Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ภาพยนต์สั้น The beautiful Mind ครั้งที่1(แก้ไข), นางสาวสุพรรษา…
วิเคราะห์ภาพยนต์สั้น The beautiful Mind ครั้งที่1(แก้ไข)
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อผู้ป่วย นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr. John Forbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
อาการสาคัญ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล หวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้าย วิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจากที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานจึงนาส่งโรงพยาบาลจิตเวช
ประวัติการเจ็บป่วย
2 ปีก่อนมาโรงพยาบาล เขาทางานเป็นสายลับคอยถอดรหัสทางการทหารจากนิตยสาร เขาทำงานให้นายวิลเลียมอย่างลับๆ จนกระทั่งพบว่ามีคนสะกดรอยตามเขาอยู่ตลอดและพยายามจะทำร้ายเขา ผู้ป่วยกลัวถูกทำร้ายมาก แต่พยายามเก็บเป็นความลับไม่ให้ใครรู้เนื่องจากเขาทำงานเป็นสายลับ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล เขาเห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทำงาน เขารู้สึกกลัวมากจึงวิ่งหนีจนกระทั่งถูกนำส่งโรงพยาบาล
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยเด็ก
เด็กเรียนเก่ง ชอบทำอะไรด้วยตนเอง แต่เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหา ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ผู้ป่วยชอบอยู่คนเดียว
ผู้ป่วยไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์และทาการทดลองด้วยตนเองตั้งแต่ อายุ 12 ปี
วัยรุ่น
ผู้ป่วยหันมาสนใจทางด้านคณิตศาสตร์ และมุ่งมั่นในการเรียนจนจบปริญญาโททางด้านคณิตศาสตร์ด้วยอายุเพียง 20 ปี
ผู้ป่วยพบว่า มีเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยคนหนึ่งชื่อนายชาร์ลส์ (Mr. Charles) ได้เข้ามาทักทาย และเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมห้องพัก
ผู้ป่วยจะเริ่มมีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลกๆ เพิ่มมากขึ้น
วัยผู้ใหญ่
ทำงานที่วีลเลอร์แลปส์และงานสายลับ
ผู้ป่วยพบว่านายชาร์ลส์ยังมาปรากฏตัว อยู่กับเขาในหลายสถานการณ์ บางครั้งยังมีหลานสาวตามมาด้วย
ผู้ป่วยเริ่มสร้างห้องทำงานลับที่ใช้ทางานสายลับถอดรหัสจากนิตยสารต่างๆ ต่อมาผู้ป่วยมีแฟน และตัดสินใจแต่งงานกันในที่สุด
ประวัติครอบครัว
ภรรยาของผู้ป่วยชื่อนางอลิเซีย (Mrs. Alicia)
เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว มีน้องสาว 1 คน
บิดาเป็นวิศวกร มารดาเป็นครูสอนภาษา
การตรวจสภาพจิต
ระดับของการรู้สึกตัว (Conscious)
จากการสังเกต ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ มีเหม่อลอยบ้างเล็กน้อย
การรับรู้ (Orientation)
จากการสนทนาผู้ป่วยรับรู้วัน เวลา และสถานที่ได้ แต่บอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย ผู้ป่วยจึงไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเท่าที่ควร
การเคลื่อนไหว (Psychomotor Activity)
จากการสังเกต ผู้ป่วยเดินหลังค่อม มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
ความสามารถในการรับสัมผัส (Perception)
จากการสนทนาและการสังเกตเพื่อประเมินการรับสัมผัสด้านต่างๆ ผู้ป่วยรับสัมผัสได้ตามปกติ แต่บางครั้งผู้ป่วยพูดคนเดียวเหมือนกาลังสนทนากับใคร สอบถามทราบว่าผู้ป่วยกาลังสนทนากับเพื่อนชื่อชาร์ลส์
ลักษณะทั่วไป (General Appearance)
จากการสังเกต ผู้ป่วยเป็นชายชาวตะวันตก วัยผู้ใหญ่ตอนต้น รูปร่างสันทัด ผมสีน้าตาลเข้ม ไม่มัน ไม่มีรังแค ผิวขาว ปากแห้งเล็กน้อย เล็บมือและเท้าตัดสั้นสะอาด นั่งกุมมือและบีบมือตัวเองเกือบตลอดเวลา แต่งตัวสะอาด สีหน้าวิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
ความจำ (Memory)
จากการสนทนาผู้ป่วยมีความจำเฉพาะหน้า (Immediate and Recall memory) ความจำระยะสั้น (Recent memory) และความจำระยะยาว (Remote memory) เป็นปกติ สามารถจำกลุ่มตัวเลขยากๆยาวๆได้เป็นอย่างดี
ระดับสติปัญญา (Intelligence)
ความตั้งใจและสมาธิ (Attention & Concentration)
จากการสนทนาผู้ป่วยมีความตั้งใจและสมาธิดี ถึงขั้นหมกมุ่นกับบางเรื่องที่มีความสนใจเป็นพิเศษ
การตัดสินใจ (Judgment)
การคิด (Thought)
จากการสนทนา ผู้ป่วยยังคงมีความเชื่อว่าตนเองเป็นสายลับของกระทรวงกลาโหม ถูกเรียกตัวให้ไปทาหน้าที่อย่างลับๆหลังเรียนจบปริญญาเอก และกาลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
จากการสนทนา เมื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ผู้ป่วยตัดสินใจได้ค่อนข้างเหมาะสม แต่คิดช้า และมีท่าทีหวาดระแวงเกือบตลอดเวลา
จากการสนทนาและจากผลการทดสอบ ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จบการศึกษาระดับปริญญาเอก มีความรู้ ความเข้าใจและมีสติปัญญาในระดับอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์
ลักษณะการพูด (Speech)
จากการสังเกต ผู้ป่วยถามตอบรู้เรื่อง โดยจะพูดตะกุกตะกักในบางครั้ง แต่เมื่อพูดถึงเรื่องการเป็นสายลับ การถูกสะกดรอยตามจะพูดรัว เร็ว
พื้นฐานอารมณ์ (Mood)
จากการสนทนา ผู้ป่วยบอกว่าเขาเป็นคนใจเย็น ไม่ชอบยุ่งกับใคร แต่การมีคนมาสะกดรอยตามทาให้เขากลัวและกังวลอย่างมาก
การแสดงอารมณ์ (Affect)
จากการสังเกต ผู้ป่วยมักมีสีหน้าเรียบเฉย แต่จะแสดงสีหน้า แววตา และท่าทีหวาดกลัวเมื่อพบจิตแพทย์
การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง (Insight)
จากการสนทนา ผู้ป่วยยอมรับว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น แต่ไม่คิดว่าตนเองเจ็บป่วยทางจิต ที่ตนเองแสดงพฤติกรรมแปลกๆเพราะต้องรักษาความลับทางการทหารเพื่อความมั่นคงของชาติ และที่วิ่งหนีออกมาจาก ที่ทางานเพราะมีคนสะกดรอยตามและกาลังจะทาร้ายเขา
อัตมโนทัศน์ (Self-concept)
จากการสนทนา ผู้ป่วยภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ที่เรียนจบปริญญาเอกทางด้านคณิตศาสตร์และได้รับรางวัลจากผลงานชื่อ “Nash Equilibrium” ภูมิใจที่มีภรรยาที่สวย เก่ง และเป็นคนดี ผู้ป่วยเชื่อว่าเพราะเขา มีความสามารถในการถอดรหัสตัวเลขจึงต้องมาทางานเป็นสายลับซึ่งเป็นภารกิจในการช่วยเหลือประเทศชาติ
การพยาบาล
กำหนดวัตถุประสงค์การพยาบาลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากภาวะหวาดระแวงได้รับการเสริมสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจเพื่อให้ภาวะหวาดระแวงลดลง
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (one to one relationship) โดยเน้นการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อถือทุกครั้งพบกับผู้ป่วย
ยอมรับผู้ป่วยโดยการเรียกชื่อให้ถูกต้อง รับฟังเรื่องราวอย่างสนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูดให้ข้อมูลอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการจ้องมอง
แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอน หรือหวาดระแวงของผู้ป่วย โดยไม่โต้แย้งหรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าไม่เป็นความจริง แต่แสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้โดยใช้เทคนิคการให้ความจริง (presenting reality) ในขณะการสนทนา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจว่าความคิดที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นและหวาดระแวงน้อยลง
6.ไม่แสดงกิริยาที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความสงสัยหรือไม่มั่นใจ ระมัดระวังการกระซิบต่อหน้าผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าพยาบาลนินทา หรือระแวง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อช่วยลดอาการหวาดระแวง
ประเมินอาการหวาดระแวงทุกครั้งที่มารับบริการ โดยสอบถามทั้งจากผู้ป่วยและญาติ เพื่อประเมินอาการและให้การพยาบาลได้เหมาะสม
ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยการร่วมมือในการรักษาด้วยยาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วย โดย
ให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ ถึงพยาธิสภาพของโรค แผนการรักษาพยาบาล และการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย
เสริมสร้างพลังอำนาจ และสอนทักษะการจัดการกับความเครียด แก่ญาติ
สอนให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่รับประทานยา
การรักษา
2.การรักษาด้วยยาฉีด fluphenazine decanoate ,haloperidol decanoate ,flupenthixol depot ,zuclopenthixol acetate ,haloperidol
3.การรักษาด้วยไฟฟ้า Electroconvulsive therapy(ECT) เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้เกิดการชักเหมือนกับในโรคลมชัก ไม่มีอันตรายต่อสมองอย่างแน่นอน ใช้เวลาทั้งหมดประมาณไม่ถึง 5 นาที การรักษาจะทำวันเว้นวัน ทำทั้งหมดประมาณ 10-12 ครั้ง
1.ยารับประทาน chlorpromazine ,haloperidol,perphenazine, clozapine ,risperidone(จอห์นได้รับยา clozapine ผลข้างเคียงทำให้น้ำลายไหล ตัวสั้น ไม่มีอารมณ์ทางเพศความจำลดลง)
4.การรักษาด้านจิตสังคม
พฤติกรรมบําบัด (Behavior therapy)
กลุ่มบําบัด (Group therapy)
ครอบครัวบําบัด (Family therapy)
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบําบัด (Milieu therapy)
นางสาวสุพรรษา สวัสดิ์ศรี เลขที่74 ห้อง3B รหัสนักศึกษา62123301151