Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CA Stomach - Coggle Diagram
CA Stomach
-
สมมุติว่านักศึกษาได้พบกับผู้ป่วยรายนี้ก่อนผ่าตัด นักศึกษาจะให้การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ก่อน ผ่าตัดอย่างไรบ้าง
1.อธิบายแผนการรักษาของแพทย์ ความจำเป็นในการตรวจพิเศษต่างๆ การผ่าตัด รวมทั้งประสานให้พบกับแพทย์เพื่อสอบถามข้อสงสัยต่างๆ
2.ให้ผู้ป่วยงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าตัด เพื่อป้องกันปัญหาการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลมและปอด ระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก
3.ผู้ป่วยควรอาบน้ำ สระผม ล้างหน้าให้สะอาด งดการใช้ครีมและเครื่องสำอางทุกชนิด ตัดเล็บให้สั้น ล้างสีเคลือบเล็บมือและเท้าออก เพื่อช่วยให้แพทย์และพยาบาล สังเกตอาการผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจน ในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด
- ถอดของมีค่าต่างๆ เครื่องประดับทุกชนิด เช่น แหวน กิ๊บ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู แว่นตา นาฬิกา คอนแทคเลนส์ และฟันปลอม (ชนิดถอดออกได้) เพื่อป้องกันการหลุดของฟันปลอมเข้าไปอุดหลอดลมขณะผ่าตัด
- ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องผ่าตัด
- งดโกนขนบริเวณที่จะผ่าตัดด้วยตัวเอง
- แนะนำงดสูบบุหรี่ก่อนมาผ่าตัดอย่างน้อย 30 วัน
- ประเมินด้วยการถามหรือให้สาธิตย้อนกลับ อธิบายเพิ่มเติมหากยังไม่สามารถตอบได้หรือตอบได้ไม่ถูกต้อง
ข้อมูลทั่วไป
-
-
-
-
-
-
อาการแรกรับ
ผู้ป่วยชาย รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง อ่อนเพลีย ช่วยเหลือตนเองได้ มีแผลหลังผ่าตัดวันที่ 5 บริเวณหน้าท้อง4จุดแผลไม่มีdischargeซึม เจ็บตึงแผลพอทน(pain score=5)เริ่มให้รับประทานอาหารเป็น น้ำหวาน ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือปวดแน่นท้อง on Jackson drain 2 สาย บริเวณหน้าท้อง 2 ข้าง ลักษณะ content เป็นสีเหลืองปนเลือดสีแดงจางๆข้างซ้ายประมาณ 120 cc. ข้างขวาประมาณ 110 cc, on สารอาหารทางหลอดเลือดดําเป็น Smof Kabiven Peripheral 1300 kcal 1904 ml iv drip rate in 24 hr, (on Infusion pump) urine void เองได้สะดวกดีสีเหลืองใส Vital sign แรกรับ T = 37.2 C P = 78 bpm. R = 20 ครั้ง/min BP = 120/82 mmHg. O2 sat. =99%
สมมุติว่า นักศึกษายังคงได้ดูแลผู้ป่วยรายนี้จนถึงวันก่อนกลับบ้าน นักศึกษาจะวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยรายนี้ก่อนกลับบ้านได้อย่างไรบ้าง ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวที่บ้านอย่างไร
-
4.T -Treatment การประเมินการรับรู้และความเข้าใจของผู้ป่วยและครอบครัว ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย เช่น การฟื้นฟูสภาพร่างกาย การกายภาพและออกกำลังกาย รวมถึงเกิดขึ้นระหว่างการดูแล การเฝ้าระวัง สังเกตอาการผิดปกติ
-
3.E - Environment การจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยให้เหมาะสมภายหลังการจำหน่าย เช่น ห้องนอน ที่นอน ห้องน้ำ พื้นที่หรือบริเวณที่ใช้เตรียมอาหารควรอยู่ชั้นล่าง และควรมีพื้นที่สำหรับการฟื้นฟูร่างกาย กายภาพบำบัดและออกกำลังกาย
2.M- Medicine คือการแนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับอย่างละเอียดสรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ข้อควรระวังในการใช้ยา ตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งข้อห้ามการใช้ยาด้วย ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง
-
-
-
-
- O-Out patient & Referral การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง โทรติดตามเยี่ยม 3 ครั้งหลัง D/C
- D-Diet เน้นการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรคหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รับประทานผลไม้และผักสดมากขึ้น ลดอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องสารอาหาร ไม่สมดุลของน้ำและอิเล็คโตรลัยต์ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานได้
ข้อมูลสนับสนุน
SD: ผู้ป่วยกลืนลำบากรับประทานอาหารได้น้อย คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร
-น้ำหนักลดลง5กิโลกรัม/สัปดาห์
OD: Phosphorus 3.2 me/dl
Sodium 134 mEg/L
Potassium 4.19 mEg/L
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะพร่องโภชนาการและความรุนแรงของูภาวะพร่องโภชนา ได้แก่ อ่อนเพลีย ผอม ซีด น้ำหนักลด ระดับอัลบูมินและโปรตีนในเลือด ประเมินดัชนีมวลกาย (body massindex, BMI) จากน้ำหนักตัวและความสูง
2.ประเมินภาวะขาดน้ำ ได้แก่ การตึงตัวของผิวหนังลดลง ริมฝีปากแห้ง กระหายน้ำความดันต่ำ ชีพจรเร็ว การเปลี่ยนแปลงการรับ
3.ดูแลให้ได้รับสารอาหาร สารน้ำ รวมถึงยาเพื่อบรรเทาอาการอาเจียน ท้องเสียตามแผนการรักษา
4.ติดตามอาการ อาการแสดงของการพร่องสมดุลของสารอาหาร น้ำและอิเล็คโตรลัยต์ และรายงานแพทย์เพื่อช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
-
-
-
-
-
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร คือ เซลล์เนื้อร้ายหรือมะเร็งที่เกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุผิวภายในกระเพาะอาหาร โดยเกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดได้กับทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะรอบๆ กระเพาะอาหารได้
พยาธิสภาพ
มะเร็งกระเพาะอาหาร นั้นจะเริ่มเกิดจากเซลล์ที่อยู่บริเวณเยื่อบุผิวด้านในและกระจายผ่านออกมาถึงบริเวณเยื่อบุผิวด้านนอกประมาณ 90% ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารจะเป็น adenocarcinoma ส่วนน้อยเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งต่อมนํ้าเหลือง (gastric MALT lymphoma) และ มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Gastrointestinalstromal tumor, GIST) เป็นต้น โดยลักษณะทางพยาธิสภาพของมะเร็งกระเพาะอาหารมักพบได้ 4 แบบ ได้แก่ เป็นติ่งเนื้อนู้น (polypoid) หรือเป็นก้อนยื่นเข้าไปในกระเพาะอาหาร (fungating) บางรายมีลักษณะเป็นแผลลึก (ulcerative) หรือแบบแข็งทั่วๆ กระเพาะอาหาร (scirrhous) ที่เรียกว่า Linitis plastica ซึ่งมักลุกลามเป็นบริเวณกว้าง และมีพยากรณ์โรค(prognosis) ที่ไม่ดี
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
- เพศ พบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
- เชื้อชาติ พบมะเร็งกระเพาะอาหารในชาวเอเชียมากกว่า ชนชาติอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออก (eastern Asia)
- อาหาร การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมักดอง อาหารเค็มจัด อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ในขณะเดียวกันการรับประทานผัก และผลไม้ก็อาจจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคได้|
-
- การติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเมื่อติดเชื้อนี้จะทำให้มีอาการอักเสบและเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น และเป็นเชื้อที่ไม่สามารถติดต่อกันระหว่างบุคคล
อาการและอาการแสดง
ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจไม่มีอาการแสดงใดๆให้เห็น ต่อมารู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อยและรู้สึกไม่สบายในช่องท้อง ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร คลื่นไส้เล็กน้อย ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลด บางรายอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณหน้าอก ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง แต่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและหาลักษณะอาการแสดงอื่นๆของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
-
-