Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Inguinal hernia - Coggle Diagram
Inguinal hernia
-
-
-
รักษาไส้เลื่อน
- ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา การรักษาในขั้นแรกคือ การพยายามนำไส้เลื่อนที่ติดคาให้เคลื่อนที่กลับไปสู่ตำแหน่งเดิม ซึ่งทำได้โดยให้ผู้ป่วยนอนราบ ให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อและยานอนหลับ แล้วใช้นิ้วมือพยายามดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าสู่ช่องท้อง หากทำได้สำเร็จ ก็จะนัดผู้ป่วยมาผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดการติดคาซ้ำได้อีกทุกเมื่อ แต่หากทำไม่สำเร็จ ต้องรีบผ่าตัดโดยฉุกเฉินเพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยงและลำไส้เน่าตายตามมาได้
- ผู้ป่วยไส้เลื่อนที่เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยง ต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน โดยเวลานับตั้งแต่ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงจนกระทั่งลำไส้เน่าตาย และทำให้ต้องตัดลำไส้ทิ้งไปคือประมาณ 6 ชั่วโมง อนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ซึ่งปกติจะคลำก้อนไม่ได้ แต่หากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็น ก็ต้องนัดมารับการผ่าตัดโดยเร็วเช่นกันในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมชนิด Paraesophageal hernia เมื่อตรวจวินิจฉัยพบ ก็ควรทำการผ่าตัดรักษา เนื่องจากมีโอกาสเกิดกระเพาะอาหารติดคา และขาดเลือดไปเลี้ยงเหมือนกับลำไส้ที่เกิดไส้เลื่อนเช่นกัน
- ผู้ป่วยไส้เลื่อนที่ยังไม่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว จะต้องนัดมาผ่าตัด ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ระยะเวลาตั้งแต่ตรวจพบจนกระทั่งนัดมาผ่าตัดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดไส้เลื่อนติดคา หากมีความเสี่ยงสูง เช่น ไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นทันที ไส้เลื่อนเคลื่อนกลับที่เดิมยาก หรือรูที่ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออกมามีขนาดเล็ก ควรรีบผ่าตัดให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เนื่องจากไส้เลื่อนมีโอกาสเกิดภาวะติดคาได้ทุกเมื่อ
การดูแลหลังผ่าตัด
มีแนวโน้มเกิดภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดเนื่องจากมีการอักเสบของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัดและฤทธิ์ของยาระงับปวดขณะผ่าตัด
- สังเกตอาการปัสสาวะคั่ง เช่นไม่ถ่ายปัสสาวะ หน้าท้องโป่งตึงเคาะได้เสียงทึบ เสิร์ฟหม้อนอนให้ปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถ ปัสสาวะได้เอง รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาสวนปล่อย หรือสวนคาสาย สวนปัสสาวะจนกระทั่งผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าอย่างเพียงพอ ประมาณวันละ 2,500-
3,000 มล. ถ้าไม่มีข้อห้าม
-
-
วินิจฉัยไส้เลื่อน
วิธีการวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรค เช่น โรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบและไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัดสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยมักมีก้อนนูนที่คลำพบได้โดยเฉพาะขณะยืน ยกสิ่งของ หรือไอจามซึ่งแพทย์จะคลำพบก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น
สำหรับไส้เลื่อนชนิดที่มองเห็นไม่ชัดหรือคลำจากภายนอกไม่พบ อาจจำเป็นต้องใช้วิธีตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ในกรณีของไส้เลื่อนกระบังลม แพทย์อาจใช้วิธีส่องกล้องผ่านลำคอลงไปยังหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารเพื่อให้เห็นภาพของอวัยวะภายใน หรือใช้วิธีตรวจอัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และ MRI ในกรณีของไส้เลื่อนที่เกิดบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกราน เป็นต้น
-
โรคไส้เลื่อน (Hernia)
ภาวะที่อวัยวะหรือบางส่วนของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ลำไส้ (bowel) หรือ แผ่นไขมัน (omentum) ยื่นออกจากช่องท้องผ่านทางกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือมีรูเปิดผิดปกติไปยังตำแหน่งอื่น ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งใดก็ได้
การตรวจร่างกาย
มักจะให้คนไข้ลองไอ หรือ เบ่งดู จะพบว่ามีอาการป่องขึ้นบริเวณขาหนีบ ซึ่งบางรายก็จะให้ประวัติเองว่ามีอาการตุงลงไข่ แต่ดันกลับได้เอง การตรวจอีกอย่างคือ การอัลตราซาวด์ วิธีนี้จะพบได้ชัดว่าเป็นก้อนเนื้อ ไส้ที่เลื่อนลงมา หรือเป็นน้ำอยู่ในถุงอัณฑะ