Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท …
บทที่ 7
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก
การตรวจระบบประสาทและสมองในเด็ก
1) Muscle tone
เป็นการประเมินระบบมอเตอร์โดยการตรวจดูความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ประเมินต้านต่อการ เคลื่อนไหวที่ผู้ป่วยต้องออกแรง
ประเมินว่า
มีแรงต้านจากกล้ามเนื้อแขนขาของผู้ป่วยอยู่ในระดับใด
2) Babinski’s sign
ทดสอบโดยใช้อุปกรณ์ปลายทู่ ขีดริมฝ่าเท้าตั้งต้นที่ส้นเท้าถึง นิ้วเท้า ถ้าผลบวกจะพบนิ้วเท้ากางออกถ้านิ้วหัวแม่เท้ากระดกขึ้นในเด็กอายุ 1-2 ปี ถือว่าปกติ ถ้าอายุเกิน 2 ปี ได้ผลบวกแสดงว่ามี upper motor neuron lesion
3) Brudzinski’s sign
ทดสอบโดยให้เด็กนอนหงายใช้มือช้อนหลัง ศีรษะคางชิดอก ทำการทดสอบในเด็กที่มี การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะทำไม่ได้ ถ้ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว โดยคอแข็ง (stiff neck)
4) Kernig’s sign
ทดสอบโดยให้เด็กนอนหงายและงอเข่าทั้งสองข้าง ยกต้นขาให้ตั้งฉากกับลำตัวทีละข้างแล้ว ลองเหยียดขาข้างนั้นออก
5) Tendon reflex
เป็นการตรวจปฏิกิริยาตอบสนองทางระบบประสาท โดยใช้ไม้เคาะเข่าเอ็น เคาะตรงเอ็นที่ยึด กล้ามเนื้อให้ติดกับข้อกระดูกแล้วสังเกตดู reflex
6) การประเมินระดับการรู้สติ
ประเมินความผิดปกติของการรู้สติด้วย Glasgow coma scale โดยการเรียกชื่อ ผู้ป่วย ถามวัน เวลา สถานที่ ประเมินโดยการสัมผัสและทำให้เจ็บ
อาการสำคัญทางระบบประสาท (Neurological Signs) ได้แก่
ระดับความรู้สึกตัว (Level of Conscious)
อาการทางตา (Ocular Signs)
ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว (Motor Response)
การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ (Vital Signs
7.1 การพยาบาลเด็กที่มีอาการชัก
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile seizure)
เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน รายงานจากต่างประเทศพบอุบัติการณ์ร้อยละ 2-5 ในเด็กก่อนอายุ 5 ปี พบมากในช่วงอายุ 18-22 เดือน เด็กชายพบ มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
ลักษณะการชัก ที่พบมากคือ generalized tonic- clonic ร้อยละ 3 หรือ focal ร้อยละ 4
ระยะเวลาชักเป็นเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 นาที
ส่วนใหญ่ไม่มี post-ictal อาจพบ drowsiness ช่วงสั้นๆ ถ้าเด็กซึมมาก หรือซึมเป็นระยะเวลานานโดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ ต้องคิดถึงภาวะอื่นที่ไม่ใช่ febrile seizure
โรคลมชัก (Epilepsy)
Epilepsy (โรคลมชัก) ภาวะที่เกิดอาการSeizure ตั้วแต่ 2 episodes ข้ึนไป โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุ ทางสมอง โดยอาการชักที่เกิดข้ึน 2 episodes ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เรียกภาวะดังกล่าวว่า “โรคลมชัก” เพราะผู้ป่วยโรคน้ีมีโอกาสชักอีกคร้ังในระยะเวลาต่อไปอีก2 ปี ได้ร้อยละ 70-80
สาเหตุของอาการชักที่พบบ่อยในเด็ก
ภาวะติดเชื้อที่กะโหลกศีรษะ
เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ
2.ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ภาวะผิดปกติทาง metabolism
เช่น Hypocalcemia, Hypoglycemia
ภาวะผิดปกติทางไต เช่น Uremia
เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ
โรคบาดทะยัก
ภาวะไข้สูงในเด็กเล็ก
ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด
เช่น Hydrocephalus
โรคลมบ้าหมู/โรคลมชัก (Epilepsy)
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
Partial seizure คือ การชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่
1.1 Simple partial seizure ผู้ป่วยไม่เสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก
1.2 Complex partial seizure ผู้ป่วยจะเสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก
2.Generalized seizure คือ การชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน
2.1 Generalized tonic-clonic seizure ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติเกร็งทั้งตัวตามด้วยการกระตุกเป็นจังหวะ
2.2 Absence ผู้ป่วยมีอาการเหม่อ ตาลอยอาการจะเกิดข้ึนและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
2.3 Myoclonic มีลักษณะกระตุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เกิดข้ึนอย่างรวดเร็วคล้ายสะดุ้ง
2.4 Clonic มีลักษณะกระตุกเป็นจังหวะ
2.5 Tonic มีลักษณะกล้ามเน้ือเกร็งอย่างรุนแรง
2.6 Atonic มีลักษณะสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเน้ือที่เกิดข้ึนทันที
3.Unclassified epileptic seizure เป็นการชักที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้เนื่องจากข้อมูลไม่พอเพียงหรือเนื่องจากการไม่ สมบูรณ์ของสมอง
การพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้นอนตะแคงหน้า
ดูแลให้ยากันชักตามแผนการรักษา คือ Diazepam 0.3 mg/kg/dose titrate dose vein slowly &observe respiration while injection หรือ Diazepam สวนเก็บทางทวารหนัก หลังสวนให้ยกก้นและหนีบรูทวารนาน 2 นาที
ลดไข้ทันทีที่พบว่ามีไข้ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนานประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าไข้จะลด และพิจารณาให้ยาลดไข้ paracetamol dose 10-20 mg/kg/dose ซ้ำได้ทุก 4-6ชั่วโมง
จับเด็กให้นอนในที่ราบใช้ผ้านิ่มๆ เช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณใต้ศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทกกับพื้นเตียง ระวังแขนขนของแข็ง ของมีคม ขณะชักไม่ควรเคลื่อนย้ายเด็ก
คลายเสื้อผ้าเด็กออกให้หลวม โดยเฉพาะรอบคอเพื่อให้หายใจสะดวก ไม่ควรผูกยึดเด็กขณะที่มีการชักเพราะอาจ ทำให้กระดูกหัก
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดการชักซ้ำโดยการลดไข้ จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้พัก
ประเมินและบันทึกลักษณะการชักลักษณะของใบหน้าตาขณะชัก ระดับการรู้สติ ของผู้ป่วยก่อนระหว่างและหลัง การชักระยะเวลาที่ชักทั้งหมดจำนวนครั้งหรือ ความถี่ของการชักทั้งหมดเพื่อวางแผนการพยาบาลได้ถูกต้องและ รวดเร็ว
เปิดโอกาสให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดูแลเด็ก
แนะนำและสาธิตวิธีการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง
แนะนำวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องขณะที่มีภาวะชัก
7.2 การพยาบาลเดก็ที่มีภาวะความดันในช่องกะโหลกศรีษะสูง
ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศรีษะ (Hydrocephalous)
เป็นภาวะที่มีน้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะบริเวณ Ventricle(โพรงสมอง)
และชั้น subarachnoid
ในภาวะปกติจะมีน้ำไขสันหลังอยู่ประมาณ 50-150 cc/min และมีอัตราการสร้าง 0.35cc/min or 500 cc/day
กิจกรรมการพยาบาล
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
ดูแลไม่ให้เด็กร้อง
หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน
จัดท่าให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย 30 องศา เพื่อช่วยให้เลือดผ่าน jugular vein กลับสู่หัวใจสะดวก
ดูแลในการระบาย CSF
ดูแลให้ได้รับยา Diamox ตามแผนการรักษา ติดตามภาวะ acidosis เช่นหายใจเร็วขึ้น
ประเมินอาการและอาการแสดงของ IICP ควรวัดเส้นรอบศีรษะทุกวัน
จับให้เด็กเรอหลังดื่มนม
จัดให้นอนบนที่นอน อ่อนนุ่ม พลิกตะแคงทุก 2 ชั่วโมง ดูแลความสะอาดของผิวหนังบริเวณศีรษะ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
ประเมินกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณแผลผ่าตัด
ตัดเล็บเด็กให้สั้นและหลีกเลี่ยงการเกาบริเวณศีรษะ
แนะนำผู้ปกครองให้สังเกตอาการและอาการแสดง
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูง
จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 15-30 องศา
ประเมินสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง
เพิ่มอัตราการหายใจให้มากกว่าปกติ (Hyperventilation) โดยให้ bag-mask ventilation 100% O2 เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงส่งผลให้ความดันในกะโหลกศีรษะลดลง
จำกัดน้ำโดยอาศัยหลักว่าถ้าน้ำภายในเซลล์ลดลงแล้วความดันภายในสมองก็จะลดตามไปด้วย
Hypothermia เป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง32-33 องศาเซลเซียส จะช่วยให้สมองมีการเผาผลาญลดลง
ให้ผู้ป่วยได้รับยา Acetazolamine (diamox) ตามแผนการรักษาในกรณีที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ผู้ป่วยที่ทำ Ventriculostomy เพื่อระบายน้ำไขสันหลัง ลดความดันในกะโหลกศีรษะและลดการเบียดของสมอง ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
ผู้ป่วยโรคสมองบวมน้ำ (Hydrocephalus) ก่อนผ่าตัดต้องเฝ้าระวังภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ CO2 คั่ง หลีกเลี่ยงการจัดท่านอนคว่ำเพราะจะทำให้เพิ่มความดันในช่องอกและช่องท้อง อาจจัดให้นอนตะแคงกึ่งคว่ำหรือตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้เสมหะในปากและในคอไหลออกสู่ภายนอกได้ง่าย