subdural hematoma ในระยะ 1-3 วันแรกหลังผ่าตัด V-P shunt
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณ Shunt ทั้งในระยะแรกหลังผ่าตัดและเมื่อกลับไปดูแลที่บ้าน
มีโอกาสเกิดภาวะ Shunt ทำหน้าที่ผิดปกติจากการใส่เป็นเวลานาน เช่น การอุดตันของ catheter หรือ การหลุดของ catheter
บิดามารดามีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความเข้าใจในการดูแลบุตร
ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ
ภาวะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วความดันโดยเฉลี่ยจะประมาณ 100-160 มิลลิเมตร เจาะตรวจดูน้ำไขสันหลังถ้าความดันของน้ำไขสันหลังที่เจาะได้สูงเกินกว่า 200 มิลลิเมตร
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูง
จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 15-30 องศา
ประเมินสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง
เพิ่มอัตราการหายใจให้มากกว่าปกติ (Hyperventilation) โดยให้ bag-mask ventilation 100% O2 ทำให้ CO2ใน เลือดลดลงกว่าเกณฑ์ปกติให้อยู่ระหว่าง 25-30 mmHg
จำกัดน้ำโดยอาศัยหลักว่าถ้าน้ำภายในเซลล์ลดลงแล้วความดันภายในสมองก็จะลดตามไปด้วย
Hypothermia เป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 32-33 องศาเซลเซียส จะช่วยให้สมองมีการเผาผลาญลดลง การมีไข้สูงทำให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ให้ผู้ป่วยได้รับยา Acetazolamine (diamox)
1 more item...
ภาวะชักและโรคลมชัก (Seizure and Epilepsy )
Seizure (อาการชัก)
ภาวะที่สมองโดยมีการปล่อยคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ(epileptic form discharge) จากเซลล์ประสาทในสมอง อาการชักเป็นอาการแสดงออกหรือมีความรู้สึกที่ผิดไปจากปกติที่เกิดขึ้นทันที
Epilepsy (โรคลมชัก)
เกิดอาการ Seizure ตั้งแต่ 2 episodes ขึ้นไป โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุ ทางสมอง ชักที่เกิดขึ้น 2 episodes ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เรียก โรคลมชัก
Convulsion (อาการเกร็งและ/หรือกระตุก)
อาการแสดงทาง motor ผิดปกติแสดงอาการด้วยการเกร็งกระตุกเกิดจากSeizure หรือ สาเหตุอื่น เช่น syncope
Status epilepticus
ชักต่อเนื่องนานมากกวา่ 30 นาทีหรือการชักหลายครั้งในช่วงเวลานานกว่า 30 นาที